ล็อกอิน
 

ถาม - ตอบ


เพื่อเป็นการช่วยให้ท่านได้เริ่มต้นการใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รายละเอียดด้านล่างนี้จะเป็นการแนะนำขั้นตอนในการเข้าสู่บริการของ www.dbsvitrade.com ด้วยคำตอบที่เป็นกุญแจสำคัญในการใข้บริการอย่างง่ายดาย


คำถามทั่วไป (General Information)
www.dbsvitrade.com คืออะไร

บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ขอนำเสนอช่องทางเลือกอีกช่องทางหนึ่งในการลงทุนซึ่งให้ความเป็นอิสระในการลงทุนด้วยตนเอง กับบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตของบริษัท ที่ www.dbsvitrade.com ซึ่งพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นราคาหุ้นล่าสุดโดยตรงจากตลาดหลักทรัพย์ฯ บทวิเคราะห์รายวัน ซึ่งรวมถึงหุ้นเด่นในแต่ละวัน และคำแนะนำการลงทุนซึ่งเป็นการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างการวิเคราะห์ทางเทคนิค และปัจจัยพื้นฐาน นอกจากนี้ท่านยังสามารถเรียกดูข้อมูลในเชิงลึกข่าวธุรกิจ และความเคลื่อนไหวล่าสุดจากตลาดหลักทรัพย์ฯ

จะสามารถทำการซื้อขายในตลาดใดได้บ้าง?

ท่านสามารถทำรายการซื้อขายหลักทรัพย์ ที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ได้ทั้งหมด  รวมถึงใบสำคัญแสดงสิทธิ์ที่ ปรากฎบนกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


การเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ (Account Opening)
บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์แบบอินเทอร์เน็ต มีประเภทใดบ้าง?

สำหรับลูกค้ารายใหม่ สามารถเปิดบัญชีได้ 2 แบบ ดังนี้

1. แบบ Cash Balance โดยกำหนดให้ลูกค้านำเงินมาฝากเพื่อเป็นวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์
2. แบบตัดชำระบัญชีผ่านธนาคารอัตโนมัติ (ATS)

สำหรับลูกค้าปัจจุบันบริษัทฯ ที่ต้องการเปิดบัญชีซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติม เปิดให้บริการ 2 ช่องทาง ช่องทางแรกคือ แบบ Cash Balance หรือช่องทางที่สองจัดสรรวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์จากบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทเงินสด ทั้งนี้บริษัทฯ จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป

การเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต จะต้องทำอย่างไรบ้าง?

การเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ท่าน คลิกที่ เปิดบัญชี  (Account Opening) เพื่อลงทะเบียนขอเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต บริษัทฯ จะจัดส่งแบบฟอร์มขอเปิดบัญชีไปยังท่านในวันรุ่งขึ้น หรือท่านสามารถติดต่อขอแบบฟอร์มการเปิดบัญชีจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายออนไลน์เทรดดิ้งที่หมายเลขโทรศัพท์
0-2857-7799 โทรสาร 0-2857-7919 หรือส่งอีเมล์มาที่ dbsvonline@th.dbs.com

สมาชิกประเภททดลองใช้บริการดูข้อมูล (Trial Member) กับประเภทมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตแตกต่างกันอย่างไร?

ข้อแตกต่างข้อแรก คือ สมาชิกประเภททดลองใช้บริการดูข้อมูลของบริษัทฯ สามารถเข้าดูข้อมูลของบริษัทฯ ได้สูงสุดเพียง 30 วันเท่านั้น ในขณะที่ท่านที่เปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต จะสามารถดูข้อมูลได้ตราบเท่าที่ท่านดำรงบัญชีกับบริษัทฯ ข้อแตกต่างข้อที่สอง คือ สมาชิกประเภททดลองใช้บริการ จะไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ได้

มีค่าใช้จ่ายใดบ้างในการเปิดบัญชี?

ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นในการเปิดบัญชี นอกจากค่าอากรแสตมป์สำหรับติดสัญญาซื้อขายหลักทรัพย์ จำนวน 30.- บาท เท่านั้น

Top

การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์  (Trading Tips & Tools)
ในการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตต้องมีวงเงินขั้นต่ำหรือไม่? ถ้ามี เท่าไหร่?

สำหรับบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต แบบ Cash Balance วงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ของท่านจะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ท่านฝากเข้ามาไว้กับบริษัทฯ โดยไม่มีการกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำ

โปรดคลิกที่นี่ เพื่อดูข้อมูลเกี่ยวกับธนาคาร และวิธีการฝาก หรือโอนเงิน

จะส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้เมื่อใด?

ท่านสามารถส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ ทุกเมื่อ แต่ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะเปิดทำการหลักทรัพย์วันละ 2 ช่วงเวลา โดยรอบแรกตั้งแต่เวลา 10.00 น. จนปิดตลาดภาคเช้าเวลา 12.30 น. และช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 14.30 น. จนถึงเวลา 16.30 น

คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต มีลักษณะเป็นอย่างไร?

คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์จะมีอายุเพียง 1 วันทำการเท่านั้น (Day Orders) ภายในเวลา 17.00 น. ถึงเวลา 17.05 น. ของทุกวันทำการ ระบบซื้อขายหลักทรัพย์จะทำการคืนวงเงิน และ/หรือหลักทรัพย์ สำหรับคำสั่งที่ไม่ได้รับการยืนยัน หรือจับคู่ และจะเปลี่ยนสถานะของคำสั่งที่ไม่ได้รับการยืนยันเป็น “E” (Expired) หมายถึง คำสั่งนั้นๆ ได้หมดอายุลงแล้ว

จะสามารถส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์หลังตลาดหลักทรัพย์ฯ ปิดทำการแล้วได้หรือไม่?

หลังจากเวลา 17.05 น. ของทุกวันทำการ ท่านสามารถเริ่มต้นส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ใหม่ได้ ทั้งนี้สถานะของคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์จะเป็น   “OF”   (Offline)   หมายถึง   คำสั่งนอกเวลาทำการของตลาดหลักทรัพย์ฯ ก่อนตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการในระหว่างเวลา 9.00 น. ถึง 9.30 น. ระบบซื้อขายหลักทรัพย์จะทำการตรวจสอบคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ประเภท “OF” (Offline)  ทั้งหมดอีกครั้ง   ว่าอยู่ภายใต้วงเงินหรือมีหลักทรัพย์คงเหลือหรือไม่   ทั้งนี้ระบบซื้อขายหลักทรัพย์จะทำการยกเลิกคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่เกินวงเงิน   หรือคำสั่งขายหลักทรัพย์โดยไม่มีหลักทรัพย์นั้นคงเหลืออยู่โดยอัตโนมัติ บริษัทฯ จึงขอใคร่ขอแนะนำให้ท่านตรวจสอบคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่ส่งอีกครั้งก่อนตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการในช่วงเช้า

จะทราบได้อย่างไรว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ ไดัรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์แล้ว?

ท่านสามารถตรวจสอบจากสถานะของคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่ถูกส่งไปยังตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วจะมีสถานะคำสั่งเป็น “SX” (SET confirmed to receive the order)

จะเกิดอะไรขึ้นสำหรับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้รับการยืนยัน หรือจับคู่เมื่อตลาดหลักทรัพย์ปิดทำการ?

ในช่วงเวลา 17.00 น. ถึง 17.05 น. ของทุกวันทำการ ระบบซื้อขายหลักทรัพย์จะตรวจสอบคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมด คำสั่งที่ไม่ได้รับการยืนยัน หรือจับคู่ จะเปลี่ยนสถานะเป็น “E” (Expired) หมายถึง คำสั่งหมดอายุ โดยอัตโนมัติ

จะหาความหมายหรือคำอธิบายของสถานะคำสั่งได้ที่ไหน อย่างไร?

ท่านสามารถดูคำอธิบายสถานะของคำสั่งได้ในหน้าจอซื้อขายหลักทรัพย์  “Streaming”  ไปที่เมนู  “Setting”  และคลิกที่ “Help Page” และ “Rejected Code” หรือในเมนุ “ดูสถานะคำสั่งและรายการต่างๆ” ในช่อง “Help Page” และ “Rejected Code” ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

OF : คำสั่งหลังเวลาปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์
W : คำสั่งนี้ได้ถูกป้อนขณะตลาดหลักทรัพย์ฯ ปิด และอยู่ระหว่างการรอ SETTRADE เปิดทำการเพื่อ
ตรวจสอบความสมบูรณ์ของคำสั่งก่อนที่จะส่งไปยังตลาดหลักทรัพย์ฯ
SX : ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยืนยันว่าได้รับคำสั่งนี้แล้ว
M : คำสั่งนี้มีการซื้อ หรือขายได้แล้วทั้งหมด
MP : คำสั่งนี้มีการซื้อ หรือขายได้แล้วบางส่วน
CX : ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยืนยันว่าคำสั่งนี้ยกเลิกได้แล้วทั้งหมด
CP : ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยืนยันว่าคำสั่งนี้ยกเลิกได้แล้วบางส่วน
RS : ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปฏิเสธการรับคำสั่ง ให้ดูสาเหตุการปฏิเสธในตารางที่ 2 (Reject Code)
E : คำสั่งหมดอายุ

จะสามารถเปลี่ยนแปลงคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ได้หรือไม่?

ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้ ท่านจะต้องยกเลิกคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์นั้นๆ และส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ใหม่

จะสามารถยกเลิกคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ได้หรือไม่?

ท่านสามารถยกเลิกคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ได้ถ้าคำสั่งนั้นๆ ยังไม่รับการยืนยัน หรือจับคู่ (matched) สำหรับคำสั่งที่ซื้อหรือขายได้รับการยืนยันหรือจับคู่แล้วบางส่วน   ท่านจะสามารถยกเลิกคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่เหลือที่ยังไม่ได้รับการยืนยันได้

จะตรวจสอบวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ (Line Available) และ /หรือ จำนวนหุ้นคงเหลือในพอร์ตได้อย่างไร?

หลังจากที่ท่านเข้าสู่ (log-in) ระบบซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ให้ท่านคลิก “ดูสถานะคำสั่งและรายการต่างๆ” ที่เมนูด้านซ้าย และคลิกที่ “ข้อมูลพอร์ต”

จะทราบได้อย่างไรว่าคำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ได้รับการยืนยัน หรือจับคู่แล้ว?

สถานะคำสั่งซื้อ หรือขายหลักทรัพย์ จะเป็น “M” (Matched) หากท่านต้องการทราบรายการชำระราคา ท่านสามารถเข้าไปดูที่ “ดูสถานะคำสั่งและรายการต่างๆ” และคลิกที่ “การชำระราคา” ซึ่งจะแสดงข้อมูลการชำระราคาของ 3 วันทำการก่อน แต่ทั้งนี้บริษัทฯ จะจัดส่งใบยืนยันการซื้อขายหลักทรัพย์ไปยังท่านทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ท่านแจ้งไว้กับบริษัทฯ ในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันซื้อขายหลักทรัพย์

การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เหมาะสม และระบบคัดกรองคำสั่งซื้อขาย (Order Screening System)

ลักษณะคำสั่งที่เหมาะสม ช่วงเวลาตรวจสอบ หลักเกณฑ์การตรวจสอบ
1. คำสั่งของหุ้นที่ไม่มี Celling และ Floor ได้แก่
 
1.1หุ้น IPO
1.2 หุ้นที่เปิดให้ซื้อขายเป็นวันแรกหลัง Suspend นานกว่า 1 ปี
1. ช่วงก่อนเปิดตลาด (Pre-open) และ
2. ช่วงก่อนปิดตลาด (Call market)
ระบบซื้อขายจะไม่รับคำสั่งซื้อขาย (Reject order) ของนักลงทุน ที่ส่งมาในราคาที่สูงกว่า 50% หรือต่ำกว่า 50% ของราคาดังต่อไปนี้
  1. ราคาที่คาดว่าจะเปิด (Projected Open Price) หรือราคาที่คาดว่าจะปิด (Projected Close Price)
  2. หากในช่วงเวลานั้น ไม่มีราคาที่คาดว่าจะเปิดหรือปิด จะใช้ราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Last Sale)
  3. หากไม่มีราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Last Sale)
    3.1  จะใช้ราคาเสนอขายครั้งแรกต่อประชาชน
    (IPO Price)  สำหรับกรณีหลักทรัพย์ที่
    เปิดให้ซื้อขายวันแรก
    3.2  ระบบจะไม่ตรวจสอบสำหรับกรณีหลัก
    ทรัพย์ที่เปิดให้ซื้อขายหลังจากขึ้นเครื่อง
    หมาย SP เป็นเวลานาน
2. คำสั่งในลักษณะใส่-ถอน
 คือการส่งคำสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ และยกเลิกคำสั่งดังกล่าวในภายหลัง และส่งคำสั่งกลับเข้ามาใหม่ในจำนวน ราคา และเวลา ใกล้เคียงกัน โดยกระทำหลายครั้ง
ช่วงเปิดตลาด (open) ระบบจะไม่รับคำสั่ง (Reject Order) ที่มีมูลค่า 3 ล้านบาทขึ้นไป ที่ส่งเข้ามาใหม่ภายใน 1 นาที หลังจากเวลาที่ยกเลิกคำสั่งเดิม โดยส่งคำสั่งเข้ามาที่ราคาเดิม ในจำนวนมากกว่า หรือเท่ากับ 50% ของปริมาณที่มีการยกเลิก (Cancel Volume)
3. คำสั่งจับคู่กันเอง (Wash Sale)
  คือการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ในราคา และปริมาณที่อาจจับคู่ซื้อขายระหว่างกัน เองของลูกค้ารายเดียวกัน
ทุกช่วงเวลา ระบบจะไม่รับคำสั่งซื้อ (Reject Order) ในราคาสูงกว่าหรือเท่ากับราคาที่ตนเองได้เสนอ ขาย และไม่รับคำสั่งขายในราคาที่ต่ำกว่าหรือเท่า กับราคาที่ตนเองได้เสนอซื้อ โดยที่คำสั่งก่อนหน้า ยังไม่ได้รับการจับคู่ (ตรวจสอบเฉพาะนักลงทุนรายบุคคลเท่านั้น)
4. คำสั่งชี้นำราคา
  คือการส่งคำสั่งซื้อหรือขายในราคาที่ สูงกว่า หรือต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็นมาก เพื่อทำ ราคาเปิด-ปิด
1. ช่วงก่อนเปิดตลาด (Pre-open) และ
2. ก่อนปิดตลาด
 (Call market)
ระบบจะขึ้นข้อความเตือน (warning Message) สำหรับคำสั่งซื้อขายของนักลงทุนที่ส่งในราคา สูงกว่า 10 ช่วงราคา (Spread) หรือต่ำกว่า 10 ช่วงราคา (Spread) ของราคา ต่อไปนี้
  1. ราคาที่คาดว่าจะเปิด (Projected Open Price) หรือราคาที่คาดว่าจะปิด (Projected Close Price)
  2. หากในช่วงเวลานั้นไม่มีราคาที่คาดว่าจะเปิดหรือ ราคาที่คาดว่าจะปิด จะใช้ราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Last Sale)
  3. หากไม่มีราคาซื้อขายครั้งสุดท้าย (Last Sale) ให้ใช้ราคาปิดก่อนหน้า (Prior Close)


Call and Force Margin for Credit Balance Account and Derivatives Account

หลักเกณฑ์การเรียกหลักประกันเพิ่มเติม และการบังคับขายของบัญชี Credit Balance และบัญชีอนุพันธ์
ประกาศอัตรามูลค่าหลักประกันที่ต้องดำรงไว้ และอัตรามูลค่าหลักประกันขั้นต่ำสำหรับบัญชีมาร์จิ้นในระบบเครดิตบาลานซ์
บริษัทฯ ขอเรียนให้ทราบว่าอัตรามูลค่าหลักประกันที่ต้องดำรงไว้ของบริษัทฯเป็นร้อยละ 40 และอัตรามูลค่าหลักประกันขั้นต่ำของบริษัทฯเป็นร้อยละ 30 สำหรับบัญชีมาร์จิ้นในระบบเครดิตบาลานซ์

Call and Force Margin for Derivatives Account
ด้วยคุณสมบัติการลงทุนในตลาด TFEX ที่ใช้เพียงเงินวางประกันแค่ไม่เกิน 10% ของมูลค่าเป็นเงินลงทุน ส่งผลให้มีโอกาสที่ นักลงทุนจะขาดทุนมากกว่าเงินที่วางและเกิดความเสี่ยงต่อบริษัท จึงก่อให้เกิดกระบวนการเรียกเติมเงินวางประกันหรือที่เราเรียกกันว่า “Call & Force Margin” และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงกับเจ้าหน้าที่การตลาด ดังนั้น ทุกคนต้องเข้าใจกระบวนการอย่างถูกต้องและครบถ้วน
ในกรณีการเติมเงินจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับตามความรุนแรงของการขาดทุน โดยระดับแรกหากสินทรัพย์รวม (Equity Balance : EB) ต่ำกว่า เงินประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin : MM)* เราเรียกกรณีนี้ว่า “Call Margin” แต่หากขาดทุนหนักกว่านั้นจนไปถึงระดับที่ 2 คือ ต่ำกว่า ระดับบังคับปิด (Force Close : FC)* เราเรียกกรณีนี้ว่า “Force Close” และเนื่องด้วยความรุนแรงที่ต่างกันนั้นจึงทำให้วิธีการแก้ปัญหาที่ต่างกัน ดังนี้
กรณี Margin Call
คำอธิบาย “สิ้นวัน” หากนักลงทุนขาดทุนจนกระทั่ง EB < MM จะเข้าข่ายการโดน Call Margin ในวันรุ่งขึ้น (T+1) ทางฝ่ายบริหารความเสี่ยง จะทำการล๊อคพอร์ตไม่ให้เปิดสถานะเพิ่มและออกจดหมายเรียกเติมเงินให้ทั้งนักลงทุน และ Marketing เพื่อให้นักลงทุนทำการปฏิบัติแก้ไข โดยสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
  1. เติมเงินให้เท่ากับจดหมายเรียก (ในวันรุ่งขึ้นตลาดเปลี่ยนไปอย่างไรเงินที่ถูกเรียกจะไม่เปลี่ยนแปลง)
  2. ปิดสถานะจนกระทั่ง IM > EB

หากนักลงทุนไม่ทำการแก้ไขเจ้าหน้าที่การตลาดสามารถปิดสถานะจนกระทั่ง EB>IM ก่อนตลาดปิด 1 ชม.

*เงินประกันรักษาสภาพ (Maintenance Margin : MM) และ ระดับบังคับปิด (FC) เท่ากับ 70% และ 30% ของเงินประกันขั้นต้น (Initial Margin : IM) ตามลำดับ

กรณี Force Close

สำหรับการ Force Close จะเกิดขึ้นกรณีนักลงทุนขาดทุนหนักจนกระทั่ง EB < FC และจากเดิมที่ต้องแก้ไขทุกอย่างให้เสร็จสิ้นในวันนั้นทันที แต่ปัจจุบันเกณฑ์ใหม่สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

Force Close ช่วงเช้า

คำอธิบาย “สิ้นตลาดปิดช่วงเช้า” หากนักลงทุนขาดทุนจนกระทั่ง EB < FC จะเข้าข่ายการโดน Force Close ช่วงเช้า ทางฝ่ายบริหารความเสี่ยง จะส่งรายชื่อลูกค้าที่โดน Force Close ไปให้เจ้าหน้าที่การตลาดเพื่อแจ้งลูกค้าให้ดำเนินการแก้ไขให้เสร็จสิ้น ภายในภาคบ่ายวันนั้น โดยสามารถทำได้ 2 วิธี

  1. เติมเงินให้ EB > MM
  2. ปิดสถานะจนกระทั่ง EB > MM

หากนักลงทุนไม่ทำการแก้ไขเจ้าหน้าที่การตลาดสามารถปิดสถานะจนกระทั่ง EB>IM ก่อนปิดตลาด 1 ชม.

Force Close ช่วงบ่าย

คำอธิบาย “สิ้นตลาดปิดช่วงบ่าย” หากนักลงทุนขาดทุนจนกระทั่ง EB < FC จะเข้าข่ายการโดน Force Close ช่วงบ่ายและเป็นการ Call ภายในตัวด้วย ทางฝ่ายบริหารความเสี่ยงจะออกจดหมายเรียกเติมเงินให้ลูกค้า ในวันรุ่งขึ้น (T+1) จะต้องแก้ไขทั้งสิ้น 2 กรณี

แก้ไข Force Close ต้องเติมเงินหรือปิดสถานะจนกระทั่ง EB>MM ภายในภาคเช้า
แก้ไข Call Margin ต้องเติมเงินส่วนที่เหลือเท่ากับจดหมายเรียกหรือปิดสถานะให้ EB>IM ภายในภาคบ่าย
หากนักลงทุนไม่ทำการแก้ไขในกรณีใดก็ตามเจ้าหน้าที่การตลาดสามารถปิดสถานะได้ในช่วงก่อนปิดตลาด 1 ชม. ของกรณีนั้นๆ

Top

รหัสผ่าน (Password)

รหัสผ่าน (Password) และ/หรือ รหัสลับ (PIN) มีความแตกต่างอย่างไร ใช้เพื่อทำอะไร

รหัสผ่าน (Password) รหัสลับ (PIN)
1. ใช้เพื่อ log-in เข้าสู่บริการของ dbsvitrade.com

2. ใช้เพื่อแจ้งการฝากเงิน และ/หรือเช็ค

3. ใช้เพื่อแจ้งขอถอนเงิน

4. ใช้เพื่อแจ้งการฝากหุ้นเข้าบัญชี

5. ใช้เพื่อขอโอนหุ้นเพื่อเข้าบัญชีเงินสด หรือบัญชีของท่านอื่นในบริษัทหลักทรัพย์อื่น
1. ใช้เพื่อส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์

2. ใช้เพื่อทำการโอนเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์จากธนาคาร มาสู่บัญชีของ DBSV (E-payment) (สำหรับผู้ที่มีบัญชี SCB easy กับธนาคารไทยพาณิชย์เท่านั้น)

จะสามารถเปลี่ยนรหัสผ่าน (Password) และ/หรือ รหัสลับ (PIN) ได้อย่างไร?

โปรดคลิกที่ “ข้อมูลส่วนตัว” ที่เมนูด้านซ้าย และคลิกที่ “เปลี่ยนรหัสผ่าน” และ/หรือ “เปลี่ยนรหัสลับ” เนื่องจากรหัสผ่าน (Password) และ/หรือรหัสลับ (PIN) เป็นข้อมูลที่เป็นความลับส่วนบุคคล บริษัทฯ มีข้อแนะนำสำหรับการตั้งรหัสผ่าน (Password) และรหัสลับ (PIN) ดังนี้

1. รหัสผ่าน (Password) ต้องประกอบด้วยตัวอักษร และตัวเลประกอบกัน โดยมีความยาวไม่ต่ำกว่า 6 หลัก
2. รหัสลับ (PIN) ต้องประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น โดยมีความยาวไม่ต่ำกว่า 6 หลัก
3. ไม่ควรกำหนดรหัสผ่าน (Password) เป็นชื่อตัวเอง ชื่อลูก บุคคลที่รัก เป็นต้น
4. ไม่ควรบันทึกรหัสผ่าน (Password) และรหัสลับ (PIN) ไว้ในที่เปิดเผย
5. ไม่ควรเปิดเผยรหัสผ่าน (Password) และรหัสลับ (PIN) ให้บุคคลอื่นทราบ
6. ควรเปลี่ยนรหัสผ่าน (Password) และรหัสลับ (PIN) อย่างสม่ำเสมอ

จะทำอย่างไรถ้าหากลืมรหัสผ่าน (Password) หรือรหัสลับ (PIN)?

ในกรณีที่ท่านลืมรหัสผ่าน (Password) หรือรหัสลับ (PIN) หรือได้ใส่รหัสผิดเป็นจำนวนมากกว่า 3 ครั้ง ระบบจะล็อคไม่ให้ท่านเข้าสู่ระบบซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตชั่วคราว และ/หรือไม่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ได้ในกรณีที่ลืมรหัสลับ (PIN) เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าไปใช้บัญชีของท่าน

กรณีที่ท่านยังจำรหัสผ่าน (Password) หรือรหัสลับ (PIN) ได้ขอให้ท่านติดต่อเจ้าหน้าที่ลูกค้าสัมพันธ์ (Client Services Officer) ที่ โทร. 0-2857-7171 เพื่อขอให้ทำการปลดล็อคให้

กรณีที่ท่านลืมรหัสผ่าน (Password) หรือรหัสลับ (PIN)และมีความประสงค์จะให้บริษัทฯ ยกเลิกรหัสผ่านเดิมหรือรหัสลับเดิม และออกรหัสให้ใหม่ ขอให้ท่านดำเนินการดังนี้
1. โปรดเข้าไปที่หน้า “Home” และคลิกที่ “Forgotten your password” เพื่อดาวน์โหลด และพิมพ์แบบฟอร์มขอแก้ไขข้อมูลบัญชีออนไลน์ (Online Trading Update Form)
2.กรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน และลงนาม (โปรดลงลายมือชื่อให้เหมือนกับที่ให้ไว้กับบริษัทฯ)
3. ส่งแบบฟอร์มดังกล่าวมายัง

ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์

ที่อยู่ บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
989 อาคารสยามพิวรรธน์ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนพระราม 1
ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร (66) 2857-7171

แฟกซ์ (66) 2857-7177

อีเมล์ dbsvonline@th.dbs.com

Top

สรุปหลักเกณฑ์การซื้อขายหลักทรัพย์ที่อยู่ใน Turnover List ตามประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต.

เพื่อลดความเสี่ยงของผู้ลงทุน และระบบการซื้อขายโดยรวม ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้กำหนดให้ลูกค้าที่ซื้อหลักทรัพย์ที่อยู่ใน Turnover List ต้องวางเงินสดไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะซื้อหลักทรัพย์นั้น (หรือมีบัญชี Cash Balance) ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2551 เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. หลักทรัพย์ที่ต้องซื้อด้วยบัญชี Cash Balance

หลักทรัพย์ที่มีอัตราการซื้อขายหมุนเวียนสูง (Turnover List) ตามประกาศของสำนักงาน ก.ล.ต. มีลักษณะดังต่อไปนี้

กรณีเป็นหุ้นสามัญ

  1. มีมูลค่าซื้อเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท
  2. มีอัตราการซื้อขายหมุนเวียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และ
  3. มีอัตราส่วนราคาตลาดต่อกำไรสุทธิ (P/E Ratio) ไม่น้อยกว่า 50 เท่า หรือบริษัทจดทะเบียนของหุ้นสามัญนั้นมีผลการดำเนินการขาดทุน แล้วแต่กรณี

กรณีเป็นใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ (Warrant)

  1. มีมูลค่าซื้อเฉลี่ยต่อวันในรอบสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท
  2. มีอัตราการซื้อขายหมุนเวียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 และ
  3. มีอัตราความยากในการใช้สิทธิ (%Premium) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

2. การเผยแพร่รายชื่อหลักทรัพย์ใน Turnover List

ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะประกาศรายชื่อหลักทรัพย์ที่เป็น Turnover List เป็นรายสัปดาห์ โดยจะประกาศในวันทำการสุดท้ายของสัปดาห์ หลังจากที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศรายชื่อ Turnover List แล้ว (ประกาศหลังตลาดหลักทรัพย์ปิดทำการซื้อขาย

ทั้งนี้ ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อของ Turnover List ได้จากเว็บไซด์ของบริษัทฯ

3. ระยะเวลาที่กำหนดให้ซื้อด้วยบัญชี Cash Balance

ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนดให้ลูกค้าซื้อหลักทรัพย์ใน Turnover List ด้วยบัญชี Cash Balance เป็นเวลาอย่างน้อย 3 รอบระยะเวลาถัดไปของการประกาศรายชื่อ โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันทำการถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ในกรณีที่หลักทรัพย์นั้นยังคงเข้าข่าย Turnover List ในรอบสุดท้ายที่จะครบระยะเวลา ลูกค้ายังต้องซื้อหลักทรัพย์นั้นด้วยบัญชีแคชบาลานซ์ (Cash Balance) ต่อไปจนกว่าหลักทรัพย์นั้นจะไม่เข้าเงื่อนไขของ Turnover List

หากท่านมีข้อสงสัยประการใด หรือมีความประสงค์จะเปิดบัญชี Cash Balance โปรดสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือติดต่อได้ที่ที่ปรึกษาการลงทุนที่ดูแลบัญชีท่าน หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายค้าหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต ที่หมายเลข 0 2857 7799 หรือส่งอีเมล์มายัง dbsvonline@th.dbs.com

Top

การเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว (Account Profile)
จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัว อาทิเช่น อีเมล์ ที่อยู่ที่ติดต่อได้ อย่างไร?

หลังจากที่ท่านเข้าสู่ระบบซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตแล้ว ให้คลิกที่ “ข้อมูลส่วนตัว” ที่เมนูด้านซ้าย และคลิก “เปลี่ยนอีเมล์”

Top

การฝาก / ถอน หลักทรัพย์ (Securities Deposit / Withdrawal)
จะฝากหลักทรัพย์ได้อย่างไร?

ขั้นตอนการฝากหลักทรัพย์มีดังนี้
1.เข้าสู่ หรือ Log-in เข้าสู่เว็บไซต์
2.คลิกที่ “การชำระราคา/หุ้น” ที่เมนูด้านซ้าย
3.คลิกที่ “การฝากหุ้น”
4. อ่านขั้นตอนการฝากหลักทรัพย์ และกรอกรายละเอียดใน “แบบฟอร์มใบแจ้งการฝากหลักทรัพย์ (Online Securities Deposit Notification)”
5.กด “ยืนยัน” ระบบจะให้ท่านยืนยันการทำรายการโดยการใส่ “รหัสผ่าน (Password)” ก่อนรายการจะถูกส่งมายังบริษัทฯ

หลังจากที่บริษัทฯ ได้รับการยืนยันการโอนหลักทรัพย์แล้ว รายการหลักทรัพย์ที่โอนมาจะมียอดปรากฏในบัญชีของท่านในวันถัดไป

จะถอนหลักทรัพย์ได้อย่างไร?

ขั้นตอนการถอนหลักทรัพย์มีดังนี้
1.เข้าสู่ หรือ Log-in เข้าสู่เว็บไซต์
2.คลิกที่ “การชำระราคา/หุ้น” ที่เมนูด้านซ้าย
3.คลิกที่ “การถอนหุ้น”
4. อ่านขั้นตอนการถอน หรือโอนหลักทรัพย์ และกรอกรายละเอียดใน “แบบฟอร์มใบคำขอโอนหลักทรัพย์ (Online Securites Withdrawal Requisition)
5. กด “ยืนยัน” ระบบจะให้ท่านยืนยันการทำรายการโดยการใส่ “รหัสผ่าน (Password)” ก่อนรายการจะถูกส่งมายังบริษัทฯ

หากท่านมีความประสงค์จะเบิกถอนใบหลักทรัพย์ (Share Certificate) ขอให้ท่านติดต่อเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการหลักทรัพย์
ที่หมายเลข 0-2857-7558

บริษัทฯ จะดำเนินการฝาก หรือถอนหลักทรัพย์เมื่อใด?

การฝากหลักทรัพย์ (Securities Deposit)
หลังจากที่บริษัทฯ ได้รับการยืนยันการโอนหลักทรัพย์แล้ว รายการหลักทรัพย์ที่โอนมาจะมียอดปรากฏในบัญชีของท่านในวันทำการถัดไป

การถอนหลักทรัพย์ (Securities Withdrawal)
สำหรับการขอโอนหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ ได้รับก่อนเวลา 15.30 น. บริษัทฯ จะดำเนินการโอนหลักทรัพย์ตามคำสั่งของท่านในวันเดียวกันนั้น

สำหรับคำขอโอนหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ  ได้รับตั้งแต่เวลา  15.30  น.  ถึง  17.30  น.  บริษัทฯ จะไม่สามารถโอนในระบบรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ได้ในวันเดียวกัน  ดังนั้น  บริษัทฯ จะทำการบันทึกรายการดังกล่าวในระบบของบริษัทฯ เพื่อที่จะทำการโอนให้ตามคำสั่งของท่านในวันรุ่งขึ้น

คำขอโอนหลักทรัพย์ที่บริษัทฯ ได้รับหลังเวลา 17.00 น. บริษัทฯ จะถือว่าเป็นรายการของวันทำการถัดไป

Top
การฝากเงิน (Cash Deposit) / การถอนเงิน (Cash Withdrawal)
จะฝากเงินให้กับบริษัทฯ ได้อย่างไรบ้าง

สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้

1. ส่งคำสั่งเพื่อฝากเงินผ่านระบบหักบัญชีอัตโนมัติ (ATS)

สำหรับท่านที่ได้สมัครใช้บริการ ATS กับบริษัทฯ อยู่แล้ว ท่านสามารถใช้บัญชีดังกล่าวเพื่อแจ้งการตัดชำระผ่าน ATS เพื่อนำเงินเข้าฝากได้ทันที ในทุกประเภทบัญชีที่ท่านมีไว้กับบริษัทฯ อาทิ บัญชีเงินสด บัญชี Cash Balance บัญชี Credit Balance และบัญชีซื้อขายสัญญาล่วงหน้า เป็นต้น

2. ผ่านช่องทางโทรศัพท์, Internet Banking, Mobile Banking หรือผ่านตู้ ATM

สามารถโอนเงินผ่านช่องทางโทรศัพท์, Internet Banking, Mobile Banking หรือผ่านตู้ ATM ของ ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย , ธนาคารทหารไทย และธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคาร

Service Code

Company Code

Ref.1

Ref. 2

คู่มือการฝากเงินหลักประกัน

โทรศัพท์

Internet Banking

Mobile Banking

ATM

  ธ.กรุงเทพ

DBSV

50204

เลขที่บัญชี
ซื้อขาย
หลักทรัพย์หุ้น
หรือ อนุพันธ์
(7หลัก)
หมายเลขโทรศัพท์มือถือ

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่

  ธ.กสิกรไทย

-

50204

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่

  ธ.ทหารไทย

-

2607

-

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่

  ธ.ไทยพาณิชย์

-

038-3-09061-9

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่

คลิกที่นี่


3. โอนเงินผ่านระบบ Bill Payment

สามารถทำรายการผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ทั้ง 4 ธนาคาร โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ ที่นี่


จะถอนเงินที่ฝากกับบริษัทฯ ได้อย่างไร?

ท่านสามารถถอนเงินได้โดย
1. เข้าสู่ หรือ Log-in เข้าสู่เว็บไซต์
2.ตรวจสอบยอดเงินเหลือที่ถอนได้ (Cash Available) โดยการคลิกที่ “ดูสถานะคำสั่งและรายการต่างๆ” ที่เมนูด้านซ้าย และคลิกที่ “ข้อมูลพอร์ต”
3.หลังจากตรวจสอบยอดเงินคงเหลือ (Cash Available) แล้ว ให้คลิกที่ “การชำระราคา/หุ้น” ที่เมนูด้านซ้าย
4.เลือก “การถอนเงิน”
5.อ่านรายละเอียดการถอน และกรอกรายละเอียดลงใน ”แบบฟอร์มใบแจ้งการถอนเงิน (Online Cash Withdrawal Requisition)”
6.กด “ยืนยัน” ระบบจะให้ท่านยืนยันการทำรายการโดยการใส่ “รหัสผ่าน (Password)” ก่อนรายการจะถูกส่งมายังบริษัทฯ

Top

ความปลอดภัย และเทคนิค (Security & Technical)
ระบบซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ตมีความปลอดภัยหรือไม่? อย่างไร?

บริษัทฯ ได้นำเทคโนโลยี 128-bit-SSL (Secure Sockets Layer) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดมาใช้ในการป้องกันข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ของลูกค้าที่ซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต ตลอดจนเทคนิคการเข้ารหัสข้อมูลแบบ End to Encryption ที่ทันสมัยและรัดกุม ท่านสามารถวางใจได้ว่าข้อมูลการซื้อขายหลักทรัพย์ของท่านจะมีความปลอดภัยอยู่สูงสุด

สำหรับ “รหัสผ่าน (Password) และรหัสลับ (PIN)” ถือว่าเป็นข้อมูลที่เป็นความลับส่วนบุคคล บริษัทฯ มีข้อแนะนำต่อท่านดังนี้

1. ควรเก็บ “รหัสผ่าน (Password) และรหัสลับ (PIN)” เป็นความลับ และไม่แจ้งรหัสผ่านให้ผู้อื่นทราบโดยเด็ดขาด ในการติดต่อกับบริษัทฯ ขอให้ท่านแจ้งเลขที่บัญชี และชื่อของท่านต่อเจ้าหน้าที่บริษัทฯ เท่านั้น
2.ควรเปลี่ยนรหัสผ่าน และรหัสลับบ่อย ๆ
3.ควรปิด หรือ sign-off ระบบให้เรียบร้อยทุกครั้ง หลังเสร็จสิ้นการทำการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต

ในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อะไร? และอย่างไร?

ความต้องการขั้นต่ำในการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต มีดังนี้
1. CPU ซีพียู / RAM : Intel Pentium 450 MHz และ 128 MB RAM
2. Monitor Display หน้าจอ : 16-bit color 800 x 600 resolution or higher
3. Operating System : Windows 95 / 98 / 2000 / XP หรือ Mac OS 8.5
4. Modem : 56K
5. Browsers : Microsoft Internet Explore Version 5.5 and above or Netscape Nevigator 6 and above

“This application has performed an illegal operation” หมายความว่าอะไร?

หมายถึง ท่านได้ใช้ RAM มากเกินไป หรือเปิด หรือใช้งานโปรแกรมต่างๆ มากเกินไปในเวลาเดียวกัน วิธีแก้ไขก็คือ reboot เครื่องใหม่ แต่ถ้าหากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านปรากฏประโยคดังกล่าวข้างต้นบ่อยๆ ท่านคงต้องพิจารณาเพิ่ม RAM เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทำไมไม่สามารถอ่านบทวิเคราะห์หลักทรัพย์ของบริษัทฯ ได้?

ในการอ่านบทวิเคราะห์ของบริษัทฯ เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านควรจะติดตั้งโปรแกรม “Acrobat Reader” ก่อน หากท่านไม่มีโปรแกรมนี้ ท่านสามารถดาวน์โหลดได้ที่หน้า “Home” ของบริษัทฯ หลังจากที่ท่านทำการดาวน์โหลดโปรแกรมแล้วขอให้ท่านทำการติดตั้ง หรือ install ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์

Top

สิ่งที่ควรทราบ และความช่วยเหลือ (Things to note and Assistance)
หากพบปัญหาในการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหาระหว่างทำการซื้อขาย หลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต จะทำอย่างไร?

ขอให้ท่านติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายออนไลน์เทรดดิ้ง ที่ Hot Line 0-2857-7799 ในวันเวลาทำการ วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ถึง 17.30 น.

บริษัทฯ ขอแนะนำว่าท่านไม่ควรทำการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ หรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ร่วมกับผู้อื่น เพื่อป้องกันมิให้ข้อมูลของท่านรั่วไหล หรือมีคนแอบใช้บัญชีของท่าน

การติดต่อผ่านอีเมล์ (E-mail Communication)

บริษัทฯ จะใช้อีเมล์ (E-mail) เป็นช่องทางในการติดต่อ ส่งข้อมูลข่าวสารให้แก่ลูกค้าซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอินเทอร์เน็ต บริษัทฯ จักขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการให้คำแนะนำอันมีค่าของท่าน เพื่อบริษัทฯ จักได้เพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการต่อไป

สิ่งที่ท่านควรทราบในการติดต่อสื่อสารผ่านอีเมล์ (E-mail)

  • ดีบีเอส วิคเคอร์ส ไม่สามารถรับประกันความลับในการรับส่งอีเมล์ระหว่างบริษัทฯ กับลูกค้า
  • ท่านควรมีอีเมล์ที่ถูกต้องและใช้งานได้ เพื่อที่บริษัทฯ จักได้ส่งข่าวสารหรือติดต่อไปยังท่านได้
  • บริษัทฯ จะไม่รับคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านอีเมล์ หากท่านมีปัญหาในการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่าน
    อินเทอร์เน็ต โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายออนไลน์เทรดดิ้ง ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2857-7799
  • ในการติดต่อกับบริษัทฯ ขอให้ท่านแจ้งเลขที่บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ และชื่อ-นามสกุล ของท่านเท่านั้น ไม่ควรแจ้งรหัสผ่าน (Password) หรือรหัสลับ (PIN) กับเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ โดยเด็ดขาด
Top