| ||
วันที่ 7 มีนาคม 2548 เรื่อง ขอชี้แจงกรณีผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน ปี 2547 และงบไตรมาส 3 ปี 2547 เรียน ท่านกรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามที่บริษัทฯ ได้นำส่งงบการเงินประจำปี 2547 และงบไตรมาส 3 ปี 2547 ต่อตลาดหลัก ทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าว บริษัทฯ ใคร่ขอเรียนชี้แจง ดังนี้ 1) การส่งคำยืนยันยอดคงเหลือสำหรับลูกค้ารายใหญ่ซึ่งลูกค้ายืนยันมาทางอีเลคโทรนิคส์ ผู้สอบบัญชีได้รับคำยืนยันยอดคงเหลือทางอีเลคโทรนิคส์ (Electronic Mail) จาก ลูกค้ารายใหญ่ที่สุด เพื่อยืนยันยอดหนี้คงเหลือประมาณ 3,103.1 ล้านบาท ซึ่งยอดคงเหลือที่ได้รับ การยืนยันต่ำกว่ายอดคงเหลือที่บันทึกในบัญชีเป็นจำนวนเงิน 0.8 ล้านบาทซึ่งคำยืนยันยอดคงเหลือที่ ได้รับทางอีเลคโทรนิคส์ ไม่เพียงพอที่จะใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบ อีกทั้งหนังสือยืนยันยอดมี การตีกลับจากไปรษณีย์ บริษัทฯ ได้แจ้งให้ลูกค้าทราบถึงผลการตรวจสอบดังกล่าว ซึ่งลูกค้าได้แจ้ง มาว่า ลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ แต่ยังไม่ได้แจ้งให้บริษัทฯ ทราบ และไม่ทราบว่าคำยืนยันยอด ทางอีเลคโทรนิคส์ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานได้ ดังนั้น จึงขอให้ผู้สอบบัญชีส่งหนังสือยืนยันยอดอีกครั้ง หนึ่งไปยังที่อยู่ใหม่ และจะตอบกลับไปยังผู้สอบบัญชีโดยตรง สำหรับยอดคงเหลือที่ยืนยันต่ำกว่ายอด คงเหลือที่บันทึกบัญชี นั้น เกิดจากอินวอยส์ที่บริษัทฯ ส่งสินค้าช่วงปลายปี แต่ลูกค้าได้รับสินค้าต้นปี 2548 นอกจากนี้ คำยืนยันยอดคงเหลือลูกหนี้การค้ารายใหญ่ อีก 2ราย เป็นเงินประมาณ 166.7 ล้านบาท ที่ผู้สอบบัญชียังไม่ได้รับ ณ วันที่ออกรายงาน ปัจจุบัน ผู้สอบบัญชีได้รับเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การยืนยันยอดคงเหลือลูกหนี้สามารถใช้เป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้มาก ยิ่งขึ้น บริษัทฯ จะขอให้ผู้สอบบัญชีส่งคำยืนยันยอดคงเหลือ อีกครั้งหนึ่ง สำหรับลูกค้าที่ผู้สอบบัญชีต้องการ ส่งคำยืนยัน และจะขอให้ลูกค้าส่งคำยืนยันยอดต้นฉบับกลับมายังผู้สอบบัญชีโดยตรง 2) เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีลูกหนี้การค้ารายตัวของบริษัทบางรายการ เนื่องจากชื่อ ลูกค้าในอินวอยส์ขายบางรายไม่ตรงกับ ชื่อลูกค้าที่บันทึกในบัญชีลูกหนี้รายตัว ทั้งนี้ บริษัทฯ จะ ดำเนินการแก้ไขอินวอยส์ให้ถูกต้อง และส่งให้ทางลูกค้า และผู้สอบบัญชีภายใน 7 วัน อีกทั้งจะขอ ให้ลูกค้า ส่งคำยืนยันยอดคงเหลือมายังผู้สอบบัญชี เพื่อรับรองยอดหนี้ดังกล่าว 3) การพิจารณาการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ บริษัทฯ ได้พิจารณาการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ โดยมีการพิจารณาทั้งเกณฑ์ระยะ เวลา และเกณฑ์คุณภาพของลูกค้า กล่าวคือ บริษัทฯ ได้พิจารณาโดยอาศัยประสบการณ์ที่ผ่านมาในอดีต สภาพของตลาดปัจจุบัน วิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ รวมทั้งยอดลูกหนี้ค้างชำระ จากเกณฑ์ ต่างๆดังกล่าว ลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจกับบริษัทฯ มานานกว่า 19 ปี ตั้งแต่เริ่ม ดำเนินธุรกิจ ซึ่งลูกค้ารายนี้มี Order ส่งมาให้บริษัทโดยตลอด และมีปริมาณการสั่งซื้อเพิ่มขึ้นตลอด เวลา อีกทั้งไม่เคยมีปัญหาการชำระเงิน ไม่เคยมีหนี้สูญ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2543 ธุรกิจอีเลคโทรนิคส์ เริ่มชะลอตัวลง ทำให้ปริมาณการสั่งซื้อจากลูกค้ารายนี้เริ่มลดลง เริ่มมีปัญหาการชำระหนี้ช้าลง แต่ก็ยัง คงชำระต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยบริษัทฯ ได้พยายามเจรจาให้ลูกค้าชำระหนี้มากกว่ายอดที่สั่งซื้อ จนกระทั่งปลายปี พ.ศ.2546 บริษัทฯ กำลังประสบปัญหาสภาพคล่อง จึงได้พยายามเจรจาให้ลูกค้าชำระ หนี้ให้มากขึ้น และเร็วขึ้น แต่ลูกหนี้ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามที่บริษัทฯ ต้องการ จากประสบการณ์ใน อดีต ลูกค้ารายนี้มีการชำระหนี้อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 140 วัน 360 วัน ระยะหลังลูกค้าเริ่มมีระยะ เวลาชำระหนี้เกิน 360 วัน และให้มีข้อมูลในการประเมินความสามารถในการชำระหนี้ มากขึ้น บริษัทฯ ได้ขอเอกสารสำคัญ รวมทั้งงบการเงิน แต่ปัจจุบัน บริษัทฯ ยังไม่ได้รับเอกสารดังกล่าว บริษัทฯ เห็นว่า ลูกค้ารายนี้มีความเสี่ยงเพิ่มสูงขึ้น และลูกหนี้มีความสามารถชำระหนี้ได้น้อยลง อีกทั้งเพื่อให้เป็นไปตาม หลักความระมัดระวัง กอปรกับประสบการณ์การชำระหนี้ในอดีต บริษัทฯ จึงเห็นว่าควรตั้งสำรองค่าเผื่อฯ สำหรับลูกหนี้การค้ารายใหญ่นี้ ที่มีอายุเกิน 180 วัน ขึ้นไป โดยให้ตรวจสอบเหตุการณ์หลังวันปิดบัญชี จนกระทั่งปัจจุบัน ว่าลูกค้ามีการชำระเงินสำหรับอินวอยส์ที่มีอายุเกิน 180 วัน ขึ้นไป หากลูกค้ามีการ ชำระ ให้นำยอดเงินที่ชำระดังกล่าว ไปหักจากยอดลูกหนี้การค้าที่มีอายุเกิน 180 วัน ขึ้นไป เพื่อให้ได้ยอดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ที่ใกล้เคียงมากยิ่งขึ้น และเมื่อนำไปหักแล้ว หากปรากฏว่า มี จำนวนมากกว่า 924 ล้านบาท ซึ่งได้ตั้งสำรองค่าเผื่อฯ ไว้แล้ว ให้ตั้งสำรองค่าเผื่อฯ เพิ่มขึ้นตาม จำนวนที่คำนวนได้ สำหรับงบการเงินรายไตรมาสที่ 1 และ 2 จากหลักการดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ ได้ ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้เพียงพอแล้ว จำนวน 924 ล้านบาท บริษัทฯ จึงมิได้แก้ไขงบการเงิน รายไตรมาสที่ 1 และ 2 ส่วนงบการเงินรายไตรมาสที่ 3 และงบการเงินประจำปี พ.ศ. 2547 บริษัทฯ ได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น เป็นจำนวนเงินประมาณ 786 ล้านบาท และ 401 ล้านบาท บริษัทฯ ได้ตั้งสำรองค่าเผื่อฯ รวมทั้งสิ้น เป็นจำนวนเงินประมาณ 2,111 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ เห็นว่า การตั้งสำรองค่าเผื่อฯ ดังกล่าว เพียงพอแล้ว 4) ยอดวัตถุดิบและเครื่องจักร รอการติดตั้งซึ่งมียอดคงเหลือนานกว่า 1 ปี บริษัทฯ ไม่ได้พิจารณาตั้งค่าเผื่อการด้อยค่า สำหรับรายการดังกล่าว เนื่องจากบริษัทฯ ยังมีการใช้วัตถุดิบดังกล่าวอยู่ แต่ปริมาณที่ใช้มีไม่มาก อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ จะทำการทบทวน ปริมาณการใช้โดยการวิเคราะห์แผนการใช้ในอนาคต และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเพื่อ พิจารณา การตั้งค่าเผื่อการด้อยค่าอีกครั้งหนึ่ง ส่วนเครื่องจักรรอการติดตั้งที่เกินกว่า 1ปี มูลค่า 42.75 ล้านบาท อยู่ในระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพ ประมาณ 19 ล้านบาท อยู่ในระหว่าง การประกอบ และเสร็จสิ้นแล้วประมาณ 80% มูลค่าประมาณ 3.3 ล้านบาท อยู่ในระหว่างการติดตั้ง เสริมกับเครื่องจักรเก่า มูลค่าประมาณ 1.9 ล้านบาท ส่วนที่เหลือ มูลค่าประมาณ 18.55 ล้าน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการตลาด จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีให้เหมาะสม กับความต้องการใช้ ซึ่งเครื่องจักรดังกล่าว ทั้งหมดนี้ยังสามารถนำไปใช้งานได้ จึงมิได้ตั้งค่าเผื่อการด้อยค่า 5) การทำสัญญาประนอมหนี้ กับเจ้าหนี้สถาบันการเงิน 2 แห่ง และอดีตพนักงานได้ยื่นฟ้องบริษัทฯ บริษัทฯ ได้ทำสัญญาประนอมหนี้ในศาล กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินทั้ง 2 แห่ง เรียบร้อยแล้ว แต่อยู่ในระหว่างดำเนินการขอคัดคำพิพากษาตามยอม และสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งรับรอง โดย เจ้าพนักงานศาลยุติธรรม คาดว่า คงจะได้รับภายในไม่เกินวันที่ 15 มีนาคม นี้ นอกจากนี้ การที่อดีตพนักงาน ของบริษัทฯ ได้ยื่นฟ้องบริษัทฯ บริษัทฯ เพิ่งได้รับคำพิพากษา ยกฟ้อง 1 ราย อีก 1 ราย ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 26 เมษายน ศกนี้ 6) งบกระแสเงินสดสำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม2547 เนื่องจาก บริษัทฯ มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล กับเจ้าหนี้สถาบัน การเงิน แต่ละราย ซึ่งรายสุดท้าย เพิ่งเสร็จสิ้นประมาณกลางเดือน กุมภาพันธ์ ศกนี้ หลังจากนั้น บริษัทฯ จะต้องนำมาแก้ไขปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้ตรงกับคำพิพากษา และหลังจากแก้ไขงบการ เงินแล้ว บริษัทฯจะต้องจัดทำงบกระแสเงินสด ซึ่งบริษัทฯ ไม่สามารถส่งให้ผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบ ได้ทัน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน บริษัทฯได้นำส่งงบกระแสเงินสดให้ผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบแล้ว จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณา ขอแสดงความนับถือ (นายศิวะ งานทวี) 3 |