13:46:46 PM
  หัวข้อข่าว : ATC :ความเห็นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ

                                                      วันที่ 18 มีนาคม 2548

เรื่อง       ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเกี่ยวกับการลงทุนในโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่สอง
           บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

เรียน      ท่านผู้ถือหุ้น
          บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

ตามที่ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ("บริษัท") ครั้งที่ 1/2548
ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548 มีมติเห็นชอบให้เสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติวงเงินในการก่อสร้าง
งานด้านออกแบบวิศวกรรม จัดหาเครื่องจักร และก่อสร้างโรงงาน (Engineering Procurement and
Construction หรือ EPC) แบบรับเหมาเบ็ดเสร็จ (Full Turn Key) สำหรับก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วย
ที่ 2 และได้แจ้งสารสนเทศดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2548 แล้วนั้น
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1) ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท มีมติให้เสนอที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2548 ในวันที่  11 เมษายน
2548พิจารณาอนุมัติวงเงินการก่อสร้างงานด้านออกแบบวิศวกรรม จัดหาเครื่องจักร และก่อสร้างโรงงาน
(Engineering Procurement and Construction หรือ EPC) แบบรับเหมาเบ็ดเสร็จ (Full Turn Key)
สำหรับก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ในวงเงินไม่เกิน 597 ล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นประมาณ 23,880
ล้านบาท (คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐเท่ากับ 40 บาท)

2) ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2547 ได้มีมติอนุมัติการซื้อที่ดินสำหรับก่อสร้าง
โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 จำนวน 972.3 ล้านบาท จากบุคคลที่มีความเกี่ยวโยงกันโดยยังมิได้เสนอผู้ถือหุ้น
เพื่อ อนุมัติการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 แต่อย่างใด

เมื่อนับรวมขนาดของรายการทั้งสองข้างต้นแล้วจะทำให้มีขนาดของรายการรวมเท่ากับ 24,852 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 64.0 ของสินทรัพย์รวมของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547    ดังนั้นการลงทุนในโครงการ
ดังกล่าวจึงจัดเป็นการได้มาของสินทรัพย์รายการประเภทที่ 1 ตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่ง
ประเทศไทยเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฎิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์
พ.ศ.2547   ซึ่งบริษัทจะต้องดำเนินการจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อให้ความเห็นชอบโดยคะแนนเสียงไม่ต่ำกว่า 3
ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นหรือ ผู้รับมอบฉันทะ (ถ้ามี) ที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
ในการนี้บริษัทได้แต่งตั้ง บริษัท ทรีนีตี้ แอ๊ดไวซอรี่ 2001 จำกัด (“ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ” หรือ "ที่ปรึกษา")
ให้เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อทำหน้าที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ดังกล่าว  ราคายุติธรรมและ
ความสมเหตุสมผลของรายการ ตามประกาศของคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการเปิดเผยข้อมูล
และการปฎิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ พ.ศ.2547

ทั้งนี้ในการจัดทำความเห็นดังกล่าว ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระได้ให้ความเห็นที่ตั้งอยู่บนสมมติฐานของข้อมูลเอกสาร
ที่ได้รับจากบริษัทและการสัมภาษณ์ฝ่ายจัดการของบริษัทเป็นหลัก อนึ่งในการจัดทำความเห็นครั้งนี้ ที่ปรึกษาทางการเงิน
ไม่สามารถรับรอง (ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม) ต่อความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของข้อมูล และคำรับรองต่าง ๆ
ที่ทางบริษัทจัดเตรียมให้กับที่ปรึกษาได้ นอกจากนี้ความเห็นต่าง ๆ ของที่ปรึกษายังตั้งอยู่บน สมมติฐานว่าข้อมูลและ
คำรับรองต่าง ๆ มีความถูกต้องและสมบูรณ์  ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ต่อความถูกต้องและสมบูรณ์
ของข้อมูลอาจส่งผลกระทบต่อความเห็นของที่ปรึกษาได้

ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระได้พิจารณาถึงการเข้าทำรายการดังกล่าวข้างต้น จากข้อมูลเอกสารที่ได้รับจากบริษัท
และการสัมภาษณ์ฝ่ายจัดการ สรุปได้ดังนี้
(ในการนี้ผู้ถือหุ้นสามารถอ่านข้อมูลประกอบเพิ่มเติมได้จากสารสนเทศฉบับที่ 2 ที่บริษัทได้จัดทำขึ้น)

1. ลักษณะและรายละเอียดของรายการได้มาซึ่งสินทรัพย์

1.1 วัน เดือน ปี ที่เกิดรายการ

บริษัทจะทำสัญญากับผู้รับเหมางานก่อสร้างหลังจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติวงเงินในการก่อสร้างงานด้าน
ออกแบบวิศวกรรม จัดหาเครื่องจักร และก่อสร้างโรงงาน (EPC)  แบบรับเหมาเบ็ดเสร็จ (Full Turn Key)
สำหรับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2  และหลังจากผ่านกระบวนการจัดจ้างและประกวดราคาเรียบร้อยแล้ว
ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 (การรับเหมาเบ็ดเสร็จ หรือ Full Turn Key หมายถึง
การรับเหมาก่อสร้างงานด้านออกแบบวิศวกรรม การจัดหาเครื่องจักร การก่อสร้างโรงงาน การติดตั้งเครื่องจักร
รวมไปจนถึง การทดสอบการเดินเครื่องจักร โดยผู้ว่าจ้างจะชำระเงินตามจำนวนที่ได้ตกลงไว้เท่านั้น)
 
1.2 คู่กรณี / คู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง

บริษัทได้ดำเนินการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น (Pre-Qualification) ของผู้รับเหมางานก่อสร้างโรงงาน
อะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 เมื่อเดือนตุลาคม 2547  โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นดังต่อไปนี้

บริษัท       Samsung Engineering Co.,Ltd. ,เกาหลีใต้
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Olefins Plant
กำลังการผลิต           450,000 เมตริกตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         Saudi Polyolefins Co. (SPC), ซาอุดิอาระเบีย

ประเภท               Fertilizer Plant
กำลังการผลิต           3,550 ตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         Petrovietnam, เวียดนาม

ประเภท               Ethylene Plant
กำลังการผลิต           300,000 เมตริกตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         Thai Perochemical Industry Public Co., Ltd., ไทย

ประเภท               Gas Separation Plant
กำลังการผลิต           530 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         PTT Public Co., Ltd., ไทย

ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           74,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Indian Oil Corporation Limited, อินเดีย

บริษัท  Technip Far East SDN BHD, มาเลเซีย
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Liquefaction Natural Gas Plant
กำลังการผลิต           2 หน่วย @ 4 ล้านตันต่อปีต่อหน่วย
บริษัท, ประเทศ         Nigeria LNG Ltd., ไนจีเรีย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           225,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Mider, เยอรมัน

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           100,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Midor, MIDTAP, อียิปต์

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           285,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Sincor C.A.เวเนซูเอล่า

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Gas Production Plant
กำลังการผลิต           20,000 ตันต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         ORYX  GTL Ltd., การ์ตา

บริษัท   SK Engineering & Construction Co., Ltd, เกาหลีใต้
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           700,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Petroleos Mexicanos (Pemex), เม็กซิโก
 
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petroleos Mexicanos (Pemex)
กำลังการผลิต           500,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Petroleos Mexicanos (Pemex), เม็กซิโก

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           150,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         SK Corporation, เกาหลี
 
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           639,800 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         ATC, ไทย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           150,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Kuwait National Petroleum Co., คูเวต

บริษัท LG Engineering & Construction Corp., เกาหลีใต้
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Offshore Oil & Gas Development
กำลังการผลิต           2,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Pars Oil & Gas Co., จีน

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           280,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Qatar Petroleum, การ์ตา


ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           150,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Thai Petrochemical Industry Public Co., Ltd., ไทย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           1,280,000 เมตริกตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         Borzouyeh Petrochemical Co.,อิหร่าน

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           1,100,000 เมตริกตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         Lidong Chemical Co., Ltd, จีน

บริษัท  Stone & Webster International Inc.,  สหรัฐอเมริกา
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           40,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Fina Refinery Antwerp, เบลเยี่ยม

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           -
บริษัท, ประเทศ         Shell Internationale Petroleum Maatschappij, ซาอุดิอาระเบีย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           -
บริษัท, ประเทศ         Mobil Oil Singapore Pte Limited, สิงคโปร์

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           -
บริษัท, ประเทศ         Petroleos Mexicanos (Pemex), เม็กซิโก

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           18,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         TPI Catalytic Cracking, ไทย

บริษัท  Toyo Engineering Corporation, ญี่ปุ่น
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           1,280,000 เมตริกตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         National Petrochemical Co./Borzooye Petrochemical Co., อิหร่าน

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           565,000 เมตริกตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         Aromatics Malaysia SDN. BHD., มาเลเซีย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Liquefied Natural Gas Plant
กำลังการผลิต           2 โรง & 4,800,000 เมตริกตันต่อปีต่อโรง
บริษัท, ประเทศ         Sakhalin Energy Investment Co., Ltd., รัสเซีย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Power Plant
กำลังการผลิต           2 โรง @ 615 MW/โรง
บริษัท, ประเทศ         PT Paiton Energy, อินโดนีเซีย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           240,000 เมตริกตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         Rayong Olefins Co., Ltd., ไทย

บริษัท    Italian-Thai Development Public Co., Ltd., ไทย
        (ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นในฐานะผู้ร่วมประมูลงานกับผู้ประมูลงานหลักเท่านั้น)
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Mass Transit Infra-Structure
กำลังการผลิต           -
บริษัท, ประเทศ         Office Of The Prime Minister, Metropolitan Rapid Transit
                     Authority, ไทย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Mass Transit Infra-Structure
กำลังการผลิต           -
บริษัท, ประเทศ         Bangkok Mass Transit System Public Co., Ltd.,ไทย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Airport
กำลังการผลิต            -
บริษัท, ประเทศ         Department Of Civil Aviation, Ministry Of Transport, สหภาพพม่า

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต            -
บริษัท, ประเทศ         Star Petroleum, ไทย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Oil Terminal
กำลังการผลิต            -
บริษัท, ประเทศ         Fuel Pipeline Transportation Limited, ไทย

ทั้งนี้บริษัทได้กำหนดให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นยื่นซองข้อเสนอเพื่อประกวดราคาก่อสร้าง
โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ในเดือนมีนาคม 2548
ในการนี้บริษัทได้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่ผ่านการคัดเลือกโดยพิจารณาจากรายชื่อคณะกรรมการและกลุ่มผู้ถือหุ้นของ
บริษัทแล้วพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ที่มีความเกี่ยวโยงกันหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกแต่อย่างใด

1.3 ลักษณะทั่วไปของรายการ

    การลงทุนในโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 เป็นการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ของบริษัท บนเนื้อที่ประมาณ 463
ไร่ ถนนสุขุมวิท-ปลวกแดง (ทางหลวงหมายเลข 3191) ตำบล มาบตาพุด อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ซึ่งอยู่ห่างจาก
โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 ประมาณ 10 กิโลเมตร   โดยมีขนาดวงเงินในการก่อสร้างไม่เกิน 597  ล้านเหรียญ
สหรัฯฐ หรือคิดเป็นประมาณ 23,880 ล้านบาท (คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์สหรัฐเท่ากับ 40 บาท)
และหากนับรวมมูลค่าที่ดินสำหรับการก่อสร้างจำนวนประมาณ 972.3 ล้านบาทแล้วนั้น จะทำให้การทำรายการทั้งสอง
มีขนาดของรายการรวมประมาณ 24,852 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 64.0 ของสินทรัพย์รวมของ บริษัท ณ
วันที่ 31 ธันวาคม 2547 สำหรับการซื้อที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้างนี้ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 8
ตุลาคม 2547 ได้มีมติอนุมัติการซื้อที่ดินดังกล่าวจากบุคคลที่มีความเกี่ยวโยงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และเมื่อวันที่ 14
มีนาคม 2548 บริษัทได้เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับบริษัท อาร์ ไอ แอล 1996 จำกัด โดยมีมูลค่า
สัญญาเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 955.5 ล้านบาท

ดังนั้นการลงทุนในโครงการดังกล่าวจึงจัดเป็นการได้มาของสินทรัพย์รายการประเภทที่ 1 ตามประกาศตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยรายการที่เกี่ยวกับการได้มาหรือจำหน่ายไป
ซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน

1.4 รายละเอียดของสินทรัพย์

    บริษัทจะทำการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 โดยโรงงานดังกล่าวจะประกอบไปด้วยหน่วยการผลิต 5
ส่วนหลัก ๆ ได้แก่

(1) หน่วยการกลั่นแยก Condensate  (Condensate Splitter)  มีหน้าที่ในการเตรียม Naphtha
โดยการกลั่นแยก Naphtha ออกจาก Condensate

(2) หน่วย Unicracker  มีหน้าที่เปลี่ยน Condensate residue ที่ได้จากการกลั่นแยก  Condensate ให้เป็น
Heavy Naphtha ส่งให้หน่วย Hydrotreater

(3) หน่วย Hydrotreater  มีหน้าที่จัดเตรียม Heavy Naphtha ให้มีสภาพเหมาะสมเพื่อป้อนเข้าสู่หน่วยการผลิต
Reformer

(4) หน่วยผลิต Reformer (Reformer Section)  มีหน้าที่ในการเตรียม Reformate เพื่อป้อนเข้าสู่
Aromatics Section

(5) หน่วยผลิตสาร Aromatics (Aromatics Section) มีหน้าที่หลักในการสกัดแยก และเปลี่ยน Reformate
ให้เป็นผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท ซึ่งได้แก่ Paraxylene Benzene และผลิตภัณฑ์พลอยได้อื่นๆ

ทั้งนี้โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ได้มีการออกแบบให้ผลิต Reformate และ Toluene ในปริมาณที่เพียงพอต่อ
การใช้วัตถุดิบในการผลิตสำหรับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 และโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยปัจจุบัน  นอกจากนี้ยังมี
การออกแบบหน่วยกลั่นแยก Condensate ให้สามารถผลิต Naphtha ได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการนำไปผลิต
Reformate สำหรับการผลิตในทั้งสองโรงงาน  กล่าวโดยสรุปคือการออกแบบโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
ให้มีการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์กับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1  และมีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์  จะช่วยให้ลดการ
พึ่งพาวัตถุดิบจากภายนอก

โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 มีกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทและมีอัตราการใช้วัตถุดิบเทียบเคียงกับโรงงาน
อะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 ได้ดังนี้

                             ตารางแสดงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต

(หน่วย : พันตันต่อปี)       โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1          โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2

Condensate                   2,190                                2,035
Crude Benzene                  -                                     60
Pygas                          131                                   50
Condensate Residue             -                                    246****
Mixed Xylene                   -                                     58***
Reformate                      297*                                  -
B/T Return                       9                                   -
Toluene                         60**                                 -
รวมวัตถุดิบ                     2,687                                 2,449


หมายเหตุ
*      โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 ได้รับ Reformate จากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
**      โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 ได้รับ Toluene จากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
***      โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ได้รับ Mixed Xylene จากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1
****      โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ได้รับ Condensate Residue บางส่วน
          จากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1

                               ตารางแสดงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้

(หน่วย : พันตันต่อปี)         โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1           โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
Paraxylene                      495                                565
Benzene                         467                                297
Toluene                          -                                  60**
Reformate                        -                                 297*
Orthoxylene                      78                                 -
Mixed Xylenes                    58***                              -
LPG                             146                                334
Heavy Naptha                     -                                 131
Light Naptha                    540                                598
Heavy Aromatics                  40                                 18
Condensate Residue              659****                             -
Light Ends                      204                                149
รวมผลิตภัณฑ์                     2,687                              2,449
หมายเหตุ
*    โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ส่ง Reformate ให้แก่โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1
**   โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ส่ง Toluene ให้แก่โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1
***  โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 ส่ง Mixed Xylene ให้แก่โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
**** โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 ส่ง Condensate Residue บางส่วน ให้แก่โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2

2. ความสมเหตุสมผลของรายการ

2.1 วัตถุประสงค์ในการทำรายการ

บริษัทมีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 เพื่อเป็นการขยายกำลังการผลิตของบริษัท
เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับบริษัท และรองรับความต้องการผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

2.2 ความจำเป็นที่จะต้องทำรายการ

บริษัทมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ดังกล่าวข้างต้น
จากเหตุผลหลายประการได้แก่

(1) เพื่อขยายธุรกิจ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเชิงธุรกิจและรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด
จากการประเมินของบริษัท PCI - Xylenes & Polyesters จำกัด (PCI) ประเทศอังกฤษ
เป็นบริษัทที่ปรึกษาทางด้านธุรกิจน้ำมันและปิโตรเคมีที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปคาดว่าความต้องการใช้
Paraxylene ในอนาคตโดยประเมินว่าความต้องการใช้ Paraxylene ทั่วโลกจะมีความต้องการใช้เพิ่มเฉลี่ย
ในอัตราร้อยละ 7.2 ต่อปีในระหว่างปี 2546 ถึงปี 2550 และร้อยละ 4.9 ต่อปี ระหว่างปี 2550 ถึงปี 2555
โดยคาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นจาก 20.2 ล้านตันในปี 2546 เป็น 26.7 ล้านตันในปี 2550 และเป็น 34.0
ล้านตันในปี 2555

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาสมดุลอุปสงค์ และอุปทานแยกเป็นแต่ละภูมิภาค จะพบว่าเอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่ต้องนำเข้า
Paraxylene จากภูมิภาคอื่นอย่างต่อเนื่องและจะยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากในอนาคต เนื่องจากอุปสงค์ที่สูงมาก
ในประเทศจีน

สำหรับในประเทศไทย ผู้ประกอบการโรงงาน PTA ที่ได้ประกาศแผนการขยายกำลังการผลิตและแผน การก่อสร้าง
ใหม่ในช่วงปี 2546 - 2549 คาดว่าจะทำให้มีความต้องการ Paraxylene ในประเทศเพิ่มขึ้นอีกถึง ประมาณ
898,000 ตันต่อปี ส่วนความต้องการผลิตภัณฑ์ Benzene ในระดับภูมิภาคนั้น PCI คาดว่าภูมิภาคเอเชียและ
อเมริกาเหนือยังคงเป็นภูมิภาคที่ต้องนำเข้า Benzene อยู่ในอนาคต ทั้งนี้ในปัจจุบันประเทศไทยมีการส่งออก Benzene
ไปจำหน่ายในภูมิภาคอื่นคิดเป็นประมาณ 250,000 - 360,000 ตันต่อปี

อย่างไรก็ตามความต้องการ Benzene ในประเทศคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 300,000 ตันต่อปี จากการดำเนิน
การตามโครงการ Cyclohexane ของบริษัท และโครงการ Cumene/Phenol ของ บมจ.ปตท.และบริษัทในเครือ
ของ บมจ.ปตท.

ประกอบกับลักษณะธุรกิจปิโตรเคมี ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ (Upstream) จะมีการประเมินแนวโน้ม
อุปสงค์และอุปทานของผลิตภัณฑ์ทั้งผลิตภัณฑ์ต้นน้ำ (Upstream) ผลิตภัณฑ์กลางน้ำ (Intermediate) และผลิตภัณฑ์
ปลายน้ำ (Downstream) เพื่อประกอบการตัดสินใจการขยายกำลังการผลิต ทั้งนี้การขยายกำลังการผลิตมี
ความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันในอนาคต เนื่องจากหากผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ต้นน้ำไม่สามารถขยายกำลังการผลิต
รองรับการขยายกำลังการผลิตของผู้ผลิตผลิตภัณฑ์กลางน้ำได้ จะทำให้มีความเสี่ยงในการสูญเสียลูกค้าให้กับ
ผู้ประกอบการรายอื่น

ดังนั้นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระประเมินว่าบริษัทมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วย
ที่สอง เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด รักษาความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อขยายธุรกิจของบริษัทตามการ
ขยายตัวของตลาด

(2) ป้องกันการขยายกำลังการผลิตของคู่แข่งขันรายปัจจุบันและการเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่
กระบวนการผลิตอะโรเมติกส์จะต้องอาศัยวัตถุดิบหลักคือ Reformate ซึ่งได้มาจาก 2 แหล่งได้แก่
การผลิตโดยอาศัยน้ำมันดิบ (Crude Oil) และการผลิตโดยอาศัย Condensate ทั้งนี้โดยทั่วไป Reformate
ที่ได้จากการผลิตโดยอาศัย Crude Oil จะให้สัดส่วนผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์จากการผลิตต่ำกว่า Reformate
ที่ได้จากการผลิตโดยอาศัย Condensate ดังนั้นเมื่ออุปสงค์ของผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์  ผลิตภัณฑ์กลางน้ำ
และผลิตภัณฑ์ปลายน้ำสูงขึ้น จะทำให้ความต้องการ Condensate สูงขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

สำหรับสถานการณ์อุปสงค์ และอุปทานของ Condensate ในประเทศไทยนั้น  ปัจจุบันบริษัทมีสัญญาซื้อขาย
Condensate กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) โดยบริษัทได้ทำสัญญาจัดซื้อ Condensate
ที่ผลิตได้ทั้งหมดจากแหล่ง เอราวัณ ไพลิน และ บงกช รวมทั้งได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ที่จะจัดซื้อ
Condensate จากแหล่งต่างๆ ที่ ปตท. จะจัดหาได้เพิ่มเติมในอนาคตได้แก่แหล่ง อาทิตย์ ภูฮ่อม และ JDA
ทั้งนี้คาดว่าปริมาณ Condensate ที่ผลิตได้ในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 60,000 บาร์เรลต่อวัน เป็นประมาณ
82,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2551 และเพิ่มเป็นมากกว่า 100,000 บาร์เรลต่อวันในปี 2552 เป็นต้นไป
ดังนั้น หากบริษัทไม่ดำเนินการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ได้แล้วนั้น  อาจทำให้ผู้ประกอบการที่เป็น
หรือคาดว่าจะเป็นคู่แข่งขันของบริษัททำสัญญาระยะยาวในการสั่งซื้อ Condensate ดังกล่าวจากบริษัท ปตท. จำกัด
(มหาชน) ซึ่งจะถือเป็นการสูญเสียโอกาสในการขยายธุรกิจและการเพิ่มปริมาณการค้ากับลูกค้ารายใหม่ รวมถึง
อาจมีความเสี่ยงในการสูญเสียลูกค้ารายปัจจุบันอีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากการทำสัญญาซื้อขายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์มัก
มีลักษณะเป็นสัญญาระยะยาว

(3) ลดความเสี่ยงในการจัดหาวัตถุดิบในอนาคต
บริษัทประเมินว่าวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับการผลิตสารอะโรเมติกส์ของบริษัทได้แก่ Reformate และ Pygas จะมีแนวโน้ม
ในการจัดหาได้ยากขึ้น หรือ มีต้นทุนในการจัดหาเพิ่มสูงขึ้น สำหรับ Reformate คาดว่าปัจจัยสำคัญที่จะทำให้มีแนวโน้ม
ในการจัดหาได้ยากมากขึ้นเนื่องจากปัจจัย 2 ประการได้แก่
- ปริมาณการใช้น้ำมัน Gasoline ทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
- มาตรการทางด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงมีแนวโน้มเข้มงวดมากขึ้น ส่งผลให้โรงกลั่นน้ำมันต่าง ๆ ต้องใช้
  Reformate ในการ Blend ใน Gasoline Pool มากขึ้น

ดังนั้นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระมีความเห็นว่าการออกแบบโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ที่ได้มีการติดตั้งหน่วย
กลั่นแยก Condensate และ Reformer Section เพื่อให้มีกำลังการผลิต Reformate ในระดับที่เพียงพอสำหรับ
ป้อนให้กับกระบวนการผลิตสารอะโรเมติกส์ทั้งในโรงงานปัจจุบันและโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 นั้น จะเป็นการ
ลดความเสี่ยงจากการจัดหา Reformate ในอนาคตได้ เนื่องจากในปัจจุบันบริษัทจำเป็นต้องจัดซื้อ Reformate
จากภายนอกถึงประมาณ 297,000 ตันต่อปีคิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณ Reformate ที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด
ของโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยปัจจุบัน

ในส่วนของ Pygas นั้น   เนื่องจากบริษัทจะได้รับ Pygas จากกระบวนการผลิตสารโอเลฟินส์ที่ใช้ Heavy Cracker
ที่ใช้ Light Naphtha เป็นวัตถุดิบหลักเท่านั้น ในขณะที่มีแนวโน้มว่าโรงงานโอเลฟินส์แห่งใหม่ จะใช้ Light
Cracker ที่อาศัย Gas เป็นวัตถุดิบหลัก ดังนั้นอาจทำให้บริษัทได้รับ Pygas ลดลง ประกอบกับปัจจุบันบริษัทมีการ
จัดซื้อ Pygas จากภายนอกสูงถึงประมาณ 131,000 ตันต่อปี ดังนั้นการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
จะทำให้เกิดสาร Light Naphtha เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถจัดส่ง Light Naphthaให้แก่โรงงาน
โอเลฟินส์ได้มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทเกิดความมั่นคงในการจัดหา Pygas เพิ่มขึ้นในอนาคต

2.3  ประโยชน์และปัจจัยเสี่ยงจากการทำรายการ

ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระมีความเห็นว่าบริษัทจะได้รับประโยชน์จากการดำเนินการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์
หน่วยที่ 2 ได้แก่

(1) บริษัทสามารถขยายธุรกิจเพื่อรองรับอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ทั้งในประเทศและในระดับภูมิภาค
ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคตได้

(2) บริษัทลดการพึ่งพิงวัตถุดิบสำคัญที่มีแนวโน้มว่าจะความขาดแคลนในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Reformate และ
Pygas
 
(3) บริษัทสามารถใช้วัตถุดิบ Condensate ที่ผลิตได้ในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด
และเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการแข่งขันจากคู่แข่งธุรกิจ

(4) บริษัทมีทางเลือกในการบริหารจัดการกระบวนการผลิตได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
จะทำให้กระบวนการผลิตของบริษัทมีความยืดหยุ่น (Flexibility) และมีความมั่นคง (Reliability) มากยิ่งขึ้น
โดยเมื่อโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 แล้วเสร็จ  หากเกิดข้อผิดพลาดหรือหากมีความจำเป็นต้องดำเนินการซ่อมบำรุง
บริษัทจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการปิดกระบวนการผลิตบางส่วน

(5) ภายหลังการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 แล้ว กำลังการผลิตโดยรวมของบริษัทจะมีปริมาณของ
ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงและมีความต้องการของตลาดสูง มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Paraxylene Benzene และ
Light Naphtha

(6) บริษัทสามารถลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยได้ (ไม่รวมต้นทุนวัตถุดิบ) จากการเกิด Economy of Scale
    ทั้งนี้เนื่องจากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นของโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2  จะทำให้บริษัทสามารถมีต้นทุนคงที่เฉลี่ย
ต่อหน่วยลดลง  ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยมีแนวโน้มลดลง (ไม่รวมต้นทุนวัตถุดิบ)

(7) บริษัทจะสามารถรักษาความสามารถในการทำกำไรไว้ได้ในระดับหนึ่งเมื่อวัฏจักรของธุรกิจปิโตรเคมีต้นน้ำ
เข้าสู่วัฏจักรขาลง ทั้งนี้เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าธุรกิจปิโตรเคมีจะมีลักษณะเป็นวัฏจักรอย่างชัดเจน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งธุรกิจปิโตรเคมีต้นน้ำ โดยในอดีตนั้นส่วนต่างราคาของผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ (Product to Feed)
ในช่วงวัฎจักรขาขึ้นและขาลงของอุตสาหกรรมจะมีความแตกต่างกันได้มาก  ซึ่งความแตกต่างกันอย่างมากดังกล่าวนั้น
มักส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความสามารถในการทำกำไรของผู้ประกอบธุรกิจปิโตรเคมีต้นน้ำ

ดังนั้นการขยายกำลังการผลิตโดยการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 จะทำให้กำลังการผลิตรวมสำหรับ
ผลิตภัณฑ์หลักอันได้แก่ Paraxylene และ Benzene ของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 90% ประกอบกับแผนการ
จัดหาแหล่งเงินทุนจะเป็นพึ่งพิงกระแสเงินสดจากการดำเนินการในช่วงปี 2548 ถึง 2551 และการกู้ยืมเงินเพิ่มเติม
โดยไม่มีการเพิ่มทุนนั้น จะช่วยให้บริษัทรักษาความสามารถในการทำกำไรต่อหุ้นได้ในระดับหนึ่งเมื่อวัฏจักร
ของธุรกิจปิโตรเคมีเข้าสู่ขาลง นอกจากนี้ยังอาจจะทำให้ผู้ถือหุ้นมีความเสี่ยงลดลงจากสภาวะวัฎจักรธุรกิจของบริษัท

อย่างไรก็ตามการทำรายการดังกล่าวอาจมีปัจจัยเสี่ยงที่เป็นประเด็นควรพิจารณาได้แก่

(1) หากโครงการก่อสร้างเกิดความล่าช้า อาจมีผลให้บริษัทไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าตามแผนที่
วางไว้ได้  ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว  โดยทั่วไปในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมักมี
การทำสัญญาซื้อขายระยะยาวเพื่อเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงในการจัดหาวัตถุดิบ  ดังนั้นหากเกิดความล่าช้าอย่างมี
นัยสำคัญในการดำเนินการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 อาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของ
ลูกค้าได้

(2) บริษัทจะต้องใช้กระแสเงินสดจากการดำเนินงานในการลงทุนสำหรับโครงการนี้  ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลง
ทางลบอย่างมีนัยสำคัญของสภาวะราคาสินค้าและวัตถุดิบในช่วงปี 2548 ถึง 2551 อาจทำให้บริษัทต้องมีการกู้ยืมเงิน
เพิ่มเติมเพื่อลงทุนในโครงการมากกว่าแผนที่ได้วางไว้ และอาจทำให้อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุนเพิ่มสูง
ขึ้นกว่าที่ได้คาดหมายไว้ ทั้งนี้ ณ 31 ธันวาคม 2547 บริษัทมีหนี้สินสุทธิจำนวนประมาณ 16,106 ล้านบาท
และมีส่วนของผู้ถือหุ้นรวมประมาณ 17,462 ล้านบาท โดยคิดเป็นอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อทุน ประมาณ 0.92 เท่า
ในขณะที่บริษัทมีกำไรสุทธิในปี 2547 สูงถึงประมาณ 10,342 ล้านบาท

(3) เนื่องจากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ของบริษัทได้มีการออกแบบเบื้องต้นให้ใช้วัตถุดิบหลักคือ Condensate
โดยบริษัทได้วางแผนที่จะใช้ Condensate ที่ผลิตได้จากแหล่งผลิตใหม่ๆ ภายในประเทศ ดังนั้นหากเกิดความล่าช้า
ในการขยายกำลังการผลิต Condensate แหล่งใหม่ภายในประเทศดังกล่าว อาจทำให้บริษัทต้องนำเข้า Condensate
จากภายนอกประเทศ ซึ่งทำให้บริษัทมีความเสี่ยงในการจัดหาวัตถุดิบมากยิ่งขึ้น และอาจส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นได้

3. ความเป็นธรรมของราคาและเงื่อนไขของรายการ

ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระมีความเห็นด้านความเหมาะสมของราคาโดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1.การเปรียบเทียบราคากับการก่อสร้างราคาโรงงานอะโรเมติกส์อื่น ๆ

เนื่องจากการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์จะมีรายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ ที่แตกต่างกันได้มาก  อาทิเช่น
เทคโนโลยีการผลิตที่เลือกใช้ สัดส่วนผลิตภัณฑ์หลัก  การออกแบบกระบวนการผลิต (Configuration)
ประเภทและสัดส่วนวัตถุดิบ เป็นต้น

ประกอบกับบริษัทได้ออกแบบโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 นี้ ให้ใช้ Condensate เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต
โดยออกแบบให้มี Condensate Spliter และ Unicrack เพื่อผลิต Naphtha  ป้อน Reformer Section และมี
Reformer Section เพื่อผลิต Reformate ป้อน Aromatic Section

การออกแบบในลักษณะดังกล่าวจะแตกต่างจากโรงงานอะโรเมติกส์อื่น ๆ ทั้งในและนอกประเทศที่มักจะใช้ Naphtha
หรือ Reformate เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต โดยจะออกแบบให้มีเพียง Aromatic Section เท่านั้น ทั้งนี้
เนื่องจากโรงงานอะโรเมติกส์ส่วนใหญ่จะใช้ Naphtha หรือ Reformate จากการผลิตของโรงกลั่นน้ำมัน และเกิด
จากข้อจำกัดในด้านอุปทานของ Condensate ในตลาดโลก

ดังนั้นการเปรียบเทียบราคากับการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์อื่น ๆ ที่สามารถเทียบเคียงได้จึงมีข้อจำกัด โดยจะ
สามารถเปรียบเทียบได้เพียงราคาการก่อสร้างในส่วน Aromatic Section เท่านั้น

จากข้อมูลการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยใหม่ ๆ ในภูมิภาค พบว่า การก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์แห่งใหม่ที่
สามารถนำมาเทียบเคียงได้มากที่สุดคือการประมูลงานสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยใหม่ของบริษัท Lindong
Chemical ของประเทศจีน ในราวเดือนกุมภาพันธ์ 2547 เนื่องจากเป็นการเลือกใช้เทคโนโลยีของบริษัท UOP
เช่นเดียวกัน และมีกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์หลัก (BTX : Benzene Toluene Xylene) ในระดับเทียบเคียงกันได้
ในการประมูลงานสร้างโรงงานอะโรเมติกส์ของบริษัท Lindong Chemical มีมูลค่าประมาณ 380 ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยมีเพียง Aromatic Section และมีกำลังการผลิตสาร Paraxylene ประมาณ 700,000 ตันต่อปี
กำลังการผลิตสาร Benzene ประมาณ 240,000 ตันต่อปี และกำลังการผลิตสาร Toluene ประมาณ 160,000
ตันต่อปี หรือคิดเป็นกำลังการผลิตสาร BTXประมาณ 1,100,000 ตันต่อปี  ดังนั้นคิดเป็นมูลค่าประมาณ 345,455
เหรียญสหรัฐต่อกำลังการผลิตสาร BTX 1 ตันต่อปี   และคิดเป็นมูลค่าประมาณ 542,857 เหรียญสหรัฐ
ต่อกำลังการผลิตสาร Paraxylene 1 ตันต่อปี

เมื่อพิจารณาวงเงินการประมูลโรงงานอะโรเมติกส์แห่งที่ 2 ของบริษัท เฉพาะในส่วน Aromatic Section
และโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง จะพบว่าวงเงินการประมูลมีมูลค่าประมาณ 301 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจะมี
กำลังการผลิตสาร Paraxylene ประมาณ 565,000 ตันต่อปี กำลังการผลิตสาร Benzene ประมาณ 297,000
ตันต่อปี และกำลังการผลิตสาร Toluene ประมาณ 60,000 ตันต่อปี หรือคิดเป็นกำลังการผลิตสาร BTX ประมาณ
922,000 ตันต่อปี  ดังนั้นจึงคิดเป็นมูลค่าประมาณ 326,464 เหรียญสหรัฐต่อกำลังการผลิตสาร BTX 1 ตันต่อปี
และคิดเป็นมูลค่า 532,743 เหรียญสหรัฐต่อกำลังการผลิตสาร Paraxylene 1 ตันต่อปี

                    ตารางเปรียบเทียบราคาค่าก่อสร้างกับโรงงานอะโรเมติกส์อื่น
 
                                        Lindong Chemical              Complex II
                                                                  (Aromatic Section)
ราคา / วงเงิน EPC (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)             380                         301
กำลังการผลิตสาร Paraxylene (กิโลตันต่อปี)          700                         565
กำลังการผลิตสาร BTX (กิโลตันต่อปี)               1,100                         922
มูลค่าการก่อสร้างต่อกำลังการผลิตสาร Paraxylene
(กิโลตันต่อปี)                                542,857                    532,743
มูลค่าการก่อสร้างต่อกำลังการผลิตสาร BTX
(กิโลตันต่อปี)                                345,455                    326,464

เมื่อเปรียบเทียบจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นพบว่าเป็นมูลค่าที่เทียบเคียงได้กับมูลค่างานก่อสร้างโรงอะโรเมติกส์ของบริษัท
Lindong Chemical

2.การเปรียบเทียบราคากับการก่อสร้างราคาโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยปัจจุบันของบริษัท

เนื่องจากโรงงานอะโรเมติกส์ปัจจุบันของบริษัท เป็นโรงงานที่มีกระบวนการผลิตใกล้เคียงกับโรงงานอะโรเมติกส์
หน่วยใหม่ กล่าวคือจะมีส่วนการกลั่นแยก Condensate และส่วนการผลิต Reformate รวมอยู่ด้วย ดังนั้นการ
ใช้มูลค่า EPC ของโรงงานหน่วยปัจจุบันของบริษัทมาเปรียบเทียบกับวงเงิน EPC ของโรงงานหน่วยใหม่น่าจะเป็นการ
อ้างอิงที่เปรียบเทียบกันได้  อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยใหม่จะมีการติดตั้ง Unicrack อยู่ด้วย
ซึ่งจะไม่มีอยู่ในโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยปัจจุบัน ดังนั้นการเปรียบเทียบมูลค่า EPC จะไม่รวมมูลค่าประเมินของส่วน
การผลิต Unicrack ในมูลค่า EPC ของโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยใหม่

มูลค่า EPC ของโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยปัจจุบันของบริษัทรวมกับมูลค่าของการดำเนินการตามโครงการ De-
bottleneck ทั้ง 2 ครั้ง เท่ากับ 469.4 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีกำลังการผลิต Paraxylene ประมาณ 495,000
ตันต่อปี กำลังการผลิต Benzene 467,000 ตันต่อปี และกำลังการผลิตสาร Xylene ประมาณ 136,000 ตันต่อปี
หรือคิดเป็นกำลังการผลิตสาร BTX เท่ากับ 1,098,000 ตันต่อปี ดังนั้นมูลค่า EPC ของโรงงานอะโรเมติกส์
หน่วยปัจจุบันเท่ากับ 948,222 เหรียญสหรัฐต่อกำลังการผลิต Paraxylene 1 ตันต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่า 427,477
เหรียญสหรัฐต่อกำลังการผลิตสาร BTX 1 ตันต่อปี

วงเงิน EPC ของโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยใหม่ของบริษัทเมื่อไม่รวมส่วนการผลิต Unicrack จะเท่ากับประมาณ
497.4 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีกำลังการผลิต Paraxylene ประมาณ 565,000 ตันต่อปี กำลังการผลิต Benzene
297,000 ตันต่อปี กำลังการผลิต Toluene 60,000 ตันต่อปี หรือคิดเป็นกำลังการผลิตสาร BTX 922,000 ตันต่อปี
ดังนั้นวงเงิน EPC ของโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยใหม่เท่ากับ 880,335 เหรียญสหรัฐต่อกำลังการผลิตสาร
Paraxylene 1 ตันต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่า 539,468 เหรียญสหรัฐต่อกำลังการผลิตสาร BTX 1 ตันต่อปี

            ตารางเปรียบเทียบราคาค่าก่อสร้างกับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยปัจจุบันของบริษัท
 
                                     โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1    โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
                                  รวมการ De-bottleneck  2 ครั้ง

ราคา / วงเงิน EPC (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)              469.4                        497.4
กำลังการผลิตสาร Paraxylene (กิโลตันต่อปี)           495                          565
กำลังการผลิตสาร BTX (กิโลตันต่อปี)                  1,098                        922
มูลค่าการก่อสร้างต่อกำลังการผลิตสาร Paraxylene
(กิโลตันต่อปี)                                  948,222                    880,335
มูลค่าการก่อสร้างต่อกำลังการผลิตสาร BTX (กิโลตันต่อปี) 427,477                    539,468

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นพบว่าวงเงิน EPC ของโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยใหม่ของบริษัท
สามารถเทียบเคียงได้กับมูลค่า EPC ของโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยปัจจุบัน

3.วิธีการประเมินราคา

บริษัทได้ทำการว่าจ้างบริษัท UOP LLC ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เทคโนโลยีการผลิตสาร
อะโรเมติกส์ สำหรับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 ของบริษัท  เพื่อเป็นที่ปรึกษาและดำเนินการออกแบบทาง
วิศวกรรมเบื้องต้นรวมถึงประเมินมูลค่าก่อสร้างงานด้านออกแบบวิศวกรรม จัดหาเครื่องจักร และก่อสร้างโรงงาน
(EPC) ในปี 2546 ทั้งนี้การออกแบบทางวิศวกรรมขั้นต้นดังกล่าวได้มีการออกแบบโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
ด้วยกำลังการผลิต Paraxylene ประมาณ 500 KTA

อย่างไรก็ตามในปี 2547 บริษัทได้มีการหารือกับบริษัทที่ปรึกษา UOP ในการปรับปรุงการออกแบบทางวิศวกรรม
โดยปรับให้โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 มีกำลังการผลิต Paraxylene สูงขึ้นเป็นประมาณ 565 KTA
และได้ให้บริษัทที่ปรึกษา UOP ทำการปรับปรุงประมาณการราคาการก่อสร้างตามกำลังการผลิต Paraxylene
ที่สูงขึ้นอีกด้วย

ทั้งนี้ต้นทุนการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์โดยทั่วไป จะมีต้นทุนในการเพิ่มกำลังการผลิตสาร Paraxylene
สูงกว่าการเพิ่มกำลังการผลิตสารอะโรเมติกส์อื่น ๆ ดังนั้นการปรับเพิ่มกำลังการผลิตสาร Paraxylene
ดังกล่าวข้างต้นจะทำให้ราคา EPC มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน

นอกจากนี้บริษัทได้ประเมินต้นทุน EPC ที่ควรจะเพิ่มขึ้นตามกำลังการผลิต Paraxylene ที่สูงขึ้น โดยอาศัยทฤษฎีที่เป็นที่
ยอมรับกันในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี นอกจากนี้บริษัทได้วิเคราะห์ต้นทุนการก่อสร้างที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากราคาเหล็ก
ที่มีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2547 รวมถึงได้สะท้อนค่าเผื่อการลงทุน (Contingency) ในระดับที่
เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

บริษัทได้เปรียบเทียบราคา EPC ที่ปรับปรุงโดยบริษัทที่ปรึกษา UOP และราคาที่ได้จากการวิเคราะห์ภายในของบริษัท
ควบคู่กันในการกำหนดวงเงินในการประมูล

4.การคัดเลือกผู้รับเหมาเป็นไปตามกระบวนการประมูล

บริษัทได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาบริหารโครงการคือ บริษัท Foster Wheeler ประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาด้านการบริหารโครงการขนาดใหญ่ และมีชื่อเสียงเป็นที่
ยอมรับอย่างกว้างขวาง เพื่อให้คำปรึกษาแก่บริษัทในการคัดเลือกบริษัทผู้รับเหมา เนื่องจาก โครงการของบริษัท
ถือว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ซึ่งต้องใช้ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์เฉพาะทางในด้านการรับเหมาก่อสร้างโรงงานในกลุ่ม
อุตสาหกรรมเคมี และปิโตรเคมี

บริษัทและบริษัทที่ปรึกษาบริหารโครงการได้ร่วมกันกลั่นกรองเบื้องต้น (Short-List) เพื่อคัดเลือกบริษัทรับเหมา
ที่มีประสบการณ์เหมาะสมทั้งที่เป็นบริษัทในระดับภูมิภาคและระดับโลกจำนวน 10 ราย เพื่อทำการส่งหนังสือเชิญบริษัท
ดังกล่าวให้ยื่นคุณสมบัติของบริษัทเพื่อการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น (Pre-Qualification)

ในการกลั่นกรองและคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น บริษัทได้พิจารณาประเด็นหลัก ๆ ได้แก่ (1) ประสบการณ์การ
รับเหมาโครงการที่เกี่ยวข้องกับโรงกลั่นน้ำมัน และ โรงงานอะโรเมติกส์ (2) ขนาดโครงการที่เคยรับเหมาในอดีต
(3) สถานะทางการเงินและธุรกิจ (4) ประสบการณ์การทำโครงการในประเทศไทย (5) ประสบการณ์ในการทำ
โครงการในรูปแบบที่บริษัทกำหนด (Full EPC) และ (6) ความพร้อมของบุคลากรและทีมงาน

จากการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น บริษัทรับเหมาที่ผ่านการคัดเลือกในฐานะผู้รับเหมาหลักทั้ง 6 ราย
เป็นผู้รับเหมาที่มีชื่อเสียง มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องชัดเจน และมีศักยภาพในการรับเหมาโครงการขนาดใหญ่
ประกอบกับบริษัทได้กำหนดกระบวนการคัดเลือกให้บริษัทรับเหมาผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติขั้นต้น หรือกิจการร่วมค้า
ของกลุ่มบริษัทรับเหมาดังกล่าวข้างต้น ยื่นข้อเสนอในการรับเหมาโครงการแยกออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ (1)
ข้อเสนอทางเทคนิค (Technical Proposal) (2) ข้อเสนอด้านแผนการดำเนินการ (Execution Proposal)
และ (3) ข้อเสนอทางด้านราคาและเงื่อนไข (Commercial Proposal)

ด้วยกระบวนการคัดเลือกดังกล่าวข้างต้น ตลอดจนการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาบริหารโครงการในการให้คำปรึกษา
ในการคัดเลือกผู้รับเหมาแบบเปิดประมูล สำหรับเงื่อนไขในการชำระราคาที่จะเกิดขึ้นนั้น บริษัทจะดำเนินการตาม
ข้อเสนอที่พิจารณาคัดเลือกจากผู้รับเหมาที่ชนะการประมูลทั้งด้านเทคนิคและด้านราคา ทั้งนี้บริษัทจะดำเนินการ
คัดเลือกและเจรจาต่อรองโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ จึงมีเหตุผลให้เชื่อว่าจะทำให้เกิดการ
แข่งขันในการประมูลเพื่อให้ได้รายละเอียดของโครงการ เงื่อนไขในการรับเหมา และราคาในการรับเหมา
ที่เหมาะสมสำหรับบริษัทได้

ดังนั้นด้วยปัจจัยดังกล่าวข้างต้นที่ปรึกษาทางการเงินอิสระมีความเห็นว่าด้วยการประเมินราคา EPC ของบริษัทที่ปรึกษา
UOP ซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีการผลิต การประเมินราคาโดยบริษัท และกระบวนการคัดเลือกผู้รับเหมาโดย
วิธีการประมูล จะทำให้บริษัทได้รับราคาและเงื่อนไขในการทำรายการ ที่มีความเหมาะสม

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาวงเงินการประมูล EPC ที่วงเงินไม่เกิน 597 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงิน 23,880 ล้านบาท
(คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์สหรัฐเท่ากับ 40 บาท) นั้น  และเมื่อเปรียบเทียบกับราคาก่อสร้างโรงงาน
อะโรเมติกส์อื่น ๆ ที่พอจะสามารถเทียบเคียงได้ จะพบว่าวงเงินการประมูล EPC สามารถเทียบเคียงได้และมี
ความเหมาะสม

4. ความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ
 
ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระได้พิจารณาถึงความจำเป็นในการทำรายการ ประโยชน์ที่จะเกิดจากการทำรายการ
ความเสี่ยงจากการทำรายการ   ความเป็นธรรมของราคาและเงื่อนไขในการทำรายการ   ตลอดจนข้อมูลผล
การดำเนินงานในอดีตของบริษัท  และมติคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้น  ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระมี
ความเห็นว่า การทำรายการดังกล่าวมีความสมเหตุสมผล  และวงเงินในการทำรายการมีความสมเหตุสมผล

ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระมีความเห็นว่าผู้ถือหุ้นควรพิจารณาอนุมัติวงเงินในการก่อสร้างงานด้านออกแบบวิศวกรรม
จัดหาเครื่องจักร และก่อสร้างโรงงาน (Engineering Procurement and Construction หรือ EPC)
สำหรับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 เพื่อให้บริษัทคัดสรรผู้รับเหมาและจัดจ้างต่อไปในวงเงินไม่เกิน 597.0
ล้านเหรียญสหรัฐ ดังรายละเอียดตามที่คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติในการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 1/2548
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548

ทั้งนี้การให้ความเห็นดังกล่าวอ้างอิงข้อมูลที่ได้รับจากฝ่ายจัดการ ข้อมูลที่ได้รับจากที่ปรึกษาอื่น ๆ ของบริษัทตลอดจน
ข้อมูลอุตสาหกรรมที่ได้รับจากภายนอกเป็นสำคัญ    โดยที่ปรึกษาทางการเงินอิสระมีข้อสมมติฐานว่าข้อมูลดังกล่าว
ข้างต้นมีความถูกต้องและเป็นจริง ดังนั้นหากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นไม่ถูกต้องและไม่เป็นจริง หรือมีการเปลี่ยนแปลง
อย่างมีนัยสำคัญในอนาคต  อาจส่งผลกระทบต่อความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระได้



                                             ขอแสดงความนับถือ
                                      บริษัท ทรีนีตี้ แอ๊ดไวซอรี่ 2001 จำกัด


 
                                          (ขนิษฐา สรรพาอาษา)
                                           กรรมการอำนวยการ