13:55:29 PM
  หัวข้อข่าว : ATC :สารสนเทศการได้มาซิ่งสินทรัพย์ในโครงการอะโรเมติกส์2

                                         สารสนเทศ
                              รายการได้มาซึ่งสินทรัพย์เกี่ยวกับ
                           การลงทุนในโครงการอะโรเมติกส์หน่วยที่สอง

ด้วยที่ประชุมคณะกรรมการ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ("บริษัท")
มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548  ให้อนุมัติวงเงินในการก่อสร้างงานด้านออกแบบ
วิศวกรรม จัดหาเครื่องจักร และก่อสร้างโรงงาน (Engineering Procurement and Construction หรือ
EPC) แบบรับเหมาเบ็ดเสร็จ (Full Turn Key)  สำหรับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่2

เพื่อให้บริษัทคัดสรรผู้รับเหมาและจัดจ้างต่อไปในวงเงินไม่เกิน 597.0  ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณ
23,880 ล้านบาท (คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐเท่ากับ 40 บาท)

พื่อตอบสนองความต้องการในประเทศที่มีต่อผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น สายอะโรเมติกส์    และเพื่อก่อให้เกิดการ
ผสานประโยชน์ในการผลิตและการจัดการในโรงงานอะโรเมติกส์ที่มีอยู่เดิม (Plant Synergy) โดยจะให้ผู้ที่ได้รับ
การคัดเลือกผ่านคุณสมบัติเบื้องต้นยื่นข้อเสนอและดำเนินการประมูลคัดเลือกต่อไป

1.วัน เดือน ปี ที่เกิดรายการ
บริษัทจะทำสัญญากับผู้รับเหมางานก่อสร้างหลังจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติวงเงินในการก่อสร้างงานด้าน
ออกแบบวิศวกรรม จัดหาเครื่องจักร และก่อสร้างโรงงาน (EPC)  แบบรับเหมาเบ็ดเสร็จ (Full Turn Key)
สำหรับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่2 และหลังจากผ่านกระบวนการจัดจ้างและประกวดราคาเรียบร้อยแล้ว
ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2548 (การรับเหมาเบ็ดเสร็จ หรือ Full Turn Key หมายถึง
การรับเหมาก่อสร้างงานด้านออกแบบวิศวกรรม การจัดหาเครื่องจักร การก่อสร้างโรงงาน การติดตั้งเครื่องจักร
รวมไปจนถึง การทดสอบการเดินเครื่องจักร โดยผู้ว่าจ้างจะชำระเงินตามจำนวนที่ได้ตกลงไว้เท่านั้น)

2.คู่กรณี / คู่สัญญาที่เกี่ยวข้อง
บริษัทได้ดำเนินการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้น (Pre-Qualification)
ของผู้รับเหมางานก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 เมื่อเดือนตุลาคม 2547
โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นดังต่อไปนี้

บริษัท  Samsung Engineering Co.,Ltd. ,เกาหลีใต้
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Olefins Plant
กำลังการผลิต           450,000 เมตริกตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         Saudi Polyolefins Co. (SPC), ซาอุดิอาระเบีย

ประเภท               Fertilizer Plant
กำลังการผลิต           3,550 ตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         Petrovietnam, เวียดนาม

ประเภท               Ethylene Plant
กำลังการผลิต           300,000 เมตริกตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         Thai Perochemical Industry Public Co., Ltd., ไทย


ประเภท               Gas Separation Plant
กำลังการผลิต           530 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         PTT Public Co., Ltd., ไทย


ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           74,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Indian Oil Corporation Limited, อินเดีย


บริษัท  Technip Far East SDN BHD, มาเลเซีย
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Liquefaction Natural Gas Plant
กำลังการผลิต           2 หน่วย @ 4 ล้านตันต่อปีต่อหน่วย
บริษัท, ประเทศ         Nigeria LNG Ltd., ไนจีเรีย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           225,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Mider, เยอรมัน

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           100,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Midor, MIDTAP, อียิปต์

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           285,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Sincor C.A.เวเนซูเอล่า

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Gas Production Plant
กำลังการผลิต           20,000 ตันต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         ORYX  GTL Ltd., การ์ตา

บริษัท  SK Engineering & Construction Co., Ltd, เกาหลีใต้
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           700,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Petroleos Mexicanos (Pemex), เม็กซิโก

 
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petroleos Mexicanos (Pemex)
กำลังการผลิต           500,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Petroleos Mexicanos (Pemex), เม็กซิโก

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           150,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         SK Corporation, เกาหลี
 
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           639,800 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         ATC, ไทย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           150,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Kuwait National Petroleum Co., คูเวต

บริษัท LG Engineering & Construction Corp., เกาหลีใต้
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Offshore Oil & Gas Development
กำลังการผลิต           2,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Pars Oil & Gas Co., จีน

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           280,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Qatar Petroleum, การ์ตา

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           150,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Thai Petrochemical Industry Public Co., Ltd., ไทย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           1,280,000 เมตริกตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         Borzouyeh Petrochemical Co.,อิหร่าน

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           1,100,000 เมตริกตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         Lidong Chemical Co., Ltd, จีน


บริษัท Stone & Webster International Inc.,  สหรัฐอเมริกา
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           40,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         Fina Refinery Antwerp, เบลเยี่ยม

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           -
บริษัท, ประเทศ         Shell Internationale Petroleum Maatschappij, ซาอุดิอาระเบีย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           -
บริษัท, ประเทศ         Mobil Oil Singapore Pte Limited, สิงคโปร์

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           -
บริษัท, ประเทศ         Petroleos Mexicanos (Pemex), เม็กซิโก

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Refinery Plant
กำลังการผลิต           18,000 บาร์เรลต่อวัน
บริษัท, ประเทศ         TPI Catalytic Cracking, ไทย

บริษัท Toyo Engineering Corporation, ญี่ปุ่น
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           1,280,000 เมตริกตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         National Petrochemical Co./Borzooye Petrochemical Co., อิหร่าน

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           565,000 เมตริกตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         Aromatics Malaysia SDN. BHD., มาเลเซีย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Liquefied Natural Gas Plant
กำลังการผลิต           2 โรง & 4,800,000 เมตริกตันต่อปีต่อโรง
บริษัท, ประเทศ         Sakhalin Energy Investment Co., Ltd., รัสเซีย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Power Plant
กำลังการผลิต           2 โรง @ 615 MW/โรง
บริษัท, ประเทศ         PT Paiton Energy, อินโดนีเซีย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท               Petrochemical Plant
กำลังการผลิต           240,000 เมตริกตันต่อปี
บริษัท, ประเทศ         Rayong Olefins Co., Ltd., ไทย

บริษัท Italian-Thai Development Public Co., Ltd., ไทย
     (ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นในฐานะผู้ร่วมประมูลงานกับผู้ประมูลงานหลักเท่านั้น)
 
ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท        Mass Transit Infra-Structure
กำลังการผลิต    -
บริษัท, ประเทศ  Office Of The Prime Minister, Metropolitan Rapid Transit Authority, ไทย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท         Mass Transit Infra-Structure
กำลังการผลิต     -
บริษัท,ประเทศ    Bangkok Mass Transit System Public Co., Ltd.,ไทย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท             Airport
กำลังการผลิต            -
บริษัท, ประเทศ       Department Of Civil Aviation, Ministry Of Transport, สหภาพพม่า

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท             Refinery Plant
กำลังการผลิต            -
บริษัท, ประเท        Star Petroleum, ไทย

ประสบการณ์ที่สำคัญ
ประเภท             Oil Terminal
กำลังการผลิ          -
บริษัท, ประเทศ       Fuel Pipeline Transportation Limited, ไทย

ทั้งนี้บริษัทได้กำหนดให้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นยื่นซองข้อเสนอเพื่อประกวดราคาก่อสร้างโรงงานอะโร
เมติกส์หน่วยที่ 2 ในเดือนมีนาคม 2548

ในการนี้บริษัทได้ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่ผ่านการคัดเลือกโดยพิจารณาจากรายชื่อคณะกรรมการและกลุ่มผู้ถือหุ้นของ
บริษัทแล้วพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ที่มีความเกี่ยวโยงกันหรือมีส่วนได้เสียกับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกแต่อย่างใด

3.ลักษณะทั่วไปของรายการ

การลงทุนในโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 เป็นการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ของบริษัท บนเนื้อที่ประมาณ 463 ไร่
ถนนสุขุมวิท-ปลวกแดง (ทางหลวงหมายเลข 3191) ตำบล มาบตาพุดอำเภอเมือง  จังหวัดระยอง
ซึ่งอยู่ห่างจากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 ประมาณ 10 กิโลเมตร   โดยมีขนาดวงเงินในการก่อสร้างไม่เกิน
597 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นประมาณ 23,880 ล้านบาท (คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลล่าร์สหรัฐเท่ากับ
40 บาท) และหากนับรวมมูลค่าที่ดินสำหรับการก่อสร้างจำนวนประมาณ 972.3 ล้านบาทแล้วนั้น
จะทำให้การทำรายการทั้งสองมีขนาดของรายการรวมประมาณ 24,852 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 64.0
ของสินทรัพย์รวมของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547
สำหรับการซื้อที่ดินที่ใช้ในการก่อสร้างนี้ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2547
ได้มีมติอนุมัติการซื้อที่ดินดังกล่าวจากบุคคลที่มีความเกี่ยวโยงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   และเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2548
บริษัทได้เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับบริษัท อาร์ ไอ แอล 1996 จำกัด
โดยมีมูลค่าสัญญาเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 955.5 ล้านบาท
ดังนั้นการลงทุนในโครงการดังกล่าวจึงจัดเป็นการได้มาของสินทรัพย์รายการประเภทที่ 1
ตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ
และการเปิดเผยรายการที่เกี่ยวกับการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน

4.รายละเอียดของสินทรัพย์
บริษัทจะทำการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2   โดยโรงงานดังกล่าวจะประกอบไปด้วยหน่วยการผลิต 5
ส่วนหลัก ๆ ได้แก่
(1) หน่วยการกลั่นแยก Condensate  (Condensate Splitter)  มีหน้าที่ในการเตรียม Naphtha
โดยการกลั่นแยก Naphtha ออกจาก Condensate
(2) หน่วย Unicracker  มีหน้าที่เปลี่ยน Condensate residue ที่ได้จากการกลั่นแยก  Condensate ให้เป็น
Heavy Naphtha ส่งให้หน่วย Hydrotreater
(3) หน่วย Hydrotreater  มีหน้าที่จัดเตรียม Heavy Naphtha ให้มีสภาพเหมาะสมเพื่อป้อนเข้าสู่หน่วยการผลิต
Reformer
(4) หน่วยผลิต Reformer (Reformer Section)  มีหน้าที่ในการเตรียม Reformate เพื่อป้อนเข้าสู่
Aromatics Section
(5) หน่วยผลิตสาร Aromatics (Aromatics Section) มีหน้าที่หลักในการสกัดแยก และเปลี่ยน Reformate
ให้เป็นผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท ซึ่งได้แก่ Paraxylene Benzene และผลิตภัณฑ์พลอยได้อื่นๆ

ทั้งนี้โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ได้มีการออกแบบให้ผลิต Reformate และ Toluene
ในปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้วัตถุดิบในการผลิตสำหรับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
และโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยปัจจุบัน  นอกจากนี้ยังมีการออกแบบหน่วยกลั่นแยก Condensate ให้สามารถผลิต
Naphtha ได้ในปริมาณที่เพียงพอต่อการนำไปผลิต Reformate สำหรับการผลิตในทั้งสองโรงงาน
กล่าวโดยสรุปคือการออกแบบโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
ให้มีการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์กับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1  และมีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์  จะช่วยให้ลดการ
พึ่งพาวัตถุดิบจากภายนอก โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2  มีกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทและ
มีอัตราการใช้วัตถุดิบเทียบเคียงกับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 ได้ดังนี้

                       ตารางแสดงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
(หน่วย : พันตันต่อปี)       โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1          โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2

Condensate                   2,190                                2,035
Crude Benzene                 -                                      60
Pygas                          131                                   50
Condensate Residue            -                                     246****
Mixed Xylene                  -                                      58***
Reformate                      297*                                 -
B/T Return                       9                                  -
Toluene                         60**                                -
รวมวัตถุดิบ                     2,687                                  2,449
หมายเหตุ
*      โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 ได้รับ Reformate จากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
**      โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 ได้รับ Toluene จากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
***      โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ได้รับ Mixed Xylene จากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1
****      โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ได้รับ Condensate Residue บางส่วน
          จากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1

                            ตารางแสดงผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้
(หน่วย : พันตันต่อปี)         โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1           โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
Paraxylene                     495                                565
Benzene                        467                                297
Toluene                         -                                  60**
Reformate                       -                                 297*
Orthoxylene                    78                                 -
Mixed Xylenes                  58***                              -
LPG                           146                                 334
Heavy Naptha                    -                                 131
Light Naptha                  540                                 598
Heavy Aromatics                40                                  18
Condensate Residue            659****                              -
Light Ends                    204                                 149
รวมผลิตภัณฑ์                   2,687                               2,449

หมายเหตุ
*      โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ส่ง Reformate ให้แก่โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1
**      โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ส่ง Toluene ให้แก่โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1
***      โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 ส่ง Mixed Xylene ให้แก่โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
****      โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 ส่ง Condensate Residue บางส่วน
          ให้แก่โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
เพื่อให้สอดคล้องกับกำลังการผลิตและความต้องการวัตถุดิบของทั้งสองโรงงาน  เมื่อได้มีการผลิตในโรงงาน
อะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
แล้วจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการจัดการระบบการผลิตของทั้งสองโรงงานได้ดียิ่งขึ้น  โดยสรุปคือ
- โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ส่ง Reformate ให้กับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 เพื่อป้อนให้กับ Aromatic
Section ในโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1
- โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 รับ Mixed Xylenes จากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 เพื่อป้อนให้กับ
Aromatic Sectionในโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
- โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ส่ง Toluene ให้กับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 เพื่อป้อนให้กับ Aromatic
Section ในโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1
- โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 ส่ง Condensate Residue บางส่วนให้แก่โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
เพื่อป้อนให้กับ Unicrack Section ในโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 เนื่องจากการออกแบบกระบวน
การผลิตดังกล่าวข้างต้นซึ่งเป็นขั้นตอนการรับ-ส่งผลิตภัณฑ์ระหว่างกันเพื่อป้อนเป็นวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต
ดังนั้นภายหลังการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 จะทำให้ผลิตภัณฑ์ Toluene Reformate และ Mixed
Xylenes หายไปและผลิตภัณฑ์  Condensate Residue มีปริมาณลดลงดังที่ปรากฏในตารางนี้

                  ก่อนการก่อสร้าง              ภายหลังการก่อสร้าง
              โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2     โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
               (พันตันต่อปี)    (ร้อยละ)       (พันตันต่อปี)   (ร้อยละ)      หมายเหตุ
Paraxylene        495        18.4           1,060       23.7
Benzene           467        17.4             764       17.1
Toluene            -          -               -          -    การผลิตในโรงงาน
                                                              หน่วยที่ 1 ถูกใช้ใน
                                                              กระบวนการผลิต
                                                              ทั้งหมดในขณะที่
                                                              การผลิตในโรงงาน
                                                              หน่วยที่ 2
                                                              จะถูกส่งต่อไปยังหน่วยที่ 1


Reformate         -           -               -          -    การผลิตในโรงงาน
.                                                             หน่วยที่ 1 ถูกใช้ใน
                                                              กระบวนการผลิต
                                                              ทั้งหมดในขณะที่
                                                              การผลิตในโรงงาน
                                                              หน่วยที่ 2
                                                              จะถูกส่งต่อไปยังหน่วยที่ 1

Orthoxylene         78      2.9            78         0.2
Mixed Xylenes       58      2.2             -        -        โรงงานหน่วยที่ 1      .
                                                              ส่งให้เป็นวัตถุดิบ         .
                                                              ในโรงงานหน่วยที่ 2
LPG                146      5.4           480        10.7
Heavy Naptha        -        -            131        2.9
Light Naptha       540     20.1         1,138       25.4
Heavy Aromatics    40      1.5             58        1.3
Condensate         659     24.5           413        9.2      โรงงานหน่วยที่ 1
Residue                                                       ส่งให้เป็นวัตถุดิบ
                                                              ในโรงงานหน่วยที่ 2


Residue
Light Ends         204      7.6           353        7.9
รวมผลิตภัณฑ์        2,687      100         4,475        100


ทั้งนี้บริษัทจะต้องดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งการอนุญาตรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมโครงการก่อสร้างโรงงาน
(EIA Report) จากสำนักวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม โดยที่ดินที่จะเป็นที่ตั้งของโรงงานแห่งใหม่อยู่ในเขตส่งเสริมการลงทุนเขต 3  ซึ่งได้รับอนุญาตจาก
EIA และอยู่ในเขตผังเมืองที่อนุญาตให้สามารถสร้างโรงกลั่นน้ำมันและโรงงานปิโตรเคมีขั้นต้นได้

5.มูลค่ารวมของสิ่งตอบแทน
คณะกรรมการบริษัทได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2548 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548 อนุมัติวงเงินในการก่อสร้างงาน
ด้านออกแบบวิศวกรรม จัดหาเครื่องจักร และก่อสร้างโรงงาน (Engineering Procurement and
Construction หรือ EPC)  สำหรับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2  ไม่เกิน 597 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ
คิดเป็นประมาณ 23,880 ล้านบาท (คำนวณจากอัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐเท่ากับ 40 บาท) โดยหากการทำ
รายการจัดจ้าง EPC สูงเกินกว่าวงเงินข้างต้น  บริษัทจะเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติการทำรายการดังกล่าว
อีกครั้งหนึ่ง  และหากมีค่าใช้จ่ายอื่นใดนอกจากการจัดจ้าง EPC บริษัทจะดำเนินการผ่านกระบวนการที่เกี่ยวข้องต่อไป

สำหรับเงื่อนไขการชำระเงินนั้น  บริษัทจะดำเนินการตามข้อเสนอที่พิจารณาคัดเลือกจากผู้รับเหมาที่ชนะการประมูล
ทั้งด้านเทคนิคและด้านราคา    ทั้งนี้บริษัทจะดำเนินการคัดเลือกและเจรจาต่อรองโดยคำนึงถึงประโยชน์ของ
ผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญ

6.เกณฑ์ที่ใช้ในการกำหนดมูลค่าสิ่งตอบแทน
บริษัทได้ว่าจ้าง UOP LLC  ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เทคโนโลยีการผลิตสำหรับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 ของบริษัท
เพื่อออกแบบวิศวกรรมเบื้องต้นและประเมินมูลค่าการก่อสร้าง งานทางด้านวิศวกรรม และการจัดซื้อ (EPC)
ที่ระดับกำลังการผลิต Paraxylene 500 KTA และ 565 KTA    หลังจากนั้นบริษัทได้ประเมินมูลค่าการ
ก่อสร้างโดยอาศัยทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และได้ทำการวิเคราะห์ต้นทุนการก่อสร้าง
ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากราคาเหล็กที่คาดว่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2548  และคำนึงถึงอัตราการ
กำหนดค่าเผื่อการลงทุน (Contingency)  ควบคู่กัน แล้วจึงได้กำหนดวงเงินค่าก่อสร้างเพื่อขออนุมัติ
ทั้งนี้การออกแบบและประเมินมูลค่าการก่อสร้างได้คำนึงถึงรายละเอียด คุณสมบัติและระบบการผลิตดังที่ได้แสดงไว้
ในข้อ 4 (รายละเอียดของสินทรัพย์ที่ได้มา)

UOP LLC ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1914 ในนาม National Hydrocarbon Company โดย
California inventor Jesse A. Dubbs and Chicago industrialist J. Ogden Armour
เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการ กลั่นปิโตรเลียมในปี ค.ศ.1915 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Universal Oil Products

UOP เป็นผู้นำเทคโนโลยีด้านการกลั่นปิโตรเลียม  ก๊าซ  และการผลิตปิโตรเคมีมากว่า 90 ปี  วิศวกรของ UOP
ได้คิดค้นงานวิจัยและเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์มากมาย UOP เป็นที่ปรึกษาในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลกำไร  รวมถึง
ให้คำปรึกษาในการออกแบบอุปกรณ์ต่างๆ ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม  ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิต Paraxylene
ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตของ UOP คิดเป็น 62% ของผู้ผลิต Paraxylene ทั่วโลก  และในปี 2546 UOP
ได้ให้ลิขสิทธิ์ในการผลิตแก่บริษัทต่างๆ มากกว่า 600 กระบวนการผลิต

7.ผลประโยชน์ที่คาดว่าบริษัทจะได้รับ
7.1 ตอบสนองความต้องการของผู้ผลิตที่ต้องการ Paraxylene

จากการประมาณการของบริษัทคาดว่าจะมีความต้องการ Paraxylene
ในประเทศและภูมิภาคเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและหากไม่มีการสร้างโรงงานผลิต Paraxylene
เพิ่มขึ้นจะเกิดภาวะอุปสงค์ส่วนเกินตั้งแต่ปี 2006 โดยคาดว่าหากไม่มีการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์แห่งที่ 2
ของบริษัท ตั้งแต่ปี 2006 จะต้องมีการนำเข้า Paraxylene ประมาณ 444,000 ตันต่อปี
ทำให้บริษัทสูญเสียโอกาสในการขยายธุรกิจ และอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการสูญเสียลูกค้า

7.2 ตอบรับโอกาสในการขยายธุรกิจ

เนื่องจากในประเทศไทยสามารถพบ Condensate ที่ให้ Yield ในการผลิตสารอะโรเมติกส์ที่สูง  ซึ่ง
Condensate ถือเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตสารอะโรเมติกส์   ประกอบกับแนวโน้มกำลังการผลิต Condensate
ในอนาคตจะมีเพิ่มขึ้นจากแหล่งใหม่ ๆ    ดังนั้นถือเป็นโอกาสที่สำคัญในการขยายธุรกิจของบริษัท

7.3 เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน

เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและความแข็งแกร่งในตลาด  โดยหลังจากดำเนินการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
ดังกล่าวแล้วเสร็จ  บริษัทจะมีกำลังการผลิต Paraxylene รวม 1,060,000 ตันต่อปีซึ่งนับเป็นผู้ผลิต Paraxylene
รายใหญ่อันดับที่ 6 ของโลก  ซึ่งจะทำให้มีอำนาจการต่อรอง   มีความแข็งแกร่งในตลาดเพิ่มสูงขึ้นและยังก่อให้เกิด
Synergy ระหว่างโรงงานทั้งสองของบริษัท  รวมถึงจะสามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้อีกด้วย
7.4 ลดความเสี่ยงจากการจัดหาวัตถุดิบที่มีแนวโน้มขาดแคลน

โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 จะสามารถผลิต Reformate
ซึ่งเป็นสารตั้งต้นหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทได้เพียงพอต่อความต้องการจากกระบวนการผลิตของโรงงาน
อะโรเมติกส์ หน่วยที่ 1  นอกจากนี้โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 จะสามารถส่งผลิตภัณฑ์ Toluene
ไปยังกระบวนการของโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 1 เพื่อนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้
ตลอดจนสามารถรับ Condensate Residue จากโรงงานที่ 1 เพื่อนำมาใช้ในการผลิต Reformate ได้อีกด้วย
ทั้งนี้เนื่องจากกำลังการผลิตในส่วนของการกลั่น Naphtha และการผลิต Reformate
ของโรงงานปัจจุบันนั้นไม่สามารถผลิต Reformate ได้เพียงพอต่อความต้องการของกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์หลัก
และจะต้องมีการสั่งซื้อ Reformate จากภายนอกมาใช้ในกระบวนการผลิตในปริมาณที่ค่อนข้างมาก
ทำให้เกิดความเสี่ยงจากภาวะการขาดแคลน Reformate และต้นทุนวัตถุดิบที่อาจสูงขึ้น

7.5 เพิ่มความมั่นคง (Reliability) และความยืดหยุ่น (Flexibility) ให้กับระบบการผลิต

ในปัจจุบันการจัดการระบบการผลิตของโรงงานปัจจุบันจะมีความยืดหยุ่นค่อนข้างน้อย เนื่องจากหากเกิดข้อผิดพลาดหรือ
มีความจำเป็นต้องซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ จะต้องมีการปิดระบบการผลิตเกือบทั้งหมด ซึ่งการมีโรงงานอะโรเมติกส์แห่งที่ 2
จะทำให้บริษัทสามารถมีความยืดหยุ่นและมีความมั่นคงในการจัดการระบบการผลิตได้มากยิ่งขึ้น

8.แหล่งเงินทุนที่ใช้และผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหุ้น

บริษัทจะจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับการก่อสร้างตามโครงการดังกล่าวข้างต้น   ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระหว่างปี 2548 -
2551 จากเงินทุนหมุนเวียนของกิจการและเงินกู้ยืม    ในการนี้บริษัทจะพิจารณากู้ยืมเงินเพิ่มเติมเพื่อ
ใช้ในโครงการในวงเงินไม่เกิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตามข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้การออกและเสนอขายตราสารหนี้จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ดังนั้นบริษัทจะนำเสนอให้ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2548 พิจารณาอนุมัติการออกตราสารหนี้ในรูปหุ้นกู้สกุลเงินบาท
/ หรือสกุลเงินอื่นที่เทียบเท่าในวงเงินไม่เกิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นดังต่อไปนี้

ประเภท            หุ้นกู้ทุกประเภท ชนิดระบุชื่อผู้ถือหรือไม่ระบุชื่อผู้ถือ ประเภทด้อยสิทธิหรือไม่ด้อยสิทธิ
                  มีประกันหรือไม่มีประกัน มีหรือไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
                  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาวะตลาดในขณะที่ออกและเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละครั้ง
สกุลเงิน/วงเงิน      เสนอขายในสกุลเงินบาท และ/หรือในสกุลเงินอื่นที่เทียบเท่า ภายในวงเงินไม่เกิน 300
                  ล้านเหรียญสหรัฐฯ
อายุ/การไถ่ถอน      ไม่เกิน 15 ปีนับจากวันออกหุ้นกู้
                  โดยสามารถกำหนดให้มีการไถ่ถอนก่อนครบกำหนดอายุของหุ้นกู้หรือไม่ก็ได้
การเสนอขาย        เสนอขายในประเทศ และ/หรือ ต่างประเทศ ให้แก่ประชาชนทั่วไป และ/หรือ
                  ผู้ลงทุนโดยเฉพาะเจาะจง และ/หรือ นักลงทุนประเภทสถาบันทั้งหมดหรือบางส่วน
                  ซึ่งอาจเสนอขายครั้งเดียวเต็มจำนวนเงินหรือเสนอขายเป็นคราวๆ ไป
                  และ/หรืออาจออกและเสนอขายแยกต่างหากหรือควบกันหรือพร้อมกับหลักทรัพย์อื่นใดก็ได้
อัตราดอกเบี้ย        ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาดในขณะที่ออกและเสนอขายหุ้นกู้แต่ละครั้ง
ตลาดรอง           อาจจัดให้มีหรือไม่มีตลาดรองของหุ้นกู้ก็ได้

ทั้งนี้ ข้อเสนอ เงื่อนไขและรายละเอียดในการออกและเสนอขายหุ้นกู้ในแต่ละคราว เช่น มูลค่าที่ตราไว้ต่อหน่วย
สกุลเงินที่ขาย จำนวนหุ้น อายุหุ้นกู้ ประเภทหุ้นกู้ การกำหนดหลักประกันราคาเสนอขายต่อหน่วย อัตราดอกเบี้ย
ระยะเวลาในการชำระดอกเบี้ย รวมถึงการทำนิติกรรมอื่นๆ ที่จำเป็น รวมถึงดำเนินการขออนุญาตจากหน่วยงานหรือ
ราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมาย ให้อยู่ในดุลยพินิจและ อำนาจของคณะกรรมการหรือกรรมการ
ผู้จัดการใหญ่ ที่จะพิจารณากำหนดต่อไปตามความเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับบริษัท

ทั้งนี้หากการกู้ยืมเงินดังกล่าวข้างต้นมีเงื่อนไขใดที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้ถือหุ้นบริษัท อาทิเช่น ภาระดอก
เบี้ยจากการกู้ยืม การดำรงอัตราส่วนทางการเงินที่อาจส่งผลกระทบต่อการจ่ายเงินปันผล เป็นต้น  บริษัทจะ
ดำเนินการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นรับทราบต่อไป

9.การให้ความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้น

เนื่องจากการทำรายการดังกล่าวจัดเป็นรายการประเภทที่ 1 ตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์
แห่งประเทศไทย เรื่อง การเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจำหน่ายไป
ซึ่งสินทรัพย์ พ.ศ.2547    ดังนั้นบริษัทจะต้องนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อการพิจารณาอนุมัติในการ
ตกลงเข้าทำรายการ โดยจะต้องได้รับคะแนนเสียงอนุมัติไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มา
ร่วมประชุมและมีสิทธิออกเสียง โดยไม่นับส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย

ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2548 ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548
ให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าเสนออนุมัติต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญครั้งที่ 1/2548 ในวันที่ 11 เมษายน 2548
ต่อไป

10.ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการตกลงเข้าทำรายการ

คณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัทมีความเห็นว่า
รายการได้มาซึ่งสินทรัพย์ดังกล่าวข้างต้นมีความเหมาะสมต่อภาวะอุตสาหกรรมในปัจจุบันและคาดการณ์อุตสาหกรรม
ในอนาคต เป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและสอดรับกับโอกาสในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ
ซึ่งจะสามารถเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและเป็นประโยชน์ต่อบริษัทโดยรวม  การทำรายการดังกล่าว
จึงมีความสมเหตุสมผล

ทั้งนี้ มิได้มีกรรมการของบริษัทท่านใดมีส่วนได้เสียต่อการทำรายการในครั้งนี้

11.ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบ และ/หรือ กรรมการของบริษัทที่แตกต่างจากความเห็นของคณะกรรมการ
   บริษัท
          -ไม่มี-

12.ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทที่มีต่อสารสนเทศที่ส่งให้ผู้ถือหุ้น

คณะกรรมการบริษัทได้สอบทานข้อมูลในสารสนเทศฉบับนี้แล้ว และด้วยความระมัดระวังในฐานะคณะกรรมการบริษัท
ไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่ถูกต้องครบถ้วน เป็นเท็จ ทำให้ผู้อื่นสำคัญผิดหรือขาดข้อมูลที่ควร
ต้องแจ้งในสาระสำคัญ

13.ความเห็นและคุณสมบัติของผู้เชี่ยวชาญ
      -ไม่มี-

14.ภาระหนี้สิน

ประเภทภาระหนี้สินตามงบการเงินประจำปี 2547 ที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบบัญชี เป็นดังนี้
ประเภทภาระหนี้สิน              จำนวน (ล้านบาท)   ภาระการนำสินทรัพย์มาเป็นหลักประกัน
                                              /หมายเหตุ
1.ยอดรวมตราสารหนี้ที่                9,606.83     ค้ำประกันโดยการจดจำนองเครื่องจักรที่
  ออกจำหน่ายแล้วและติดตั้งในโรงงาน                 อาคารโรงงาน และการโอนสิทธิในสัญญา
  ยังไม่ได้ออกจำหน่ายตามที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้น              เช่าที่ดินที่ทำกับการนิคมอุตสาหกรรมหุ้น
  ได้มีมติไว้                                     แห่งประเทศไทย

2.ยอดรวมของเงินกู้ที่มีกำหนดระยะเวลา   8,132.34     เป็นเงินกู้ด้อยสิทธิจากผู้ถือหุ้น
3.ยอดรวมมูลค่าหนี้สินประเภทอื่น         3,615.87     ค้ำประกันโดยการจดจำนองเครื่องจักร
                                              ที่ติดตั้งในโรงงาน อาคารโรงงาน และ
                                              การโอนสิทธิในสัญญาเช่าที่ดินที่ทำกับ
                                              การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ประเภทภาระหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นภายหน้า ซึ่งเป็นรายการที่ไม่ได้ปรากฏตามงบการเงินประจำปี 2547

ประเภทภาระหนี้สิน               จำนวน            ภาระการนำสินทรัพย์มาเป็นหลักประกัน
                        (ล้านเหรียญสหรัฐ)       /หมายเหตุ
หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นในภายหน้า       300              ตามมติคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 1/2548
                                             ซึ่งต้องได้รับมติอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น.
                                             ในการประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 1/2548 .
                                             ต่อไป
15.ข้อมูลบริษัท
   15.1 ลักษณะการประกอบธุรกิจและแนวโน้มธุรกิจของบริษัท
        ก) ลักษณะการประกอบธุรกิจ
บริษัทประกอบธุรกิจหลักประเภทผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ (Aromatics) ได้แก่ เบนซีน โทลูอีน
พาราไซลีน ออร์โธไซลีน มิกซ์ไซลีนส์ ทั้งนี้สามารถแสดงการนำสารอะโรเมติกส์ไปใช้ประโยชน์
ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ดังนี้

ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคม     ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี       ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี         การนำไปใช้งาน
ขั้นต้น                  ขั้นกลาง              ขั้นปลาย
เบนซีน (Benzene)   สไตรีนโมโนเมอร์         โพลิสไตรีน            กล่องบรรจุผลิตภัณฑ์
                 (Styrene Monomer-SM) (Polystyrene-PS)      อิเล็คทรอนิคส์  ของเล่น.
                                                            เฟอร์นิเจอร์  หมึก  และกาว
                                        อะคริโลไนทริล         -ชิ้นส่วนรถยนต์ กระเป๋า
                                                            ท่อ  และกล่อง
                                      บิวทาไดอีน-สไตรีน        บรรจุชิ้นส่วนอุปกรณ์
                                      (Acrylonitrile-
                                      Butadiene Styrene-ABS)
                                      สไตรีน บิวทาดีน รับเบอร์    ยางรถยนต์ และสายยาง
                                      (Styrene - Butadiene
                                      Rubber)
                ไซโคลเฮกเซน           คาโปรแลคตัม             ไนล่อน
               (Cyclohexane)          (Caprolectum)
               คิวมีน / ฟีนอล            บิสฟีนอล เอ              เม็ดพลาสติกโพลิคาร์บอเนต
               (Cumene / Phenol)      (Bisphenol A)          (Polycarbonate Resin)
พาราไซลีน      กรดเทเรฟทาลิกบริสุทธิ์       โพลิเอสเตอร์          เส้นใยสังเคราะห์เส้นด้าย  ขวด PET
(paraxylene)  (Purified Terephthalic
              Acid - PTA)             (Polyester)         และกล่องบรรจุอาหาร
ออร์โธไซลีน       กรดฟทาริก             สารเคมีสำหรับเสริมสภาพ
(Orthoxylene) (Phthalic Acid - PA)   พลาสติก (Plasticizers) สารเคมีใช้เชื่อมท่อ PVC และ
                                                           ยาฆ่าแมลง
มิกซ์ไซลีนส์                                                   ใช้ในอุตสาหกรรมสี ยาฆ่าแมลง
(Mixed Xylenes)                                            และกาว


สำหรับผลิตภัณฑ์อื่นที่ได้จากกระบวนการผลิต ได้แก่ แนฟทาชนิดเบา แรฟฟิเนท ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
คอนเดนเสทเรซิดิว และสารอะโรเมติกส์หนัก
 
โดยบริษัทมีโครงสร้างรายได้แยกตามผลิตภัณฑ์ดังนี้
ผลิตภัณฑ์           ยอดขาย     ยอดขาย        ปริมาณการผลิต    สัดส่วนการจำหน่ายในปี 2547
                 ปี 2546     ปี 2547         ปี 2547        ในประเทศ       ในต่างประเทศ
                 ล้านบาท  %  ล้านบาท   %     พันตัน/ปี   %     ล้านบาท %     ล้านบาท %
เบนซีน           5,797   6.7  15,222  28.9   437    18.1   4,887  13.2   10,335   68.0
พาราไซลีน        9,211  26.6  13,845  26.3   441    18.3   12,103 32.6    1,743   11.5
ออร์โธไซลีน       1,355  3.9    1,805   3.4    65    2.7   1,112   3.0      693     4.6
โทลูอีน           3,087  8.9      195   0.4    13    0.5     21    0.1      174     1.1
มิกซ์ไซลีนส์        1,170  3.4    2,214   4.2    90     3.7    944   2.5    1,270     8.4
แนฟทาชนิดเบา
/แรฟฟิเนท        5,798  16.7   7,941   15.1   509    21.2  7,941  21.4      -        -
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว 1,880  5.4    2,320    4.4   188    7.8   2,320   6.2      -        -
คอนเดนเสท เรซิดิว 5,606  16.2   7,483   14.9   578    24.0  7,483   20.1      -
สารอะโรเมติกส์หนัก  628   1.8      958    1.8    68    2.8   288     0.8      669     4.4
ซีเก้าเอ (C9A)     120   0.4       -       -    -     -      -      -        -        -
แนฟทาชนิดหนัก*     -     -       353    0.7    20     0.8    44     0.1      309     2.0
รวม            34,652  100   52,336   100    2,407  100  37,143   100   15,193     100

ข) แนวโน้มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์

   สภาพการแข่งขันภายในอุตสาหกรรม

ภาวการณ์ล้นตลาดของเม็ดพลาสติกชนิดต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในภาคอุตสาหกรรมขั้นปลาย
ทำให้ภาวะการแข่งขันภายในประเทศทวีความรุนแรงขึ้น  ดังนั้นผู้ประกอบการจึงหาทางออกด้วยการส่งออกผลิตภัณฑ์
เม็ดพลาสติกเหล่านี้  โดยมีจีนเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดสำหรับเม็ดพลาสติกสำคัญห้าชนิด  ได้แก่ โพลิเอธิลีน
โพลิโพรพิลีน  พีวีซี  โพลิสไตรีน และ ABS/SAN ด้วยเหตุนี้ การที่จีนได้รับการตอบรับเข้าเป็นสมาชิกองค์กร
การค้าโลก (World Trade Organization, WTO) ทำให้จีนต้องลดกำแพงภาษีนำเข้าเม็ดพลาสติกชนิดต่าง ๆ ลง
จึงเป็นผลดีต่อผู้ผลิตในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นปลายในประเทศที่จะใช้โอกาสนี้ขยายกำลังการผลิตเพื่อการส่งออกได้
มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลย้อนกลับมายังผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลางและขั้นต้น  ทำให้คาดว่าภาพรวมของ
อุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทยทั้งระบบจะยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์ราคาวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอะโรเมติกส์

   วัตถุดิบของอุตสาหกรรมอะโรเมติกส์ ได้แก่ คอนเดนเสท แนฟทาและไพโรไลซีสก๊าซโซลีน ราคาเฉลี่ยทั้งปี 2547
ได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2546 ประมาณร้อยละ 32.4, 36.3  และ 67.4 ตามลำดับ เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบใน
ตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 21 ปี  ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยพื้นฐานของตลาด ดังนี้

1.ภาวะเศรษฐกิจโลกในปี 2547 ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ร้อยละ 4.0 จากร้อยละ  2.5 ต่อปี ในปี 2546
2.อุปสงค์น้ำมันเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีการเติบโต โดยเฉพาะในสหรัฐฯ
  จีนและอินเดียอย่างเป็นนัยสำคัญ ประกอบกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีโลกอยู่ในช่วงวัฏจักรขาขึ้น
  และภาวะอากาศที่หนาวเย็นยาวนานช่วงต้นปีในแถบอเมริกาและยุโรป
  ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญผลักดันให้มีความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น
3.อุปทานน้ำมันอยู่ในภาวะตึงตัว จากนโยบายการควบคุมการผลิตของผู้ส่งออกและผลิตน้ำมันกลุ่มโอเปก
  ด้วยเหตุผลความวิตกถึงความการบริโภคน้ำมันในตลาดโลกอาจจะตกลงรุนแรงในช่วงไตรมาส 2
  ของปีนี้หลังผ่านพ้นฤดูหนาว
  รวมถึงมีความพยายามที่จะลดช่องว่างที่มีมากเกินไประหว่างการผลิตเกินโควตาและการผลิตที่แท้จริง
  นอกจากนี้ผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปก ได้แก่บริษัท ยูคอส ของรัสเชีย ประสบปัญหาการเงิน
  ส่งผลต่อการส่งออกน้ำมันหยุดชะงักไป  ประกอบกับปริมาณสำรองน้ำมันดิบของสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ระดับต่ำ
  เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา  อีกทั้งปัญหาจากภูมิอากาศที่แปรปรวนจากพายุเฮอริเคน Ivan มีความรุนแรง
  ส่งผลต่อการผลิตน้ำมันและแหล่งขุดเจาะน้ำมันบริเวณอ่าวเม็กซิโกต้องหยุดไปเป็นเวลานาน
4.ปัจจัยทางจิตวิทยา จากความกังวลต่ออุปทานน้ำมันจะมีไม่พอเพียงกับความต้องการของโลก
  กอปรกับภาวะความตึงเครียดเกี่ยวกับสงครามในตะวันออกกลาง
  รวมทั้งการนัดหยุดงานของประเทศผู้ผลิตน้ำมันกลุ่มโอเปก ได้แก่ ไนจีเรียเวเนซูเอล่า
  เหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ราคาน้ำมันได้รวมค่าความเสี่ยงของการก่อการร้ายและสงคราม (Terrorist / War
  Premium) อยู่ที่ประมาณ 8-12 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล
5.การเข้ามาซื้อเก็งกำไร จากนักลงทุนกลุ่มสถานบัน (Hedge Fund) ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้นมาก
6.เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลงเป็นประวัติการณ์เมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น ๆ

นอกเหนือจากปัจจัยราคาน้ำมันดิบที่ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบอะโรเมติกส์แล้ว ปัจจัยที่เกิดจากอุปสงค์ของแนฟทา
(Naphtha) ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานปิโตรเคมีที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน
เนื่องจากการปรับเพิ่มอัตราการผลิตของโรง Olefins และโรง Aromatics ขณะที่อุปทานแนฟทาตึงตัว
เนื่องจากโรงกลั่นในตะวันออกกลางและเอเชียประสบปัญหาทางด้านเทคนิค จนต้องหยุดซ่อมบำรุง

แนวโน้มราคาวัตถุดิบอุตสาหกรรมอะโรเมติกส์ ได้แก่ คอนเดนเสท แนฟทาและไพโรไลซีสก๊าซโซลีน ในปี  2548
คาดว่าราคาจะอยู่ระดับสูง เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ยังอยู่ในระดับสูง  จากภาวะเศรษฐกิจโลกมี
แนวโน้มมีการขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2547  โดยการคาดการณ์ของ CMAI และ IMF มีความเห็นสอดคล้อง
กันถึงผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของโลกที่จะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.4–4 .0  จากร้อยละ 4.0   ในปี 2547
ดังรายละเอียดต่อไปนี้

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 ราคาวัตถุดิบจะปรับสูงขึ้น ซึ่งจะสัมพันธ์ไปตามราคาน้ำมันดิบที่คาดจะปรับสูง
ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2547 โดยมีปัจจัยดังนี้

1. อุปทานน้ำมันของโลกยังมีแนวโน้มตึงตัว สืบเนื่องจากความไม่แน่นอนของปริมาณการผลิตน้ำมันในตะวันออกกลาง
ทั้งนี้เพราะความขัดแย้งและการก่อการร้ายยังมีความรุนแรงอยู่  และการทดลองอาวุธนิวเครียร์ของอิหร่าน
รวมทั้งความไม่แน่นอนของการผลิตและส่งออกน้ำมันของบริษัทยูคอสในประทศรัสเชีย
2.อุปสงค์น้ำมันเพิ่มขึ้น  จากความต้องการของโลก โดยเฉพาะจากประเทศจีน
ที่ยังคงขาดแคลนพลังงานอย่างเป็นนัยสำคัญ
3.บทบาทจากนักลงทุนกลุ่มสถานบัน (Hedge Fund) คาดว่าจะเข้ามาซื้อเก็งกำไร
ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบมีความผันผวน
4.ค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ยังอ่อนตัวลงต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา
ในช่วงครึ่งหลังปี 2548 คาดว่าราคาวัตถุดิบ จะปรับอ่อนตัวไปตามราคาน้ำมันดิบ โดยมีปัจจัย ดังนี้

1.อุปทานน้ำมันดิบจะมีเพิ่มขึ้น เนื่องจากกลุ่มนอกโอเปก ได้แก่ รัสเซีย เม็กซิโก อัฟริกา และบราซิล
มีแนวโน้มในการปรับอัตราการผลิตน้ำมันและพัฒนาโครงการขุดเจาะน้ำมันจากแหล่งใหม่เพิ่มขึ้น
รวมทั้งอิรักจะกลับมาผลิตน้ำมันได้ปกติคาดว่าจะมี Spare Capacity จะสูงขึ้นจากผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันกลุ่มโอเปก
2.อุปสงค์น้ำมันดิบจะปรับเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล แต่คาดว่าจะมีอุปทานส่วนเกินมากกว่าอุปสงค์
ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกอ่อนตัวลง

                          สถานการณ์ราคาผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์

ในปี 2547 ภาวะเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น จากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก (World GDP)
อยู่ที่ร้อยละ 4.0  จากร้อยละ 2.5 ในปี 2546  ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมปิโตรเคมี ในแต่ละภูมิภาคขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น
ทำให้อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลาย (Downstream) และสารอนุพันธ์ (Derivatives) ของอุตสาหกรรม
นั้น ๆ เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตเคมีทางสายอะโรเมติกส์ พบว่ามีภาวะตลาดอะโรเมติกส์ในปี
2547  มีอุปสงค์เพิ่มขึ้นอย่างเป็นนัยสำคัญดังนี้
- อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์พาราไซลีนในโลกเพิ่มขึ้นจากปี 2546  ประมาณ 1.6 ล้านตัน  คิดเป็นร้อยละ  8.1
- อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์เบนซีนในโลกเพิ่มขึ้นจากปี 2546   ประมาณ1.4 ล้านตัน  คิดเป็น  ร้อยละ 4.1

   ทั้งนี้เนื่องมาจากใน ปี 2547 เศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชียปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาดไว้
ส่งผลให้ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ขั้นปลายของผลิตภัณฑ์เบนซีนและพาราไซลีนเพิ่มสูงขึ้น   อันได้แก่ ผลิตภัณฑ์
อิเล็คทรอนิคส์  ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนรถยนต์ ของเล่น เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์โพลีเอสเตอร์ ไฟเบอร์และ
เรซิน  ส่งผลต่อความต้องการสารอนุพันธ์ขั้นกลางเพิ่มสูงขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ขั้นกลางคือ  SM  และ PTA
มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างเป็นนัยสำคัญ ซึ่งความต้องการ SM ส่วนใหญ่มาจากจีน

   ในขณะที่อุปทานผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์อยู่ภาวะตึงตัวจากปัญหาทางเทคนิคของผู้ผลิตรายใหญ่ในสหรัฐฯ อาทิเช่น
ExxonMobil,  BP,  Shell  รวมทั้งผู้ผลิตรายใหญ่ในยุโรปได้แก่  BP, Shell ประกาศหยุดซ่อมบำรุงฉุกเฉิน
ขณะที่เอเชีย ประเทศญี่ปุ่นได้ประสบปัญหาจาก พายุไต้ฝุ่นและแผ่นดินไหวต้องหยุดผลิตและการนัดหยุดงานของพนักงาน
บริษัท LG Caltex ประเทศเกาหลี ทำให้ตลาดอะโรเมติกส์ตึงตัวส่งผลให้กลุ่ม Trader เข้ามาเก็งกำไรในตลาดจร
ทั้งนี้ในปี 2547 มีอุปทานเพิ่มขึ้นดังนี้
- กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์พาราไซลีนในโลกเพิ่มจากส่วนขยายใหม่ในภูมิภาคเอเซียประมาณ  0.94 ล้านตัน
และภูมิภาคเอเชีย ยังอยู่ภาวะขาดแคลนต่อเนื่องจากปี 2546
- กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์เบนซีนในโลกเพิ่มขึ้นจากส่วนขยายใหม่ในภูมิภาคเอเซีย ประมาณ 0.42 ล้านตัน
ซึ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะยังอยู่ในภาวะขาดแคลนต่อเนื่องจากปี 2546

   ภาวะดังกล่าวประกอบกับราคาต้นทุนวัตถุดิบปรับเพิ่มสูงขึ้นจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้นมาก
เป็นปัจจัยหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยอุปสงค์/อุปทานดังกล่าวข้างต้น  ทำให้ราคาผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ส่วนใหญ่ปรับตัว
เพิ่มสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในปี 2548 คาดว่าจะขยายตัวต่อจากปี 2547 ซึ่งจะสัมพันธ์ไปกับภาวะเศรษฐกิจ
โลกที่แนวโน้มปรับตัวต่อเนื่อง   โดยมีสัญญาณจากการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
ของสหรัฐอเมริกา ยุโรปและในเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีนคาดว่าจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องในลักษณะ
ค่อยเป็นค่อยไป  ส่งผลให้ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ขั้นปลายของผลิตภัณฑ์เบนซีนและพาราไซลีนปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ
อันได้แก่ ผลิตภัณฑ์อิเล็คทรอนิคส์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนรถยนต์ ของเล่น เฟอร์นิเจอร์ และผลิตภัณฑ์โพลี
เอสเตอร์ ไฟเบอร์และเรซิน ส่งผลต่อความต้องการสารอนุพันธ์ขั้นกลางเพิ่มสูงขึ้นตามรายละเอียดดังนี้

1.อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ขั้นปลายของผลิตภัณฑ์เบนซีนและพาราไซลีนเพิ่มสูงขึ้น
สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวต่อเนื่องจากปี 2547
- ในปี 2548 อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์พาราไซลีนในโลกจะเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ประมาณ 1.9     ล้านตัน
  คิดเป็นร้อยละ 8.8
- ในปี 2548 อุปสงค์ของผลิตภัณฑ์เบนซีนในโลกเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ประมาณ 1.3 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 3.7

2.อุปทานผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ จะยังขาดแคลนโดยเฉพาะในไตรมาสที่ 1 และ 2 ปี 2548
  จากแผนการซ่อมบำรุงประจำปีของโรงงานอะโรเมติกส์ ในสหรัฐฯ  ยุโรป และเอเชีย แม้ว่าจะมีส่วนขยายใหม่
  มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในปี 2548 ก็ตาม

   อย่างไรก็ตามในปี 2548 ภาวะตลาดโดยรวมคาดว่าอุปทานจะตึงตัวกว่าปี 2547 จากปริมาณอุปสงค์เพิ่มขึ้น
มากกว่าปริมาณอุปทานที่เพิ่มขึ้น สำหรับกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นได้แก่
- กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์พาราไซลีนในโลกเพิ่มขึ้น 0.9 ล้านตัน หรือร้อยละ 3.6
  มาจากส่วนขยายใหม่ในเอเซียประมาณ 0.6 ล้านตัน  โดยภูมิภาคเอเชียยังอยู่ภาวะขาดแคลนต่อเนื่อง จากปี
  2546
- กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์เบนซีนในโลกเพิ่มขึ้น 0.33 ล้านตันหรือร้อยละ 1.3 มาจากส่วนขยายใหม่ในเอเชียประมาณ
  0.2 ล้านตัน ในปี 2548 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะยังอยู่ในภาวะขาดแคลนต่อเนื่องจากปี 2547
 
   ในปี  2548  ราคาผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้น   และคาดว่าราคาผลิตภัณฑ์
อะโรเมติกส์กำลังอยู่ในช่วงวัฎจักรขาขึ้น และจะปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างเป็นนัยสำคัญหรือเข้าสู่จุดสูงสุดตั้งแต่ปี 2547
เป็นต้นไป ตามที่ปรึกษาหลายสถานบัน เช่น PCI Xylenes & Polyesters Ltd., CMAI  (Chemical Market
Associates Inc.) ได้คาดการณ์ไว้โดยสืบเนื่องจากความต้องการของผลิตภัณฑ์ขั้นปลายและขั้นกลาง
อะโรเมติกส์ขยายตัวสูงกว่ากำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นต้นโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์พาราไซลีน

   ภาวะอุปสงค์/อุปทานของพาราไซลีน

   อุปสงค์หรือความต้องการพาราไซลีนถูกชี้นำโดยสภาวะตลาดของอุตสาหกรรมไฟเบอร์และสิ่งทอ  ในปี 2547
อัตราการขยายตัวของความต้องการพาราไซลีนทั่วโลกในอัตราประมาณร้อยละ  8.1  ต่อปีหรือคิดเป็น 1.6
ล้านตันต่อปี และคาดว่าอัตราการขยายตัวของความต้องการจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 7.4 ต่อปีหรือ 1.74
ล้านตันในระหว่างปี 2547-2550 โดยประเทศที่ผลิตพาราไซลีนเหลือเพื่อการส่งออกรายใหญ่ของโลก  ได้แก่
ประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ตามลำดับ  และมีประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ยุโรป และเม็กซิโก เป็นกลุ่มประเทศผู้นำเข้าสุทธิรายใหญ่

    สำหรับอัตราการขยายตัวของความต้องการพาราไซลีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกช่วงปี 2547
มีการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณร้อยละ 8.8 ต่อปี คิดเป็นประมาณ 1.2 ล้านตันต่อปี
และคาดว่าอัตราการขยายตัวของความต้องการจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1.37 ล้านตันต่อปีหรือคิดเป็นประมาณร้อยละ
8.6 ต่อปี ในช่วงปี 2547-2550

    ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเป็นภูมิภาคที่มีสถานะเป็นผู้นำเข้าพาราไซลีน ประเทศที่นำเข้ารายใหญ่ที่สุด ได้แก่
ประเทศไต้หวัน จีนและอินโดนีเซีย โดยมีปริมาณพาราไซลีนที่ต้องการนำเข้ารวมกันประมาณ 3.8  ล้านตันต่อปี
สำหรับประเทศที่มีสถานะเป็นผู้ส่งออกพาราไซลีนสุทธิรายใหญ่ที่สุดของกลุ่มภูมิภาคเอเชียตะวันออกคือเกาหลีใต้
สิงคโปร์ และไทย ตามลำดับ โดยมีปริมาณพาราไซลีนส่งออกรวมกันประมาณ 1.1 ล้านตันต่อปี
ส่วนปริมาณความต้องการที่ยังขาดอยู่นั้นเป็นการนำเข้าเพิ่มเติมจากประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตพาราไซลีนรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกไกลในปัจจุบัน

          ตารางแสดงยอดดุลของอุปสงค์และอุปทานพาราไซลีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
                                                                  หน่วย : พันตันต่อปี
ประเทศไทย             2546           2547             2548               2549
                      153              88               19               (514)
มาเลเซีย                26              10               85                111
สิงคโปร์                405             711              755                782
อินโดนีเซีย             (859)           (950)            (950)             (758)
ปากีสถาน              (257)           (261)            (267)             (289)
เกาหลี                 325             260              228               439
ไต้หวัน               (1,643)          (1,910)         (1,995)            (1,343)
จีน                   (803)            (932)          (1,213)            (2,234)
อินเดีย                 135              257             376                479
รวมทั้งสิ้น             (2,518)          (2,727)         (2,962)            (3,327)
ญี่ปุ่น                  1,971            1,591           1,864              2,062
รวมทั้งสิ้น(รวมญี่ปุ่น)      (547)           (1,136)         (1,098)            (1,265)

ที่มา        :  PCI   และ บมจ. อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย)
หมายเหตุ  : ตัวเลขที่อยู่ใน ( ) แสดง ถึงปริมาณที่ยังขาดอยู่

ภาพรวมผลิตภัณฑ์พาราไซลีนในประเทศไทย

ในปี 2547 มีผู้ผลิตพาราไซลีนในประเทศไทย 3 รายคือ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
(ATC) บริษัท เอ็กซอน เคมิคัล จำกัด (Exxon) และบริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด (TPX) มีปริมาณพาราไซลีน
ที่ผลิตได้รวมทั้งปีประมาณ 1,087,000 ตัน  จากกำลังการผลิต 1,200,000 ตันต่อปี   ดังรายละเอียดแสดงใน
ตารางต่อไปนี้

                        ตารางแสดงผู้ผลิตพาราไซลีนในปัจจุบันของไทย
ผลิตภัณฑ์                ผู้ผลิต                            กำลังการผลิต  (พันตันต่อปี)
พาราไซลีน              ATC                                      490
                      Exxon                                    420
                      TPX                                      290
รวมทั้งสิ้น                                                      1,200

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลางในปี 2547 ที่มีความต้องการพาราไซลีนเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต
PTA มีอยู่ 2 รายคือ บริษัท ทุนเท็กซ์ ปิโตรเคมิคอล จำกัด (มหาชน) (Tuntex) และบริษัท สยามมิตซุย พีทีเอ
จำกัด (SMPC) โดยมีกำลังการผลิต PTA  ประมาณ 440,000 และ 1,100,000 ตันต่อปีตามลำดับ
คิดเป็นปริมาณความต้องการพาราไซลีน รวมทั้งสิ้นประมาณ 999,000 ตันต่อปี รายละเอียดแสดงในตารางดังต่อไปนี้

     ตารางแสดงกำลังการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลางและความต้องการพาราไซลีน
ผลิตภัณฑ์      ผู้ผลิต      กำลังการผลิต (พันตันต่อปี)     ปริมาณความต้องการพาราไซลีน* (พันตันต่อปี)
PTA       Tuntex           440                             295
          SMPC           1,100 **                          737
รวมทั้งสิ้น                  1,540                           1,032

หมายเหตุ :      *   ปริมาณความต้องการพาราไซลีนคำนวณจากกำลังการผลิต Purified Terephthalic
              Acid (PTA) ข้อมูล วันที่ 29 ธ.ค. 2547
      ** กำลังการผลิตหลังขยายจาก 525,000 ตันต่อปี เป็น 890,000 ตันต่อปี ในไตรมาสที่ 2 ปี 2546
 
            ตารางแสดงอุปสงค์และอุปทานของผลิตภัณฑ์พาราไซลีนในประเทศไทย ปี 2547
                                                                 หน่วย  :  พันตันต่อปี
                             ชื่อผู้ผลิต                                   2547
Supply                       ATC                                       450
                             Exxon                                     356
                             TPX                                       281
          Total Supply                                               1,087
Demand                       Tuntex                                    286

                             SMPC                                      713
          Total Demand                                                 999
          Balance                                                       88


ภาวะอุปสงค์/อุปทานของเบนซีน

อุปสงค์หรือความต้องการเบนซีนถูกชี้นำโดยอุตสาหกรรมสไตรีนโมโนเมอร์ และไซโคเฮกเซน
ซึ่งนำไปใช้ในการผลิตโพลิสไตรีน เอบีเอส และเอสบีอาร์ อีกต่อหนึ่งโดยสารดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ใน
อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์

ในปี 2547 ภาวะเศรษฐกิจโลกขยายตัวดีขึ้นอย่างเป็นนัย ส่งผลต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์  รถยนต์
และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้น ทำให้ความต้องการสารอนุพันธ์ (Derivatives)
ที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่ที่ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์และอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ปรับตัวดีขึ้น
ได้ส่งผลต่ออัตราการขยายตัวของความต้องการเบนซีนโลกในปี 2547 เพิ่มสูงขึ้น

อัตราการขยายตัวของความต้องการเบนซีนทั่วโลกในช่วงปี 2547 อยู่ในอัตราร้อยละ 4.1 ต่อปี หรือคิดเป็น 1.4
ล้านต้นต่อปี  เมื่อเทียบกับปี 2546  และคาดว่าในช่วงปี 2547-2550 จะมีการขยายตัวเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ
ร้อยละ 4.3 ต่อปี หรือคิดเป็น 1.6 ล้านตันต่อปี โดยประเทศที่ผลิตเบนซีนเหลือเพื่อส่งออกรายใหญ่ ได้แก่
กลุ่มประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกคือ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ และตะวันออกกลาง ตามลำดับ
และมีประเทศในภูมิภาคอเมริกาเหนือ และยุโรปตะวันตก เป็นกลุ่มประเทศผู้นำเข้าสุทธิรายใหญ่ตามลำดับ

อัตราการขยายตัวของความต้องการเบนซีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกในช่วงปี 2547 โดยเฉลี่ยขยายตัว
เพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 4.6 ต่อปี หรือคิดเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้นประมาณ 0.6  ล้านตันต่อปี คาดว่าในช่วงปี 2547-
2550 จะมีความต้องการเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 3.5 ต่อปีหรือคิดเป็นปริมาณที่เพิ่มขึ้น 0.48 ล้านตันต่อปี

ในปี 2547 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเป็นภูมิภาคที่มีสถานะเป็นผู้นำเข้าเบนซีนสุทธิโดยมีประเทศที่นำเข้าคือ สิงคโปร์
อินโดนีเชีย และไต้หวัน ปริมาณเบนซีนที่ต้องการนำเข้ารวมกันประมาณ 0.73 ล้านตัน สำหรับประเทศที่มี
สถานะเป็นผู้ส่งออกเบนซีนสุทธิรายใหญ่ที่สุดของกลุ่มภูมิภาคเอเชียคือ ประเทศญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ และไทย โดยมี
เบนซีนเหลือเพื่อส่งออกรวมกันปริมาณประมาณ 0.88 ล้านตัน   โดยปริมาณที่เกินความต้องการในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกจะส่งไปยังกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตก
 
              ตารางแสดงยอดดุลของอุปสงค์และอุปทานเบนซีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออก
ประเทศไทย        2546               2547                2548                2549
                 197                 256                362                 217
มาเลเซีย           34                 34                  34                  33
สิงคโปร์           (263)              (283)               (303)               (322)
อินโดนีเซีย         (232)              (238)               (244)               (178)
ฟิลิปปินส์            (3)                (3)                (4)                  (5)
ปากีสถาน           (4)                (4)                (4)                  (4)
เกาหลีใต้           240                323                407                  490
ไต้หวัน            (212)              (214)               (215)               (217)
จีน                85                (14)                (113)               (211)
อินเดีย             65                (15)                 (95)               (175)
รวมทั้งสิ้น           (93)              (157)               (174)               (371)
ญี่ปุ่น               296                288                 280                271
รวมทั้งสิ้น(รวมญี่ปุ่น)   203                131                 106               (100)

ที่มา        :      SRI : January 2003 และบริษัทฯ
หมายเหตุ      :      ตัวเลขที่อยู่ใน ( ) แสดงถึงปริมาณที่ยังขาดอยู่

ผู้ผลิตเบนซีนในปัจจุบันของไทยมี 3 ราย ได้แก่ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) บริษัท
อุตสาหกรรม ปิโตรเคมิคัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) และบริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด (ROC)
โดยมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 725,000 ตันต่อปี รายละเอียดแสดงได้ตามตารางดังต่อไปนี้
 
                       ตารางแสดงผู้ผลิตเบนซีนในปัจจุบันของไทย

ผลิตภัณฑ์                   ผู้ผลิต                                 กำลังการผลิต (พันตันต่อปี)
เบนซีน                     ATC                                         455
                          TPI                                         110
                          ROC                                         160
รวมทั้งสิ้น                                                               725

 
ประเทศไทยมีโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลางที่มีความต้องการเบนซีนเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสไตรีน
โมโนเมอร์ (Styrene Monomer) อยู่ 2 รายคือ บริษัท สยามสไตรีนโมโนเมอร์ จำกัด (SSMC) และ บริษัท
อุตสาหกรรมปิโตรเคมิคัลไทย จำกัด (มหาชน) (TPI) ซึ่งมีกำลังการผลิต 300,000 และ 200,000
ตันต่อปีตามลำดับ คิดเป็นปริมาณความต้องการเบนซีนรวมทั้งสิ้นประมาณ 400,000 ตันต่อปี
รายละเอียดแสดงในตารางดังต่อไปนี้

     ตารางแสดงกำลังการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลางและความต้องการเบนซีน
ผลิตภัณฑ์             ผู้ผลิต       กำลังการผลิต(พันตันต่อปี)    ปริมาณความต้องการเบนซีน(พันตันต่อปี)
SM                 SSMC               300                      240
                   TPI                200                      160
รวมทั้งสิ้น                               500                      400

สภาวะตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์เบนซีนภายในประเทศในปี 2547 พบว่าปริมาณอุปทานจะมีสูงกว่าปริมาณอุปสงค์เป็นผลให้
ประเทศไทยมีเบนซีนเหลือ ซึ่งต้องส่งออกในปริมาณประมาณ 256,000 ตันต่อปีจำหน่ายยังประเทศในกลุ่ม
ภูมิภาคเอเชียที่ยังขาดผลิตภัณฑ์เบนซีนอยู่ ได้แก่ ประเทศสิงค์โปร์ มาเลเซีย  อินโดนีเซีย จีน และไต้หวัน เป็นต้น

          ตารางแสดงอุปสงค์และอุปทานของผลิตภัณฑ์เบนซีนในประเทศไทยปี 2547
                                                               หน่วย  :  พันตันต่อปี
                   ชื่อผู้ผลิต                                          2547
Supply               ATC                                           385
                     TPI                                            99
                     ROC                                           144
               Total Supply                                        628
Demand               SSMC                                          228
                     TPI                                           144
            Total Demand                                           372
               Balance                                             256
ค) โครงการในอนาคต
ในปี 2547 ที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ดำเนินการเชื่อมต่อโครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์พร้อมกับการซ่อม
บำรุงโรงงานประจำปีในช่วงเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2547 โดยหลังการเชื่อมต่อแล้วเสร็จ บริษัทฯ
สามารถผลิตพาราไซลีน และเบนซีน ได้เพิ่มขึ้นเป็น 495,000 และ 467,000 ตันต่อปีตามลำดับ
สอดรับการวัฎจักรปิโตรเคมีขาขึ้นที่เริ่มตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา ทั้งนี้คาดว่าวัฎจักรปิโตรเคมีจะยังคงอยู่ใน
ภาวะสูงต่อไปในช่วงปี 2548 - 2549

                  ตารางแสดงปริมาณการผลิตของบริษัทฯ หลังขยายกำลังการผลิต
                                                               หน่วย : พันเมตริกตันต่อปี
ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์     กำลังการผลิตเดิม   หลังโครงการขยายกำลังการผลิต   หลังโครงการเพิ่ม
                                     ในปี 2546                  มูลค่าผลิตภัณฑ์ในปี 2547*
เบนซีน                    200              333                           467
โทลูอีน                     52              140                             0
พาราไซลีน                 322              394                           495
ออร์โธไซลีน                 29               44                            78
มิกซ์ไชลีนส์                  15               61                            58
รวมผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์       618              972                         1,098

หมายเหตุ      * ข้อมูลจากการประมาณการเบื้องต้นโดยบริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

นอกจากโครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แล้ว ตั้งแต่เดือนกันยายน 2547 บริษัท ได้เริ่มงานก่อสร้างโครงการใหม่ 2
โครงการ ซึ่งมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น 20 เดือน และมีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จใน
ไตรมาสที่ 2 ปี 2549 (ค.ศ.2006) ได้แก่
- โครงการผลิตสาร Cyclohexane ขนาดกำลังการผลิต 150,000 ตันต่อปี
  โดยบริษัทมีแผนจะจำหน่ายในประเทศประมาณ 60%ของกำลังการผลิต
  ส่วนที่เหลือจะส่งออกไปยังประเทศจีนและไต้หวัน
- โครงการปรับปรุงหน่วยกลั่นแยกวัตถุดิบคอนเดนเสท
  ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถใช้คอนเดนเสทเป็นวัตถุดิบได้เพิ่มขึ้นจาก 50,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 70,000
  บาร์เรลต่อวัน

ณ สิ้นปี 2547 มีความก้าวหน้าโครงการทั้งสองรวมประมาณร้อยละ 12

นอกจากนี้บริษัทยังได้ร่วมลงทุนกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ("PTT")  บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด
(มหาชน) ("NPC") และ บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด (มหาชน) ("TOC") ในสัดส่วน 20% (PTT 40% NPC 20%
และ TOC 20%) เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุน ดังนี้

- บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด (PPCL) เพื่อผลิตสาร Phenol ที่กำลังการผลิตประมาณ 200,000 ตัน  ต่อปี โดย
  Phenol ที่ผลิตได้จะใช้เป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานผลิต Bis Phenol A ในประเทศ
  ทั้งนี้คาดว่าโครงการจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ และเริ่มการผลิตได้ในไตรมาส 2 ปี 2550 (ค.ศ.2007)
- บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด (PTTUT) ซึ่งเป็นโครงการผลิตสาธารณูปโภคส่วนกลาง
  เพื่อรองรับความต้องการใช้สาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า และไอน้ำ ของโครงการขั้นต่อเนื่องต่าง ๆ
  ในกลุ่มบริษัทในเครือ ปตท. คาดว่าโครงการจะแล้วเสร็จ ปี 2549 (ค.ศ. 2006)


15.2 สรุปฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และปัจจัยความเสี่ยง

ก) สรุปงบการเงิน 3 ปีที่ผ่านมา

(หน่วย : ล้านบาท)              2547                2546                2545

สินทรัพย์รวม                   38,817             36,222               33,829
หนี้สินรวม                     21,355             28,391               29,264
ส่วนของผู้ถือหุ้น                 17,462              7,831                4,565
จำนวนหุ้น (หุ้น)           962,370,600        958,000,000          958,000,000
มูลค่าหุ้น (บาท)                 1                   10                 10
มูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น (บาท)        18.14               8.17                 4.76
รายได้จากการขายสุทธิ          52,336              34,652              21,998
กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและ
ค่าใช้จ่ายทางการเงิน           10,941               5,107                 978
กำไรสุทธิ                    10,342               4,004               (207)
กำไรต่อหุ้น (บาท)             10.76                4.18               (0.22)

ข) ฐานะทางการเงินภาพรวมผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2547

ผลการดำเนินงานของบริษัทประจำปี 2547 เพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปี 2546 โดยปี 2547 มีกำไรสุทธิ 10,342
ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2546 จำนวน 6,338 ล้านบาท ซึ่งมีกำไรสุทธิ 4,004 ล้านบาท
ผลการดำเนินงานที่เติบโตเกิดจาก

ส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ (Product to Feed Margin) เพิ่มขึ้นจาก 7,812 ล้านบาท เป็น 14,797
ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 89 เป็นผลมาจากราคาขายเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้นจาก 353 เหรียญสหรัฐฯ
ต่อตันในปี 2546 เป็น 535 เหรียญสหรัฐฯต่อตันในปี 2547 หรือร้อยละ 52 และมีส่วนต่างระหว่างราคา
ผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ (Product to Feed Margin) เพิ่มขึ้นจาก 95 เหรียญสหรัฐฯต่อตันในปี 2546 เป็น 179
เหรียญสหรัฐฯต่อตันในปี 2547 หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นจำนวน 6,985 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 89
โดยส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นมากเป็นส่วนต่างระหว่างเบนซินกับคอนเดนเสทเพิ่มขึ้นจาก 197 เหรียญสหรัฐฯต่อตันในปี 2546
เป็น 533 เหรียญสหรัฐฯต่อตันในปี 2547 ขณะที่พาราไซลีนเพิ่มขึ้นแต่น้อยกว่า โดยส่วนต่างของพาราไซลีน
กับคอนเดนเสทเพิ่มขึ้นจาก 324 เหรียญสหรัฐฯต่อตันในปี 2546 เป็น 446 เหรียญสหรัฐฯต่อตันในปี 2547
ประกอบกับความสำเร็จของโครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ในช่วงต้นปี 2547 ทำให้บริษัทมีปริมาณเบนซิน
และพาราไซลีนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 25 ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2547เป็นต้นมา ทั้งนี้ ราคาเบนซินที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2547 สาเหตุหลักมาจากอุปสงค์ของผลิตภัณฑ์ขั้นปลายที่  เพิ่มขึ้นอย่างเป็นนัยสำคัญโดยเฉพาะ
ตลาดในประเทศจีน ขณะที่อุปทานในภูมิภาคเอเชียตึงตัวมากกว่าปี 2546 เพราะมีโรงงานอะโรเมติกส์ใน
สหรัฐและเอเชียประสบปัญหาทำให้ต้องหยุดการผลิตกะทันหัน ประกอบกับวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตเบนซินคือ รีฟอร์เมท
มีราคาสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ และมีแนวโน้มขาดแคลนจากการนำไปใช้ผลิตเป็นน้ำมันก๊าซโซลีน
มากกว่านำมาผลิตในสายปิโตรเคมี

ค) ผลการดำเนินงาน  สรุปการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทสำหรับปีสิ้นสุด 31
   ธันวาคม 2547

(1) เงินสดและเงินฝากธนาคาร :  ณ สิ้นปี 2547 มียอดคงเหลือ 1,632 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2546 จำนวน
135 ล้านบาท เป็นผลจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ดีขึ้น
โดยบริษัทได้สำรองไว้เพื่อการชำระหนี้ตามข้อกำหนดสิทธิของหุ้นกู้ (บริษัทมีภาระที่ต้องชำระคืนหนี้หุ้นกู้ในเดือนมิถุนายน
2548 จำนวน 1,352 ล้านบาท)
(2) ลูกหนี้การค้า : ลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้น ตามยอดขายที่เพิ่มขึ้น โดยทั้งนี้ไม่มีรายการลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้
(3) เงินลงทุนระยะยาว : เงินลงทุนระยะยาวเพิ่มขึ้น 219 ล้านบาท เป็นเงินลงทุนในบริษัท พีทีที ยูทิลิตี้ จำกัด
119.88 ล้านบาท และบริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด 99.48 ล้านบาท
(4) ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ : ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ลดลง 967 ล้านบาท ลดลงจากการตัดค่าเสื่อมราคา
โรงงานปกติ 1,132 ล้านบาท ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินในส่วนที่ตีราคาเพิ่ม 755 ล้านบาท แต่มีการเพิ่มขึ้นของ
โครงการ Debottlenecking ระยะที่ 2 จำนวน 230 ล้านบาท งานออกแบบและเตรียมการโครงการ
Aromatics II จำนวน 260 ล้านบาท โครงการ Feed Fractionation Revamp and Cyclohexene จำนวน
167 ล้านบาท และจัดซื้อ Catalyst และอื่นๆจำนวนรวม 263 ล้านบาท
(5) เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน : เงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงินลดลง 3,379 ล้านบาท
เนื่องจากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ทำให้สภาพคล่องทางการเงินดีขึ้นมาก
(6) เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่นๆ : เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่นๆลดลง 1,549 ล้านบาท
มีรายการหลักจากการลดลงของเจ้าหนี้ค่าวัตถุดิบ เจ้าหนี้งานก่อสร้างโครงการขยายกำลังการผลิตระยะที่ 1
และเจ้าหนี้อื่นๆ
(7) หุ้นกู้ (รวมส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี) : หุ้นกู้ (รวมส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี) ลดลง 2,393
ล้านบาท จากการจ่ายชำระคืนเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2547 และ 24 ธันวาคม 2547
(8) ส่วนของผู้ถือหุ้น : ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 บริษัทมีส่วนของผู้ถือหุ้น 17,462 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9,631
ล้านบาท จาก ณ สิ้นปี 2546 ที่มีจำนวน 7,831 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจาก

-  กำไรสุทธิของปี 2547                           10,342     ล้านบาท
-  รับชำระค่าหุ้นเพิ่มทุน ESOP                          44      ล้านบาท
-  ค่าเสื่อมราคาส่วนเกินทุนจากการตีราคาทรัพย์สิน         (755)     ล้านบาท
                               เพิ่มขึ้น           9,631     ล้านบาท

ณ สิ้นปี 2547 บริษัทมีกำไรสะสม 5,798 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18,996 ล้านบาท จากยอดขาดทุนสะสม ณ สิ้นปี 2546
ที่มีจำนวน 13,198 ล้านบาท ทั้งนี้เป็นผลจากกำไรของปี 2547 จำนวน 10,342 ล้านบาท และเป็นการโอนย้าย
จากทุนจดทะเบียนด้วยการลดทุนอีกจำนวน 8,654 ล้านบาท โดยลดราคาตราไว้จาก 10 บาทต่อหุ้นเหลือ 1 บาทต่อหุ้น
เมื่อไตรมาส 1 ปี 2547

บริษัทได้จัดสรรกำไรประจำปีเป็นสำรองตามกฎหมายจำนวน 289,921,333 บาท ในอัตราร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิ
ประจำปีหักยอดขาดทุนสะสมคงเหลือหลังลดทุน

(9)  ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายทางการเงิน : ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายทางการเงินลดลง 255 ล้านบาท
เป็นผลจากยอดเงินต้นที่ลดลงจากการชำระคืน การเบิกใช้เงินทุนหมุนเวียนลดลง และอัตราดอกเบี้ยเงินทุนหมุนเวียน
ที่ลดลง โดยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้งปีลดลงจากร้อยละ 3.78 ในปี 2546 เหลือร้อยละ 2.65 ในปี 2547

(10) งบกระแสเงินสด  : สำหรับงวดปี 2547 บริษัทมีกระแสเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้นสุทธิจำนวน
135 ล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2546 โดยแยกเป็นกระแสเงินสดแต่ละกิจกรรมดังนี้

(10.1) กระแสเงินสดรับจากการดำเนินงานจำนวน 7,795 ล้านบาท  ประกอบด้วยกำไรสุทธิปี 2547 จำนวน
10,342 ล้านบาท มีรายจ่ายที่ไม่ใช่เงินสดในรูปค่าเสื่อมราคา และดอกเบี้ยค้างจ่ายและรายจ่ายอื่นๆ 1,211
ล้านบาท และ 714 ล้านบาทตามลำดับ มีการเพิ่มขึ้นของลูกหนี้การค้า 2,610 ล้านบาท สินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น 435
ล้านบาท และจ่ายเจ้าหนี้การค้า 1,427 ล้านบาท ส่งผลให้มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานก่อนจ่ายดอกเบี้ยจ่ายเป็น
7,795 ล้านบาท

(10.2) กระแสเงินสดจ่ายเพื่อการลงทุนจำนวน 1,198 ล้านบาท เป็นการออกแบบและเตรียมงานในโครงการ
Aromatics II จำนวน 250 ล้านบาท ค่า Royalty สำหรับ Debott I และ Debott II จำนวนรวม 218
ล้านบาท ซื้อ Catalyst จำนวน 308 ล้านบาท เงินลงทุนในโครงการ PTT Utilities 120 ล้านบาท
ในโครงการ PTT Phenol 100 ล้านบาท และซื้อสินทรัพย์ถาวรอื่นอีก 202 ล้านบาท

(10.3) กระแสเงินสดจ่ายเพื่อการลงทุนงานขยายกำลังการผลิตระยะที่ 2 จำนวน 309 ล้านบาท

(10.4)กระแสเงินสดจ่ายในกิจกรรมจัดหาเงิน 5,730 ล้านบาท เป็นการจ่ายคืนเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น 3,381
ล้านบาท จ่ายคืนหุ้นกู้ 2,393 ล้านบาท แต่มีการเพิ่มขึ้นของส่วนเกินทุน 44 ล้านบาทจากการรับชำระค่าหุ้นเพิ่มทุน
 
ง)      ปัจจัยความเสี่ยง

ปัจจัยความเสี่ยงเกี่ยวกับการตลาด

-ความเสี่ยงทางด้านการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์  :
 เพื่อป้องกันความเสี่ยงทางการตลาดที่อาจเกิดขึ้นจากการแข่งขันในอนาคต
 บริษัทจึงได้ทำสัญญาขายผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์แบบ "Take or Pay" กับ ปตท.
 โดยสาระสำคัญในสัญญาจะระบุถึงปริมาณขั้นต่ำร้อยละประมาณ 80 ของปริมาณในสัญญาที่ทาง ปตท. จะต้องรับซื้อ
 นอกจากนี้ในกรณีที่บริษัทสูญเสียรายได้โดยมีสาเหตุมาจาก ปตท. รับซื้อผลิตภัณฑ์ต่ำกว่ามูลค่าที่ตกลงไว้ในสัญญา ปตท.
 จะต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับบริษัทและหากผู้รับซื้อผลิตภัณฑ์ต่อจาก ปตท. ไม่ปฏิบัติตามสัญญา  ปตท.
 จะแก้ไขปัญหาโดยการหาผู้รับซื้อรายใหม่หรือรับซื้อผลิตภัณฑ์ส่วนนั้นไป
-ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ :
 เมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาผลิตภัณฑ์ คือ ต้นทุนการผลิต
 พบว่าต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีประมาณ 60% - 70% เป็นต้นทุนวัตถุดิบ
 นั่นคือหากราคาวัตถุดิบสูงขึ้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและส่งผลต่อราคา   ผลิตภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย
 ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์จะปรับตัวไปในทิศทางเดียวกัน
 จึงไม่ส่งผลกระทบต่อกำไรขั้นต้นของบริษัทมากนัก
 นอกจากนี้บริษัทยังได้พยายามลดต้นทุนการผลิตของบริษัทลงอย่างต่อเนื่อง
 ด้วยการขยายกำลังการผลิตของโรงงานให้ได้ระดับ Economies of Scale
 ส่งผลให้บริษัทมีต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลงและมีความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก
 
อนึ่งการออกแบบและพัฒนากระบวนการผลิตของบริษัทให้สามารถเลือกใช้วัตถุดิบได้ หลากหลายก็เป็นอีก
ปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยลดผลกระทบด้านราคาได้ กล่าวคือบริษัทมีทางเลือกในการใช้วัตถุดิบที่มีราคาที่เหมาะสม
ตามสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป

ปัจจัยความเสี่ยงด้านการผลิต

- ความเสี่ยงจากการต้องหยุดการผลิต : บริษัทได้นำระบบ Advance Process Control (APC)
มาใช้ควบคุมสภาวะการผลิตให้แม่นยำและมีความเสถียรยิ่งขึ้น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
และลดความเสี่ยงจากปัญหาขัดข้องจนต้องหยุดการผลิต รวมถึงใช้นโยบายเชิงป้องกัน ในการบำรุงรักษาเครื่องจักร
ที่ใช้ในการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2547 มี Equipment Reliability เฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 98
อย่างไรก็ตามหากโรงงานมีปัญหาขัดข้องจนต้องหยุดการผลิต บริษัทได้จัดทำประกันภัย
ครอบคลุมถึงทรัพย์สินโรงงานและผลประกอบการที่ขาดหายไปไว้แล้ว

- ความเสี่ยงจากการจัดหาและขนส่งวัตถุดิบ : เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการขาดแคลนวัตถุดิบ บริษัทฯ
ได้ทำสัญญาซื้อคอนเดนเสทระยะยาว (15 ปี) กับ ปตท. ซึ่งคอนเดนเสทดังกล่าวมีแหล่งผลิตในอ่าวไทย
จึงมีความแน่นอนในการจัดหาสูง และสามารถขนส่งมายังถังเก็บวัตถุดิบของบริษัทได้โดยใช้เวลาเพียง 1 วัน
นอกจากนี้บริษัทยังได้จัดเตรียมถังเก็บวัตถุดิบ ซึ่งสามารถสำรองวัตถุดิบได้นานถึง 20 วัน  ซึ่งเป็นการ
ป้องกันความเสี่ยงหากเกิดปัญหากับการขนส่งทางเรือ  อย่างไรก็ตามหาก ปตท. ไม่สามารถจัดหาคอนเดนเสท
ให้ได้ตามสัญญาข้างต้น ทาง ปตท. ก็รับประกันที่จะช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการจัดหาคอนเดนเสท
ในตลาดจรจากแหล่งใกล้เคียงให้ เช่น  จากประเทศพม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย เป็นต้น
อนึ่งการที่โรงงานของบริษัทมีความยืดหยุ่นในการเลือกใช้วัตถุดิบได้หลากหลาย
บริษัทจึงได้ทำสัญญาซื้อวัตถุดิบระยะยาวสำหรับวัตถุดิบชนิดอื่นจากแหล่งผลิตในประเทศไว้ด้วย ได้แก่
สัญญาจัดหาแนฟทากับ ปตท. สัญญาจัดหาวัตถุดิบไพโรไลซิสก๊าซโซลีนกับบริษัทไทยโอเลฟินส์ จำกัด (มหาชน)
และสัญญาจัดหาวัตถุดิบรีฟอร์เมทกับบริษัทอัลลายแอนซ์ รีไฟร์นิ่ง จำกัด

- ปัจจัยความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี : บริษัทใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศซึ่งมีการพัฒนาและปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา
เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้สามารถแข่งขันกับผู้ผลิตรายอื่นได้
โดยเทคโนโลยีที่บริษัทเลือกใช้ยกเว้นส่วนของหน่วยกำจัดสารปรอท (Mercury Removal Unit) จะมาจากบริษัท
UOP ซึ่งเป็นผู้นำในการให้ลิขสิทธิ์สำหรับกระบวนการในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีรวมถึงกระบวนการผลิตสารอะโรเมติกส์
ส่วนเทคโนโลยีสำหรับหน่วยกำจัดสารปรอทเป็นเทคโนโลยีของ Institute Francais du Petrole (IFP)
ซึ่งเป็นองค์กรที่รัฐบาลฝรั่งเศสก่อตั้งขึ้นเพื่อรับผิดชอบในการวิจัยและพัฒนาในเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมน้ำมัน  แก๊ส
และรถยนต์

- ปัจจัยความเสี่ยงจากการหยุดเดินเครื่องชั่วคราวของโรงงานลูกค้า :
ก่อให้เกิดอุปสรรคในการเดินเครื่องผลิตและเกิดความเสียหายต่อบริษัทได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว
บริษัทได้ทำถังเก็บผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เบนซีนและพาราไซลีนสามารถสำรองได้ประมาณ 21 วัน
แต่หากเกิดปัญหาก็สามารถจัดหาถังเก็บเพิ่มเติมได้

- ปัจจัยความเสี่ยงด้านแหล่งพลังงานไฟฟ้า:
เนื่องจากหน่วยผลิตของบริษัทจะต้องเดินเครื่องอยู่ตลอดเวลาจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ไฟฟ้าที่มีเสถียรภาพ
(Reliability) ในการส่งค่อนข้างสูง บริษัทจึงได้ทำสัญญารับซื้อกระแสไฟฟ้าจาก บมจ. โกลว์ เอสพีพี หรือ Glow
(ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น บมจ. โกลว์ พลังงาน ตั้งแต่ 9 ก.พ. 48)

ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในการผลิตไฟฟ้าป้อนให้โรงงานอุตสาหกรรมในนิคมมาบตาพุด นอกจากนี้สัญญาที่บริษัททำกับ Glow
ยังได้ระบุการรับประกันเสถียรภาพในการจัดหาไว้สูงถึง 99.7% อีกทั้งยังมีระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าแบบ 2 สายส่ง
(มีระบบเสริมจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิต หรือ EGAT ในกรณีฉุกเฉิน) โดย Glow เป็นผู้จัดการให้ทั้งหมด
จึงทำให้บริษัทมีแหล่งไฟฟ้าถึง 2 แห่ง ซึ่งเป็นการช่วยลดความเสี่ยงด้านแหล่งพลังงานไฟฟ้าได้

ปัจจัยความเสี่ยงด้านการเงิน

- ความเสี่ยงจากสภาพคล่องทางการเงิน : นับแต่ปี 2546 สภาพเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวอย่าง ต่อเนื่อง ทำให้บริษัท
มีผลกำไรประมาณ 4 พันล้านบาท สำหรับใน ปี 2547 อัตราผลกำไรของบริษัทอยู่ในอัตราก้าวกระโดดจากปี 2546
อย่างมาก  โดยมีสาเหตุจากบริษัทได้ดำเนินโครงการขยายกำลังการผลิตระยะที่ 2 (Debottlenecking Project
State II) เสร็จตั้งแต่ปลายไตรมาสที่ 1 ปี 2547 ทำให้บริษัทสามารถผลิตผลิตภัณฑ์พาราไซลีนและเบนซีน
ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้ มูลค่าสูงสุดเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ปรับสูงขึ้นตามวัฏจักรขาขึ้น
โดยคาดว่าจะปรับขึ้นสูงสุด ในช่วงปี 2548 ถึง 2550 เป็นผลให้บริษัทมีผลกำไรในปี 2547 อยู่ที่ระดับสูงถึง 1
หมื่นล้านบาท  และมีกระแสเงินสด จากการดำเนินงานคงเหลือเป็นจำนวนมาก ทำให้ ณ สิ้นปี 2547
บริษัทสามารถจ่ายคืนหนี้เงินทุนหมุนเวียนซึ่งมีอยู่ ณ ต้นปี 2547 จำนวน  3.3 พันล้านบาทได้หมด
และมีเงินสดคงเหลือนำไปลงทุนระยะสั้นอีกจำนวนกว่า 1.5 พันล้านบาท ด้วยปัจจัยการมีเงินลงทุนระยะสั้น
จำนวนมากดังกล่าว และแนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงปี 2548 ถึง 2550 ที่ยังคงสูงไม่น้อยกว่าปี 2547
ซึ่งจะทำให้บริษัทมีเงินสดคงเหลือเป็นจำนวนมาก ดังนั้น บริษัทจึงไม่มี ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงิน

-ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย : ณ สิ้นปี 2547 ภาระหนี้เงินกู้ยืมของบริษัทคงเหลือเพียงหนี้เงินกู้ยืมระยะยาวซึ่ง
มีจำนวนประมาณ 17,270 ล้านบาท โดยประกอบด้วยหนี้หุ้นกู้จำนวนประมาณ 9,600  ล้านบาทหรือคิด
เป็นสัดส่วนร้อยละ  56  ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ในระดับต่ำมากที่เฉลี่ยประมาณร้อยละ 3.25 ต่อปี ส่วนหนี้เงินกู้
อีกส่วนเป็นหนี้เงินกู้ด้อยสิทธิ์จากผู้ถือหุ้น ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่อัตรา เอ็ม แอล อาร์ ลบร้อยละ 2 ต่อปี
(เริ่มตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นไปจากเดิมมีอัตราคงที่) จากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่าจะปรับขึ้น ทำให้บริษัทมี
ความเสี่ยงอยู่บ้างจากเงินกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยลอยตัว แต่อย่างไรก็ดี ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทได้รับในอัตราเอ็ม แอล
อาร์ ลบร้อยละ 2 ต่อปีข้างต้น และสภาพคล่องในตลาดเงินที่ยังคงมีสูงมาก ทำให้คาดว่าอัตรา
ดอกเบี้ยจะทยอยปรับขึ้นอย่างช้าๆ ไม่เกินร้อยละ 1 ต่อปี ณ สิ้นปี 2548  ทำให้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่บริษัท
ได้รับในระหว่างปียังคงอยู่ในระดับต่ำ และยังไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว

-ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน  : เนื่องจากรายได้และต้นทุนของบริษัทส่วนใหญ่อยู่ในรูปสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ
อันเป็นผลให้ส่วนต่างระหว่างรายได้และต้นทุนวัตถุดิบของบริษัทอิงกับเงินเหรียญสหรัฐฯ ดังนั้น การที่บริษัทได้ออก
หุ้นกู้ชนิดทยอยชำระคืนสกุลเงินบาทในวงเงิน 12,000 ล้านบาท อายุ 5 - 7 ปี เป็นผลให้บริษัทอาจมีความเสี่ยง
ในการชำระคืนเนื่องจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต อย่างไรก็ตามบริษัทได้ดำเนินการ
ลดผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนดังกล่าว โดยการใช้เครื่องมืออนุพันธ์ทางการเงิน (Derivative Instruments)
เช่น การทำสัญญา Cross Currency Swap โดยแปลงหนี้หุ้นกู้จากสกุลเงินบาทเป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ จำนวน 225
ล้านเหรียญสหรัฐฯ  การทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า  เป็นต้น

ปัจจัยความเสี่ยงด้านอื่น

- ความเสี่ยงจากนโยบายของรัฐบาล: นโยบายการเปิดเสรีของรัฐบาล ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2538
  อาจทำให้บริษัทมีโอกาสที่จะมีคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมนี้มากขึ้น   อย่างไรก็ตามผลกระทบจากความเสี่ยงนี้จะมี
ผลน้อยต่อบริษัท  เนื่องมาจากโครงการอะโรเมติกส์เป็นโครงการที่ ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นอกจากนี้ยังมีต้นทุน
ในการก่อสร้างสูง รวมทั้งต้องใช้เวลาในการก่อสร้างที่นาน ทำให้กว่า คู่แข่งจะทำการก่อสร้างโรงงานแล้วเสร็จ
บริษัทก็สามารถจัดทำสัญญาจำหน่ายผลิตภัณฑ์และขยายตัวไปได้ก่อนหน้าแล้ว  นอกจากนี้บริษัท ยังมีการป้องกัน
ความเสี่ยงทางด้านการจัดหาวัตถุดิบ (ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในอุตสาหกรรมนี้) และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์
โดยมีการทำสัญญาระยะยาวและต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะทำกับ ปตท.ที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อีกด้วย

- ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ : บริษัทได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ คือ ปตท.
ในการจัดหาวัตถุดิบและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในปริมาณเกือบทั้งหมดของบริษัททำให้บริษัทสามารถลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
จากความไม่แน่นอนในการจัดหาวัตถุดิบ และป้องกันความเสี่ยงด้านการตลาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้  ซึ่งบริษัทได้
พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความเสี่ยงต่ำที่สุดเนื่องจากการทำสัญญาต่าง ๆ อยู่บนพื้นฐานที่จะเอื้อประโยชน์แก่กันในเชิงธุรกิจ
กล่าวคือ

การที่บริษัททำสัญญาซื้อวัตถุดิบคอนเดนเสทระยะยาวกับ ปตท. ทำให้ ปตท. มีตลาดรองรับคอนเดนเสทที่แน่นอน
และได้ราคาที่ดีกว่ากรณีที่นำไปขายในตลาดส่งออก

สัญญาการขายผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของบริษัทจะมีลักษณะเป็นการขายผ่าน ปตท. แต่ในทางปฏิบัติจะเป็นการทำตลาดร่วมกัน
บริษัทสามารถมีส่วนร่วมในการเจรจาตกลงราคาที่ ปตท. จะขายให้กับลูกค้าปลายทางได้

สำหรับในกรณีที่กลุ่มผู้ถือหุ้นหลักได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามสัญญาสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น
ในช่วงที่บริษัทประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินที่ผ่านมานั้นจะอยู่ในรูปของเงินกู้ด้อยสิทธิ์ที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถเรียกคืน
ได้ก่อนระยะเวลาที่ผู้ถือหุ้นได้เห็นชอบและระบุไว้ในสัญญาเงินกู้ บริษัท
จึงไม่มีความเสี่ยงที่จะต้องชำระคืนเงินดังกล่าวในระยะสั้น
 
15.3 รายชื่อผู้บริหาร ณ วันที่ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น
              รายชื่อคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารของบริษัท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 มีดังนี้
          รายชื่อคณะกรรมการ                        ตำแหน่ง
1)      นายพละ สุขเวช                          ประธานกรรมการ
2)      ดร.นิตย์ จันทรมังคละศรี                    กรรมการ
3)      ดร.โชคชัย  อักษรนันท์                     กรรมการ
4)      นายชาญชัย ชีวะเกตุ                       กรรมการ
5)      ดร.ปิติ  ยิ้มประเสริฐ                      กรรมการ
6)      นายนครินทร์ วีระเมธีกุล                    กรรมการ
7)      นายพิชัย   ชุณหวชิร                       กรรมการ
8)      นายอภิพร ภาษวัธน์                        กรรมการ
9)      นายอดิศร พลอยสังวาลย์                    กรรมการ
10)     นายอนันต์  ศิริพงศ์                        กรรมการ
11)     นายมนตรี มงคลสวัสดิ์                      กรรมการ
12)     นายจักราวุธ ศัลยพงษ์                      กรรมการ
13)     พลเอกเทพทัต พรหโมปกรณ์                  กรรมการ
14)     นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์                    กรรมการ
15)     นายเพิ่มศักดิ์  ชีวาวัฒนานนท์                 กรรมการ
หมายเหตุ :
ลำดับที่ 2 , 3 , 6 , 11 และ 13  เป็นกรรมการที่มีคุณสมบัติของกรรมการอิสระ
ลำดับที่ 3, 6 และ 11 เป็นคณะกรรมการตรวจสอบ

            รายชื่อผู้บริหารของบริษัท       ตำแหน่ง
1)      นายเพิ่มศักดิ์  ชีวาวัฒนานนท์      กรรมการผู้จัดการใหญ่
2)      นายพรเทพ บุตรนิพันธ์           รองผู้จัดการใหญ่บริหาร
3)      นายอธิคม  เติบศิริ             รองผู้จัดการใหญ่แผนธุรกิจและการเงิน
4)      นายกัญจน์  ปทุมราช            รองผู้จัดการใหญ่ปฏิบัติการ
 
15.4 รายชื่อผู้ถือหุ้น 10 รายแรก ณ วันที่ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น

      รายชื่อผู้ถือหุ้น 10 รายแรก  ณ วันที่ 17 กันยายน 2547 ซึ่งเป็นวันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นครั้งหลังสุด คือ
   รายชื่อ                                 จำนวนหุ้น             คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ
1. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)           443,847,700                  46.16
2. บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)           105,791,500                 11.00
3. บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)      84,107,800                 8.75
4. HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD 24,293,400                 2.53
5. นายยัสวิน เดอร์ซิงห์ พิชิตสิงห์            12,943,000                 1.35
6. บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด             12,461,900                 1.30
7. MORGAN STANLEY & CO INTERNATIONAL
   LIMITED                            7,289,200                 0.76
8. SOMERS (U.K.) LIMITED              7,118,400                 0.74
9. สำนักงานประกันสังคม                   5,967,400                 0.62
10.CLEARSTREAM NOMINEES LTD           5,895,000                 0.61

15.5  ข้อมูลอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ

      -ไม่มี-

16. ความเห็นของคณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับความเพียงพอของเงินทุนหมุนเวียน

คณะกรรมการบริษัทมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2548 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548
อนุมัติวงเงินในการก่อสร้างงานด้านออกแบบวิศวกรรม จัดหาเครื่องจักร และก่อสร้างโรงงาน (Engineering
Procurement and Construction หรือ EPC)  สำหรับโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่2
เพื่อให้บริษัทคัดสรรผู้รับเหมาและจะจัดจ้างต่อไปในวงเงินไม่เกิน 597.0  ล้านเหรียญสหรัฐ
และได้มีความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของเงินทุนหมุนเวียนดังต่อไปนี้

คณะกรรมการได้พิจารณาข้อมูลประกอบการให้ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของเงินทุนหมุนเวียนจากการทำรายการ
ข้างต้นดังต่อไปนี้

ก.ผลการดำเนินงานในปี 2547

จากผลการดำเนินงานในปี 2547 บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานสุทธิเท่ากับ 7,373 ล้านบาท
และมีกำไรสุทธิ 10,342 ล้านบาท

ข.ประมาณการความต้องการเงินทุนระหว่างปี 2548 ถึง 2551

ฝ่ายจัดการได้นำเสนอประมาณการความต้องการเงินทุนของบริษัทระหว่างปี 2548 ถึง 2551
โดยยังไม่รวมเงินลงทุนในโครงการโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ดังตารางต่อไปนี้

(หน่วย : ล้านบาท)                  2548            2549           2550           2551
เงินลงทุนในโครงการอื่น ๆ ที่ได้รับการ
อนุมัติให้ดำเนินการแล้ว                3,363          1,659            262           1,758
การไถ่ถอนตราสารหนี้                 2,316          2,316          2,316           1,465
รวม                              5,679          3,975          2,578           3,223

หมายเหตุ  ความต้องการเงินทุนบางรายการเป็นมูลค่าอ้างอิงสกุลเงินเหรียญสหรัฐซึ่งได้แปลงเป็นเงินบาท
         ด้วยอัตราแลกเปลี่ยน 40.00 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

ค. แผนการใช้เงินและการจัดหาเงินทุนในการประมูล EPC ของโครงการโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2

ฝ่ายจัดการได้นำเสนอแผนการใช้เงินในการประมูล EPC ของโครงการก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2
ระหว่างปี 2548 ถึง 2551 โดยประเมินว่าบริษัทจะมีความต้องการเงินทุนเพื่อลงทุนดังกล่าวไม่เกิน 119
ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2548 ไม่เกิน 239 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2549 ไม่เกิน 149 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2550
และไม่เกิน 90 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2551 รวมความต้องการเงินทุนเพื่อลงทุนดังกล่าวไม่เกินจำนวน 597
ล้านเหรียญสหรัฐ  โดยฝ่ายจัดการได้นำเสนอแผนการจัดหาเงินทุนในการลงทุนโดยวางแผนในการใช้เงินทุน
จากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานในระหว่างปี 2548 ถึงปี 2551 จำนวนประมาณ 300 ล้านเหรียญ
และได้เสนออนุมัติคณะกรรมการในการก่อหนี้เพิ่มเติมอีกประมาณ 300 ล้านเหรียญ

จากผลการดำเนินงานในปี 2547 บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานสุทธิเท่ากับ 7,373 ล้านบาท และมีกำไร
สุทธิ 10,342 ล้านบาท คณะกรรมการบริษัทมีความเห็นว่าหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางลบอย่างมี นัยสำคัญต่อราคา
ของผลิตภัณฑ์และราคาของวัตถุดิบ รวมถึงต่อความสามารถในการผลิตของบริษัทในระหว่างปี 2548 ถึง 2551   และ
หากบริษัทสามารถจัดหาเงินกู้เพิ่มเติมเพื่อลงทุนในโครงการตามที่เสนอได้นั้น เงินทุนหมุนเวียนของบริษัทน่าจะมีความ
เพียงพอในการทำรายการข้างต้น และจะไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อความ ต้องการเงินทุนของบริษัทในการ
ดำเนินงานระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวด้วย
 
17.คดีหรือข้อเรียกร้องที่อยู่ในระหว่างดำเนินการ
   -ไม่มี-

18.ผลประโยชน์หรือรายการที่เกี่ยวข้องกันระหว่างบริษัทจดทะเบียนกับกรรมการ ผู้บริหาร
และผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้นทั้งทางตรงหรือทางอ้อมตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไป

1. บุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์และลักษณะความสัมพันธ์

ชื่อบริษัท                     ลักษณะการประกอบธุรกิจ               ลักษณะความสัมพันธ์กับบริษัทฯ
1.บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  เป็นบริษัทที่ประกอบกิจการและ           o เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ
                          ส่งเสริมธุรกิจปิโตรเลียม รวมถึง           โดยถือหุ้นอยู่ร้อยละ 46.16
                          ธุรกิจต่อเนื่องที่เกี่ยวกับธุรกิจปิโตรเลียม    o มีกรรมการ 3 ท่าน
                                                             เป็นกรรมการใน        .
.                                                            บริษัทฯได้แก่            .
                                                            -นายพละ สุขเวช
                                                            -นายจักราวุธ ศัลยพงษ์
                                                            -นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
                                                           o มีผู้บริหาร 3 ท่านเป็นกรรมการใน
.                                                            บริษัทฯ ได้แก่
                                                           - นายพิชัย ชุณหวชิร
                                                           - ดร.ปิติ ยิ้มประเสริฐ
                                                           - นายเพิ่มศักดิ์ ชีวาวัฒนานนท์
                                                           o มีการซื้อขายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์
.     .                                                      ระหว่างกัน
2.บริษัท ไทยโอเลฟินส์       เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ    o เป็นบริษัทที่ บมจ.ปตท. ถือหุ้นร้อยละ 44.92
จำกัด (มหาชน)            อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น         (บมจ.ปตท. เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ
                        โดยเป็นผู้ผลิตสารโอเลฟินส์         ร้อยละ 46.16)
                        (เอทิลีน, โพรพิลีน)            o มีกรรมการ 4 ท่าน เป็นกรรมการในบริษัทฯ
.                                                    ได้แก่
                                                     - นายพละ สุขเวช
                                                     - นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
                                                     - นายพิชัย ชุณหวชิร
                                                     - ดร.โชคชัย อักษรนันท์
                                                    o มีการซื้อขายวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน

3.บริษัท ระยอง โอเลฟินส์ จำกัด เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ   o เป็นบริษัทที่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย ถือ
                       อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น           หุ้นโดยอ้อมร้อยละ 63
                       โดยเป็นผู้ผลิตสารโอเลฟินส์           (บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย เป็นผู้ถือหุ้น
                       (เอทิลีน, โพรพิลีน)                บริษัทฯ ร้อยละ 8.75)
                                                    o มีกรรมการ 2 ท่าน เป็นกรรมการ
.                                                    ในบริษัทฯ ได้แก่
                                                     -นายอภิพร ภาษวัธน์
                                                     -นายอดิศร พลอยสังวาลย์
                                                    o มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน

4.บริษัท สยาม มิตซุย
พีทีเอ จำกัด          เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ          O เป็นบริษัทที่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย
                   อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง             ถือหุ้นร้อยละ 50 (บมจ.
                   โดยเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสารพีทีเอ         ปูนซิเมนต์ไทย เป็นผู้ถือหุ้น
.                                                     บริษัทฯ ร้อยละ 8.75)
                                                    O มีกรรมการเป็นกรรมการ
.                                                    ในบริษัทฯ คือ นายอภิพร ภาษวัธน์
                                                    O มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน
 
5.บริษัท ไทยแท้งค์    เป็นบริษัทที่ให้บริการเก็บและ             O เป็นบริษัทที่ บมจ.ปตท. ถือหุ้น.
เทอร์มินัล จำกัด       บริการขนถ่ายเคมีเหลว, น้ำมัน            โดยอ้อมร้อยละ 19 (บมจ.ปตท
                   และก๊าซ                             เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ร้อยละ
.                                                     46.16)
                                                    O เป็นผู้ให้บริการคลังเก็บวัตถุดิบ         .
                                                      และผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ

6. บริษัท ไทยออยล์
จำกัด               เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโรงกลั่น         o เป็นบริษัทที่ บมจ.ปตท. ถือหุ้น
(มหาชน)            น้ำมันในประเทศ                      ร้อยละ 49.54 (บมจ.ปตท. เป็น
                                                     ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ ร้อยละ
                                                     46.16)
                                                   o มีกรรมการ 4 ท่าน เป็นกรรมการ .
.                                                   ในบริษัทฯ ได้แก่
                                                    - นายพละ สุขเวช
                                                    - นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
                                                    - ดร.ปิติ ยิ้มประเสริฐ
                                                    - ดร.นิตย์ จันทรมังคละศรี
                                                   o มีผู้บริหารเป็นกรรมการใน.          .
                                                     บริษัทฯ คือ ดร.ปิติ ยิ้มประเสริฐ
                                                   o มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน

7. บริษัท อัลลายแอนซ์  เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจบริหาร          O เป็นบริษัทที่ บมจ.ปตท. ถือหุ้น
รีไฟน์นิ่ง จำกัด        โรงกลั่นน้ำมันระยอง และโรง            โดยอ้อมร้อยละ 36 (บมจ.ปตท
                   กลั่นน้ำมันสตาร์ปิโตรเลียม               เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ
                   รีไฟน์นิ่ง                            ร้อยละ 46.16)
.                                                  o มีการซื้อขายวัตถุดิบและผลิต .
.                                                    ภัณฑ์ระหว่างกัน

8. บริษัท บางจาก    เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจโรงกลั่น        O เป็นบริษัทที่ บมจ.ปตท. ถือหุ้น
ปิโตรเลียม จำกัด                                      อยู่ร้อยละ 20 (บมจ.ปตท. เป็น
(มหาชน)            น้ำมันในประเทศ                    ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ ร้อยละ .
                                                   46.16)
                                                 O มีกรรมการเป็นกรรมการใน
                                                   บริษัทฯ คือ นายพิชัย ชุณหวชิร
                                                 O มีการซื้อขายวัตถุดิบผลิตภัณฑ์ .     ..
                                                  ระหว่างกัน

9. บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ  เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ  O เป็นบริษัทที่ บมจ.ปตท. ถือหุ้น
จำกัด (มหาชน)           อุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น       ร้อยละ 37.99 (บมจ.ปตท. เป็น
                       โดยเป็นผู้ผลิตสารโอเลฟินส์       ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ
                       (เอทิลีน, โพรพิลีน)            ร้อยละ 46.16)
                                                O มีกรรมการ 2 ท่าน เป็นกรรมการ ...
                                                 ในบริษัทฯ ได้แก่
                                                  - นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
                                                  - นายอภิพร ภาษวัธน์
                                                o มีการซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน

10. บริษัท ไทยออยล์มารีน  เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจขนส่ง     O เป็นบริษัทที่ บมจ.ไทยออยล์ ถือ
จำกัด                  ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและ           หุ้นร้อยละ 99.99  (บมจ.ปตท.
                      ปิโตรเคมี                     เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บมจ.ไทย
.                                                 ออยล์ และบริษัทฯ ในสัดส่วน
                                                  ร้อยละ 49.54 และ 46.16 ตาม.
.                                                 ลำดับ)
                                                O มีกรรมการเป็นกรรมการใน .          .
                                                  บริษัทฯ คือ ดร.ปิติ ยิ้มประเสริฐ
                                                O เป็นผู้ขนส่งวัตถุดิบบางชนิดให้
                                                  บริษัทฯ

11. บริษัททิพยประกันภัย  เป็นบริษัททำธุรกิจรับประกันภัย      o มีกรรมการเป็นกรรมการในบริษัทฯ
จำกัด (มหาชน)                                      คือ นายพิชัย ชุณหวชิร
                                                O มีการทำสัญญาประกันภัย

12. บริษัท ไทยอินดัสเตรียล เป็นบริษัทผลิตก๊าซสำหรับใช้ใน    o กรรมการเป็นกรรมการใน
แก๊ส จำกัด (มหาชน)      อุตสาหกรรม                   บริษัทฯ คือ ดร.โชคชัย อักษรนันท์
                                                O มีการซื้อขายก๊าซอุตสาหกรรมระหว่างกัน
13.ริษัท ปตท. สำรวจและ  เป็นบริษัทที่สำรวจและผลิต       O เป็นบริษัทที่ บมจ.ปตท. ถือหุ้น
ผลิตปิโตรเลียม จำกัด      ปิโตรเลียม                    อยู่ร้อยละ 65.98
(มหาชน)                                           (บมจ.ปตท. เป็น
                                                  ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ ร้อยละ  .
                                                  46.16)
                                                o มีกรรมการ 4 ท่าน เป็นกรรมการ.  .
                                                  ในบริษัทฯ ได้แก่
                                                 -  นายพละ สุขเวช
                                                 -  นายพิชัย ชุณหวชิร
                                                 -  นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์
                                                 -  นายจักราวุธ ศัลยพงษ์
                                                o บริษัทฯ เป็นผู้เช่าพื้นที่สำนักงาน

2.ข้อมูลรายการระหว่างบริษัทฯกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์

บริษัทฯ มีมาตรการในการทำรายการระหว่างกัน  โดยจัดทำข้อตกลงเป็นสัญญาที่อิงกับราคาตลาด
ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติของธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรม โดยสัญญาได้ผ่านการพิจารณาอนุมัติจาก
คณะกรรมการบริษัทฯตามระเบียบข้อบังคับอย่างรอบคอบและเป็นอิสระ  ดังมีรายละเอียดจำแนกตามบริษัทฯ
ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้.

บริษัท / รายการระหว่างกัน                                          มูลค่าในปี 2547
                                                                 (ล้านบาท)
1. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

    1.1 การขายผลิตภัณฑ์เบนซีน ตามสัญญาระยะยาว 15 ปี   (2540-2555)      15,091.12
    1.2 การขายผลิตภัณฑ์พาราไซลีน ตามสัญญาระยะยาว 15 ปี  (2540-2555)    13,845.21
    1.3 การขายผลิตภัณฑ์โทลูอีน                                         195.10
    1.4 การขายผลิตภัณฑ์ออร์โธไซลีน
             - สัญญา Take or Pay 5 ปี  (2545-2549)
             - สัญญาอื่น ๆ 10 ปี (2540-2550)                          1,805.46
   1.5 การขายผลิตภัณฑ์มิกซ์ไซลีนส์
            - สัญญา Take or Pay 1 ปี  (2546-2547)
            - สัญญาอื่น ๆ 1 ปี (2545-2546) โดยสัญญาเป็นการเจรจาแบบปีต่อปี 2,213.72
   1.6 การขายผลิตภัณฑ์คอนเดนเสทเรซิดิว ตามสัญญา 15 ปี (2540-2555)        6,703.52
   1.7 การขายผลิตภัณฑ์แนฟทาชนิดเบา ตามสัญญา 15 ปี (2540-2555)           6,098.14
   1.8 การขายผลิตภัณฑ์ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ตามสัญญา 10 ปี (2540-2550)       2,241.13
   1.9 การซื้อวัตถุดิบคอนเดนเสท เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบหลักของบริษัทฯ
       ตามสัญญา 15 ปี (2541- 2556)                                 27,628.04
   1.10 การซื้อวัตถุดิบโทลูอีน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบหลักของบริษัทฯ
        ตามสัญญา 1 ปี  (2547)                                       1,154.25
   1.11 การซื้อก๊าซธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานของบริษัทฯ
        ตามสัญญา 11 ปี (2542-2553)                                     48.54
   1.12 การเช่าพื้นที่สำนักงานและจ้างเหมาบริการในพื้นที่เช่า และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ       1.31

2. บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด (มหาชน)
  2.1 การรับซื้อวัตถุดิบไพโรไลซิสก๊าซโซลีน เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ ในการผลิตของบริษัทฯ
      ตามสัญญา 15 ปี  (2540-2555)                                 2,719.79
  2.2 ค่ารถบริการจัดส่งเอกสาร                                           0.21

3. บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด
   3.1 การขายผลิตภัณฑ์แนฟทาชนิดเบา                                  1,842.77
   3.2 การซื้อวัตถุดิบโทลูอีน                                            206.84

4. บริษัท สยาม มิตซุย พีทีเอ จำกัด
   4.1 การขายผลิตภัณฑ์พาราไซลีน ตามสัญญา 3 ปี (2547-2549)
       โดยสัญญายังมีผลบังคับใช้จนกว่าจะมีประกาศยกเลิกล่วงหน้า 1 ปี
       จากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง                                              0.19

5.บริษัท ไทยแท้งค์ เทอร์มินัล จำกัด
  5.1 การเช่าถังเก็บ, สถานีปลายทาง และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เพื่อใช้เป็นคลังเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ  เป็นเวลา 15 ปี (2539-2554)    435.25

6.บริษัท ไทยออยส์ จำกัด (มหาชน)
  6.1 การขายผลิตภัณฑ์คอนเดนเสทเรซิดิว                                  317.55

7.บริษัท อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ง จำกัด
  7.1 การขายผลิตภัณฑ์สารอะโรเมติกส์หนัก ตามสัญญา 2 ปี (2543-2544)
      โดยสัญญายังมีผลบังคับใช้จนกว่าจะมีประกาศล่วงหน้า 6 เดือนจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  -
  7.2 การซื้อวัตถุดิบรีฟอร์เมท เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตตามสัญญา 5 ปี
      (2545-2550)                                                4,992.66

8.บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
  8.1  การขายผลิตภัณฑ์คอนเดนเสทเรซิดิว                                 461.68
  8.2  การซื้อวัตถุดิบรีฟอร์เมท เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตตามสัญญา 1 ปี
       (2547)                                                     406.04

9.บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
  9.1   การขายผลิตภัณฑ์สารอะโรเมติกส์หนัก                                72.55

10.บริษัท ไทยออยล์มารีน จำกัด
   10.1  การจ้างขนส่งวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์                                   1.62

11.บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน)
   11.1 การรับประกันภัย                                              133.73

12.บริษัท ไทยอินดัสเตรียล แก๊ส จำกัด (มหาชน)
   12.1 สัญญาซื้อ-ขายก๊าซไนโตรเจน                                     42.76

13.บริษัท สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
   13.1 สัญญาเช่าพื้นที่อาคาร                                           0.84

นอกจากนี้ในปี 2547 ยังมีรายการดอกเบี้ยจ่ายตามสัญญาเงินกู้ด้อยสิทธิ์ กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)  บริษัท
ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
คิดเป็นมูลค่ารวม 153.73 ล้านบาท
 
คณะกรรมการตรวจสอบ ได้สอบทานรายการที่เกี่ยวโยงกับบริษัท ในรายการบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ในลักษณะความสัมพันธ์ และรายการระหว่างบริษัทฯ กับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์เท่าที่จำเป็นพบว่า
เป็นรายการจริงทางการค้าอันเป็นธุรกิจปกติทั่วไปอย่างสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดตามนโยบายบริษัทฯ
สอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี  รายการดังกล่าวไม่พบรายการผิดปกติที่เป็นสาระสำคัญของรายการ
ระหว่างกันที่จะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ

19.สรุปสาระสำคัญของสัญญาในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา

สรุปรายละเอียดของสัญญาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้ดังตารางต่อไปนี้ โดยมีสัญญาที่มีอายุมากกว่า 5 ปี
คิดเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 90% ของกำลังการผลิต ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ

                          ตารางสรุปสัญญา "Take or Pay"
ผลิตภัณฑ์                       คู่สัญญา                           ระยะเวลาของสัญญา
ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์
เบนซีน                         ปตท.                                 15 ปี
พาราไซลีน                      ปตท.                                 10-15 ปี
ออร์โธไซลีน                     ปตท.                                 5 ปี
ผลิตภัณฑ์อื่น
สารอะโรเมติกส์หนัก              บจก. เอเชีย โซลเว้นท์                   10 ปี

ที่มา :  บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

                     ตารางสรุปสัญญาอื่นๆ แยกเป็นผลิตภัณฑ์หลักและผลิตภัณฑ์อื่นๆ

ผลิตภัณฑ์                           คู่สัญญา                   ระยะเวลาของสัญญา
ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์
เบนซีน                            ปตท.                       5-10 ปี *
พาราไซลีน                         ปตท.                       5 ปี *
                                 บจก.สยามมิตซุย พีทีเอ          3 ปี *
ออร์โธไซลีน                        ปตท.                       3-10 ปี *
มิกซ์ไซลีนส์                         ปตท.                       1-2 ปี *
ผลิตภัณฑ์อื่นๆ
คอนเดนเสทเรซิดิว                   บมจ. ปตท.                  15 ปี
                                 บมจ. บางจาก                1 ปี *
                                 บมจ. ไทยออยล์               1 ปี *
แนฟทาชนิดเบา                      บมจ. ปตท.                  15 ปี
                                 บจก. ระยองโอเลฟินส์          3 เดือน *
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว                  บมจ. ปตท.                  10 ปี
                                 บจก. ทีไอจี ไฮโค             5 ปี
แรฟฟิเนท                          บมจ. ไทย โอเลฟินส์          15 ปี
สารอะโรเมติกส์หนัก                  บจก.อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ง       2 ปี *
                                 บมจ. ปิโตรเคมีแห่งชาติ         1 ปี

ที่มา :  บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุ : *   เป็นสัญญา Evergreen Basis ซึ่งจะมีการต่อสัญญาทันทีหากไม่มีการบอกเลิกสัญญาล่วงหน้า

สำหรับการจัดหาวัตถุดิบนั้น บริษัทฯ มีสัญญาจัดหาวัตถุดิบคอนเดนเสท แนฟทาและโทลูอีนกับ บมจ.ปตท.วัตถุดิบไพโร-
ไลซิสก๊าซโซลีนกับ บมจ.ไทยโอเลฟินส์ และวัตถุดิบรีฟอร์เมทกับ บจก.อัลลายแอนซ์ รีไฟน์นิ่ง ทำให้บริษัทฯ
มีความมั่นใจว่า บริษัทฯ จะมีแหล่งวัตถุดิบเพียงพอและเชื่อถือได้ไว้ใช้ในการผลิตของบริษัทฯ

                      ตารางสรุปสาระสำคัญของสัญญาซื้อวัตถุดิบของบริษัทฯ

สัญญาซื้อ                      คู่สัญญา                                ระยะเวลาของสัญญา
คอนเดนเสท                   ปตท.                                          15 ปี
แนฟทา                       ปตท.                                          15 ปี
โทลูอีน                       ปตท.                                           1 ปี
สารรีฟอร์เมท                  บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)               1 ปี
สารรีฟอร์เมท                  บริษัท อัลลายแอนซ์  รีไฟน์นิ่ง จำกัด                    5 ปี
ไพโรไลซิสก๊าซโซลีน             บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จำกัด (มหาชน)                  15 ปี
B/T Return                  บริษัทสยามไตรีน โมโนเมอร์ จำกัด                    15 ปี

20. แบบหนังสือมอบฉันทะที่ให้ผู้ถือหุ้นเลือกออกเสียงลงคะแนนได้ พร้อมเสนอชื่อกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 1
รายเป็นผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้น