| ||
บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร สำหรับผลการดำเนินงาน ไตรมาสที่ 1 ปี 2548 สิ้นสุด ณ 31 มีนาคม 2548 หมายเหตุ: บทรายงานและการวิเคราะห์งบการเงินฉบับนี้ ฝ่ายบริหารได้จัดทำ ขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลและแสดงวิสัยทัศน์ของฝ่ายบริหารให้ผู้ลงทุนทั่วไปสามารถ ติดตามและทำความเข้าใจฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดีขึ้น อันเป็นการส่งเสริมโครงการการกำกับดูแลกิจการที่ดีของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) อนึ่งเนื่องจากบทรายงานและการวิเคราะห์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอข้อมูลและคำอธิบายถึงสถานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่นำเสนอนี้อาจเปลี่ยนแปลงตามปัจจัยหรือสภาวะแวดล้อม ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต ฉะนั้นจึงใคร่ขอให้นักลงทุนใช้วิจารณญาณในการ พิจารณาใช้ประโยชน์จากเอกสารข้อมูลนี้ และหากมีคำถามหรือข้อสงสัยประการใด กรุณาติดต่อสอบถามได้ที่ ส่วนนักลงทุนสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กรและนักลงทุน สัมพันธ์ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) โทร. 02-998-5131-2 หรือ email : ir@egco.com บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร 1. บทสรุปผู้บริหาร บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ บผฟ. เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ซึ่งมีกำลังผลิตติดตั้ง ณ ปัจจุบันตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมจำนวน 2,414 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้า 12 โรง และมีความคืบหน้าอย่างเด่นชัดของโครงการสำคัญที่กำลัง พัฒนาอันได้แก่ โครงการน้ำเทิน 2 โดยธนาคารโลก (World Bank) และธนาคารเพื่อ การพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) พร้อมกลุ่มสถาบันทางการเงินที่เป็น ธนาคารพาณิชย์และองค์กรระหว่างประเทศได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินใน รูปแบบต่างๆ เป็นจำนวนเทียบเท่า 1,550 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยได้มีการลงนามใน สัญญาทางการเงินเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2548 และคาดว่าโครงการจะสามารถเบิก เงินกู้งวดแรกได้ในเร็ววันนี้ สำหรับผลการดำเนินงานของกลุ่ม บผฟ. ณ ไตรมาส 1 ปี 2548 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2548 มีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 1,497 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน หากไม่คำนึงถึงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ในไตรมาส 1 ปี 2548 บริษัทจะมีกำไรจำนวน 1,469 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากไตรมาส 1 ปี 2547 จำนวน 88 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6 สาเหตุเกิดจาก - บผฟ. มีกำไรสุทธิลดลง 72 ล้านบาท เนื่องจากเงินปันผลรับจากการลงทุนทาง การเงินลดลง - กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าระยอง จำกัด (บฟร.) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าขนอม จำกัด (บฟข.) มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้น 14 ล้าน บาท สาเหตุหลักจากดอกเบี้ยจ่ายที่ลดลงของ บฟร. และ บฟข. - กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ประกอบด้วย 5 บริษัท คือ บริษัท กัลฟ์ อิเล็ค ตริก จำกัด (มหาชน) (จีอีซี) บริษัท อมตะ-เอ็กโก เพาเวอร์ จำกัด (เออีพี) บริษัท อมตะ เพาเวอร์ (บางปะกง) จำกัด (เอพีบีพี) บริษัท ทีแอลพี โคเจเนอเรชั่น จำกัด (ทีแอลพี โคเจน) และ บริษัท ร้อยเอ็ด กรีน จำกัด (ร้อยเอ็ด กรีน) มีกำไรสุทธิ เพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้น 90 ล้านบาท เนื่องจากค่าบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายในการ บริหารที่ลดลงของ จีอีซี และ ค่าใช้จ่ายในการบริหารที่ลดลงของ ทีแอลพีโคเจน - กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ ประกอบด้วย บริษัท โคแนล โฮลดิ้ง คอร์ ปอเรชั่น (โคแนล) และ โครงการน้ำเทิน 2 (เอ็นทีพีซี) มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นรวมทั้งสิ้น 32 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ค่าไฟที่เพิ่มขึ้นและการปรับปรุงภาษีเงินได้รอการตัด จ่ายของปี 2547 - กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ประกอบด้วย บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (เอสโก) และ บริษัท เอ็กคอมธารา จำกัด (เอ็กคอมธารา) มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น รวมทั้งสิ้น 24 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ค่าบริการที่เพิ่มขึ้นของเอสโก 2. การวิเคราะห์ผลการปฏิบัติตามแผนการดำเนินธุรกิจ บผฟ. เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (Independent Power Producer "IPP") แห่งแรกของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นในปี 2535 ในลักษณะบริษัทโฮลดิ้ง บผฟ. มีวิสัยทัศน์ในการดำเนินธุรกิจ มุ่งเน้นที่จะเป็นบริษัทชั้นนำของคนไทย ที่ดำเนิน ธุรกิจผลิตไฟฟ้าครบวงจรและครอบคลุมถึงธุรกิจที่ให้บริการด้านพลังงานทั้งประเทศ ไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาชุมชน สิ่งแวดล้อม และผู้ลงทุนทั่วไปเป็นหลัก บผฟ. มุ่งเน้นการลงทุนจากการพัฒนาหรือซื้อโครงการจากผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนรายใหญ่ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน โดยมีเป้าหมายในการจัดหา ผลตอบแทนจากการลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นโดยการแสวงหากำไรจากโครงการที่มีอยู่ปัจจุบัน ตลอดจนการสรรหาโครงการที่มีคุณภาพและให้ผลตอบแทนที่ดีในอนาคต และอยู่ในระดับความเสี่ยงที่สามารถยอมรับได้ ณ เดือนมีนาคม 2548 ประเทศไทยมีกำลังผลิตติดตั้งรวมจำนวน 26,443 เมกะวัตต์ /1 ซึ่งประมาณร้อยละ 9.1 ของกำลังผลิตนี้มาจากกำลังผลิตในกลุ่ม บผฟ. โดยในไตรมาสแรกของปี 2548 ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดอยู่ในช่วงเดือน มีนาคมที่ 20,221.5 เมกะวัตต์ /1 คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 4.63 เมื่อเทียบกับ ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมของปี 2547 ทางการได้มี การวางแผนการเปิดประมูลโรงไฟฟ้าใหม่เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าในช่วงปี พ.ศ 2554- 2558 ขึ้นภายในปี 2548 โดยคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า ซึ่งจะได้รับการ คัดเลือกจากกระทรวงพลังงานเร็ว ๆ นี้ โดยที่การประมูลดังกล่าว จะต้องรวมกับ ไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของโรงไฟฟ้าใหม่ ดังนั้น บริษัทได้เตรียมความพร้อมโดยอาศัยความร่วมมือ ตลอดจนความเชี่ยวชาญของ บุคลากรในองค์กรเพื่อเตรียมการประมูลดังกล่าวแล้ว /1 ที่มา: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ปัจจุบัน บผฟ. มีกำลังผลิตติดตั้งตามสัดส่วนการถือหุ้นรวมจำนวน 2,414 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้า 12 โรง โดยร้อยละ 85 ของกำลังผลิต มาจากโรงไฟฟ้าของ บฟร. กำลังผลิตติดตั้ง 1,232 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าของ บฟข. กำลังผลิตติดตั้ง 824 เมกะวัตต์ โดยทั้ง 2 โรงไฟฟ้าดังกล่าวใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก นอกจากโรงไฟฟ้าที่มีอยู่นั้น บริษัทกำลังพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าอีก 3 โครงการ ซึ่ง คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งในส่วนการถือหุ้นของ บผฟ. จำนวนรวม 1,011 เมกะวัตต์ ได้แก่ 1. โครงการแก่งคอย 2 (บผฟ. ถือหุ้นร้อยละ 50 ในจีอีซี ซึ่งถือหุ้นในบริษัท กัลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด (จีพีจี) ร้อยละ 100) ตั้งอยู่ที่จังหวัดสระบุรี กำลังผลิต 1,468 เมกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก เดิมใช้ชื่อว่า "โครงการโรงไฟฟ้าบ่อนอก" โครงการนี้มีกำหนดเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์โรงที่ 1 และ 2 กำลังผลิตโรงละ 734 เมกะวัตต์ ในวันที่ 1 มีนาคม 2550 และวันที่ 1 มีนาคม 2551 ตามลำดับ 2. โครงการน้ำเทิน 2 (บผฟ. ถือหุ้นร้อยละ 25 ในเอ็นทีพีซี) ผลิตกระแสไฟฟ้า จากพลังน้ำในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีกำลังผลิต 1,070 เมกะวัตต์ ได้มีการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในเดือนพฤศจิกายน 2546 และมีกำหนดจำหน่ายกระแสไฟฟ้าได้ในครึ่งปีหลังของปี 2552 โดยมี สัญญาขายไฟฟ้าให้กับ กฟผ. จำนวน 995 เมกะวัตต์ และโครงการมีมูลค่า 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยได้มีการลงนามในสัญญาทางการเงินมูลค่า เทียบเท่า 1,550 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2548 และส่งผลให้ โครงการสามารถเบิกเงินกู้งวดแรกได้ในเร็ววันนี้ 3. โครงการกัลฟ์ ยะลา กรีน (บผฟ. ถือหุ้นผ่านทาง จีอีซี คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 47.5) ในจังหวัดยะลา กำลังผลิต 23 เมกะวัตต์ โดยใช้เศษไม้ยางพาราเป็น เชื้อเพลิง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ต้น ปี 2547 ทำให้การก่อสร้างล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ ทางโครงการอยู่ระหว่าง การขออนุมัติจาก กฟผ. ให้เลื่อนกำหนดเริ่มเดินเครื่องเชิงพาณิชย์กับ กฟผ. จากเดือน สิงหาคม 2548 เป็นวันที่ 1 เมษายน 2549 ในส่วนนโยบายการจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทมีนโยบายการจ่ายเงินปันผล ให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราประมาณร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษีเงินได้ หากไม่มี เหตุจำเป็นอื่นใด เช่น โอกาสการขยายธุรกิจของบริษัทในโครงการต่างๆ ในอนาคต ภาวะเศรษฐกิจ ภาวะทางการเงิน และหากการจ่ายเงินปันผลนั้นจะมีผลกระทบต่อ การดำเนินงานปกติของบริษัทอย่างมีสาระสำคัญ 3. รายงานและวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน โครงสร้างการดำเนินธุรกิจ ของ บผฟ. จะจัดอยู่ในรูปของบริษัทโฮลดิ้ง (Holding Company)เพื่อให้แต่ละบริษัทดำเนินธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้าหรือธุรกิจ เกี่ยวเนื่องได้อย่างอิสระต่อกัน โดย บผฟ. มีรายได้หลัก คือเงินปันผลที่มาจากกำไร ของบริษัทย่อย บริษัทร่วม และส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า การจัดโครงสร้างดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อได้รับความสะดวกในการขยายกิจการ และเพิ่มความสามารถใน การระดมเงินกู้สำหรับโครงการใหม่ โดยไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อโครงการเก่า ส่วน บผฟ. จะมีขอบเขตหน้าที่หลักในด้านการพัฒนาธุรกิจ การวางแผนกลยุทธ์ นโยบาย บริหาร การบริหารการเงินของกลุ่มโดยรวม การบัญชีและงบประมาณ รวมทั้งงาน ด้านการตรวจสอบภายใน กฎหมาย และงานประชาสัมพันธ์ของกลุ่ม ฝ่ายบริหารจึงขอแสดงรายงานวิเคราะห์งบการเงินรวมของ บผฟ. และบริษัท ย่อย เพื่อให้เห็นถึงภาพรวมที่ชัดเจนของผลการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้ 3.1 สรุปผลการดำเนินงาน กำไรสุทธิของกลุ่ม บผฟ. สำหรับไตรมาสแรก สิ้นสุด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,497 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 89 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 6 เมื่อ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของช่วงเวลาเดียวกัน ปี 2547 หน่วย:ล้านบาท กำไรสุทธิ ไตรมาส 1 ปี 2548 กำไรสุทธิ ไตรมาส 1 ปี 2547 ก่อน FX หลัง FX ก่อน FX หลัง FX บผฟ. 105 109 177 178 กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 1,145 1,140 1,131 1,153 กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 84 102 (6) 5 กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ (Overseas) 69 80 37 30 กลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Others) 65 65 41 41 หมายเหตุ: - ไอพีพี ประกอบด้วย บฟร. บฟข. - เอสพีพี ประกอบด้วย จีอีซี เออีพี เอพีบีพี ทีแอลพีโคเจน ร้อยเอ็ด กรีน - ต่างประเทศ ประกอบด้วย โคแนล น้ำเทิน 2 - อื่นๆ ประกอบด้วย เอสโก เอ็กคอมธารา ในไตรมาส 1 ปี 2548 บผฟ. มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 28 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2547 ซึ่ง บผฟ. มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 27 ล้านบาท ทั้งนี้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจำนวน 19 ล้านบาท เป็นตัวเลขทางบัญชี เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีไทย ซึ่งเกิดขึ้นจากผลต่าง ของการแปลงมูลค่าหนี้คงค้างสุทธิเฉพาะที่เป็นเงินตราสกุลต่างประเทศกลับมาเป็นเงินตรา สกุลบาท ณ วันสิ้นสุดงวดของบัญชีปัจจุบัน (วันที่ 31 มีนาคม 2548) กับงวด ก่อนหน้านี้ (วันที่ 31 ธันวาคม 2547) หากไม่คำนึงถึงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว ในไตรมาส 1 ปี 2548 บริษัทจะมีกำไรจำนวน 1,469 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2547 จำนวน 88 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6 อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ มีดังนี้ - อัตราส่วนกำไรขั้นต้น เท่ากับร้อยละ 54 - อัตราส่วนกำไรสุทธิ (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับร้อยละ 35 - กำไรสุทธิ (ที่ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) ต่อหุ้น เท่ากับ 2.80 บาท อัตรากำไรสุทธิในไตรมาส 1 ปี 2548 (ไม่รวมผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน) เท่ากับร้อยละ 35 นั้นสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของ ปี 2547 ซึ่งเท่ากับร้อยละ 32 สาเหตุ หลักจากกำไรสุทธิของ จีอีซี และ โคแนล ที่เพิ่มขึ้น 3.2 การวิเคราะห์รายได้ ผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ปี 2548 รายได้รวมของ บผฟ. บริษัทย่อย และ ส่วนแบ่งกำไรในเงินลงทุนในบริษัทร่วมและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า มีจำนวนทั้งสิ้น 4,215 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันปี 2547 ลดลงจำนวน 136 ล้านบาท หรือร้อยละ 3 โดยมีรายละเอียดดังนี้ รายได้รวม: หน่วย:ล้านบาท ไตรมาส 1 ปี 2548 ไตรมาส 1 ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง บผฟ. 200 285 (30%) กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 2,418 2,555 (5%) กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 1,171 1,163 1% กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ (Overseas) 199 183 9% กลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Others) 226 164 38% 1) รายได้ของ บผฟ. จำนวน 200 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน จำนวน 85 ล้านบาท หรือร้อยละ 30 เนื่องจากเงินปันผลรับจากการลงทุนทางการเงินลดลงจำนวน 102 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2547 ทั้งนี้รายได้หลักส่วนใหญ่ของ บผฟ. ในไตรมาส 1 ปี 2548 ยังคงมาจากเงิน ปันผลรับจากกองทุนเปิดกรุงไทยหุ้นผสมตราสารหนี้ปันผล (KTSF) จำนวน 91 ล้าน บาท ลดลง 136 ล้านบาท เงินปันผลรับจากบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาค ตะวันออก จำนวน 61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21 ล้านบาท และรายได้จากดอกเบี้ยรับ จำนวน 24 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9 ล้านบาท 2) รายได้จากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) คือ บฟร. และ บฟข. จำนวน 2,418 ล้านบาท แบ่งเป็น - รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 2,382 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน จำนวน 130 ล้าน บาท หรือร้อยละ 5 โดยแบ่งเป็นการลดลงจากรายได้ค่าไฟฟ้าของ บฟร. 101 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟฟ้า (Capacity Rate) ที่ลดลง และ บฟข. มีรายได้ค่าไฟฟ้าลดลง 28 ล้านบาท เนื่องจากอัตราค่าไฟ (Base Availability Credit) ที่ลดลง ซึ่งเป็นไปตามที่ กำหนดไว้ในสูตรค่าพลังไฟฟ้า ในลักษณะ "Cost Plus" หรือต้นทุนบวกกำไรส่วนเพิ่มที่ ให้แก่ผู้ประกอบการภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) และเป็นไปตามที่ได้ประมาณ การไว้แล้ว สัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าในแต่ละปี เพื่อให้ครอบคลุม ค่าใช้จ่ายหลัก คือ ค่าใช้จ่ายเงินกู้ และค่าบำรุงรักษาหลัก ซึ่งจะใช้อัตราดังกล่าวตามที่ ได้ตกลงในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในการคำนวณค่าไฟฟ้าในแต่ละงวด รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP): หน่วย:ล้านบาท ไตรมาส 1 ปี 2548 ไตรมาส 1 ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง บฟร. 1,235 1,336 (8%) บฟข. 1,147 1,175 (2%) นอกจากนั้น ในการคำนวณรายได้ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า ได้รับการปรับ เพื่อชดเชยผลกระทบที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับภาระค่าใช้จ่ายในการกู้ยืมเงิน ที่เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ และค่าอะไหล่ที่ใช้ในการบำรุงรักษาหลัก ซึ่ง บฟร. และ บฟข. จะได้รับการชดเชยทุกเดือนตามงวดกำหนดชำระค่าไฟฟ้า โดยจะได้รับค่าพลัง ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนสูงกว่าระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์สหรัฐฯ และ ได้รับค่าพลังไฟฟ้าลดลงเมื่ออัตราแลกเปลี่ยนต่ำกว่าระดับ 28 บาท ต่อหนึ่งดอลลาร์ สหรัฐฯ ทั้งนี้ รายได้ค่าไฟฟ้าจากบริษัทย่อยหลักได้รวมส่วนค่าไฟฟ้าที่ได้รับชดเชย ผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงิน 164 ล้านบาท - รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 37 ล้านบาท ลดลง 7 ล้านบาท หรือร้อยละ 17 สาเหตุหลักคือ ผลตอบแทนจากการลงทุนของ บฟร. และ บฟข. ลดลง 6 ล้านบาท เนื่องจากจำนวนเงินฝากที่ลดลง และรายได้อื่นๆลดลง 1 ล้านบาท 3) รายได้จากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 1,171 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 8 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1 สำหรับกลุ่ม ธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ประกอบด้วย 5 บริษัท คือ จีอีซี เออีพี เอพีบีพี ทีแอลพี โคเจน และ ร้อยเอ็ด กรีน โดยมีรายละเอียดดังนี้ - รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 1,143 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 16 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 1 รายได้ค่าไฟฟ้ากลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP): หน่วย:ล้านบาท ไตรมาส 1 ปี 2548 ไตรมาส 1 ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง จีอีซี 648 661 (2%) ทีแอลพี โคเจน 403 396 2% เอพีบีพี 54 69 (21%) ร้อยเอ็ด กรีน 38 34 12% ทั้งนี้รายได้ส่วนใหญ่เป็นการลดลงจากรายได้ค่าไฟฟ้าของเอพีบีพี ซึ่งมีกำลังการ ผลิตลดลงเนื่องจากการชำรุดของอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานของเครื่องจักรผลิตไฟฟ้า - รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 12 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท ส่วนใหญ่จากดอกเบี้ยรับของ ทีแอลพี โคเจน และ รายได้อื่นๆของ จีอีซี ที่เพิ่มขึ้น - ส่วนแบ่งผลกำไรจากกิจการร่วมค้า คือ เออีพี จำนวน 16 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปี 2547 เนื่องจากมีงานซ่อมบำรุงรักษา หลักในปี 2547 4) รายได้จากกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ จำนวน 199 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากปีก่อน จำนวน 16 ล้านบาท สำหรับกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศประกอบด้วย โคแนล และ โครงการน้ำเทิน 2 (เอ็นทีพีซี) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ - รายได้ค่าไฟฟ้า จำนวน 188 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 4 ซึ่งเกิดจากการผลิตพลังงานไฟฟ้าในปี 2548 สูงกว่าปี 2547 - รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 11 ล้านบาท ลดลง 1 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 5 - ส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการน้ำเทิน 2 ลดลง 9 ล้านบาท เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากโครงการน้ำเทิน 2 บันทึกบัญชีตามวิธีส่วนได้ เสียและได้รับรู้ส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายจนมูลค่าเงินลงทุนเท่ากับศูนย์แล้วตั้งแต่ปี 2547 ในขณะที่ในไตรมาส 1 ปี 2547 มีการรับรู้ส่วนแบ่งค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการ จำนวน 9 ล้านบาท 5) รายได้จากกลุ่มธุรกิจอื่นๆ จำนวน 226 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน จำนวน 62 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 38 สำหรับกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ประกอบด้วย 2 บริษัทย่อยคือ เอสโก และ เอ็กคอมธารา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ รายได้จากกลุ่มธุรกิจอื่นๆ: หน่วย:ล้านบาท ไตรมาส 1 ปี 2548 ไตรมาส 1 ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง รายได้ค่าบริการ -เอสโก 182 122 49% รายได้ค่าน้ำ - เอ็กคอมธารา 41 39 6% - รายได้ค่าบริการ จำนวน 182 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 60 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 49 สาเหตุหลักจากการเพิ่มขึ้นของการให้การบริการบำรุงรักษา การเดิน เครื่องและขายอุปกรณ์เครื่องจักรในการผลิตไฟฟ้าระหว่างเอสโก กับ โรงไฟฟ้า เอลกาลี 2 ประเทศซูดาน - รายได้ค่าน้ำ ของเอ็กคอมธารา จำนวน 41 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน จำนวน 2 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 6 เนื่องจากอัตราค่าน้ำที่เพิ่มขึ้น - รายได้จากดอกเบี้ยรับและรายได้อื่นๆ จำนวน 3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.47 ล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 19 ส่วนใหญ่จากรายได้อื่นๆ ของเอ็กคอมธารา - ส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทย่อยและกิจการร่วมค้าของเอสโก จำนวน 0.08 ล้านบาท ลดลง 1 ล้านบาท ซึ่งมาจาก บริษัท อมตะ เพาเวอร์-เอสโก เซอร์วิส จำกัด (อเมสโก) ที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 3.3 การวิเคราะห์รายจ่าย ค่าใช้จ่ายรวมของ บผฟ. บริษัทย่อย บริษัทร่วม และกิจการร่วมค้า ในปี 2548 จำนวน 2,661 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 252 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 9 แบ่งตามกลุ่มธุรกิจ ดังต่อไปนี้ ค่าใช้จ่ายรวม: หน่วย:ล้านบาท ไตรมาส 1 ปี 2548 ไตรมาส 1 ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง บผฟ. 95 108 (13%) กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) 1,274 1,424 (11%) กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) 1,066 1,158 (8%) กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ (Overseas) 73 106 (31%) กลุ่มธุรกิจอื่นๆ (Others) 153 117 31% 1) ค่าใช้จ่ายของ บผฟ. รวมทั้งสิ้น 95 ล้านบาทเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารทั่วไป ทั้งจำนวน ซึ่งลดลง 14 ล้านบาท หรือร้อยละ 13 เนื่องจากหุ้นกู้ของ บผฟ. ได้ชำระคืน หมดแล้วตั้งแต่เดือนตุลาคม 2547 2) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่ (IPP) จำนวน 1,274 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 151 ล้านบาท หรือร้อยละ 11 รายละเอียด ดังต่อไปนี้ - ต้นทุนขาย จำนวน 725 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 65 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 8 สาเหตุหลักมาจากค่าบำรุงรักษาหลักที่ลดลงของ บฟร. ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายใหญ่(IPP): หน่วย:ล้านบาท ไตรมาส 1 ปี 2548 ไตรมาส 1 ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง บฟร. 416 484 (14%) บฟข. 309 306 1% - ค่าใช้จ่ายในการบริหารและอื่นๆ จำนวน 175 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน จำนวน 5 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 3 สาเหตุหลักจากภาษีเงินได้ของ บฟร. จำนวน 104 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5 ล้านบาท - ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 373 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 91 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 20 แบ่งเป็นการลดลงจาก บฟร. และ บฟข. จำนวน 56 ล้านบาท และ 35 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากจำนวนเงินต้นของเงินกู้ลดลง 3) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) จำนวน 1,066 ล้านบาท ลดลง จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 92 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 8 รายละเอียดดังต่อไปนี้ - ต้นทุนขาย จำนวน 931 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2547 จำนวน 24 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 2 สาเหตุหลักจากต้นทุนขายของจีอีซี ซึ่งลดลงทั้งสิ้น 54 ล้าน บาท เนื่องจากในปี 2547 มีงานบำรุงรักษาหลัก ส่วนต้นทุนขายของเอพีบีพี และทีแอล พีโคเจน เพิ่มขึ้น 15 ล้านบาท จากงานซ่อมบำรุงรักษาที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีต้นทุน ขายของร้อยเอ็ด กรีน เพิ่มขึ้น 9 ล้านบาท เนื่องจากค่าเชื้อเพลิงแกลบที่สูงขึ้น ต้นทุนขายกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้ารายเล็ก (SPP): หน่วย:ล้านบาท ไตรมาส 1 ปี 2548 ไตรมาส 1 ปี 2547 %เปลี่ยนแปลง จีอีซี 539 593 (9%) ทีแอลพี โคเจน 301 294 2% เอพีบีพี 64 50 29% ร้อยเอ็ด กรีน 27 18 47% - ค่าใช้จ่ายในการบริหารและอื่นๆ จำนวน 58 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนทั้งสิ้น 70 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 55 สาเหตุหลักจาก จีอีซี และ ทีแอลพีโคเจน ซึ่ง มีค่าใช้จ่ายลดลง 43 ล้านบาท และ 26 ล้านบาท ตามลำดับ สำหรับค่าใช้จ่ายของ จีอีซี ที่ลดลงนั้นเนื่องจาก ในไตรมาส 1 ปี 2547 มีการปรับปรุงค่าความนิยมที่เกิดจากการ ลงทุนในโครงการจำนวน 43 ล้านบาทและการตัดจ่ายค่าพัฒนาโครงการจำนวน 9 ล้านบาท ส่วนทีแอลพี โคเจน มีค่าใช้จ่ายในการบริหารลดลง 26 ล้านบาทเนื่องจากใน ปี 2547 มี Refinancing Fee - ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 77 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 2 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 3 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยจ่าย ของ ทีแอลพี โคเจน ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น 4) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าต่างประเทศ จำนวน 73 ล้านบาท ลดลงจาก ช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 33 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 31 รายละเอียดดังต่อไปนี้ - ต้นทุนขาย จำนวน 39 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 0.01 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 0.02 - ค่าใช้จ่ายในการบริหารและอื่นๆ จำนวน 19 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน จำนวน 32 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 63 เนื่องจากมีการปรับปรุงภาษีเงินได้รอการ ตัดจ่ายของปี 2547 - ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 16 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 4 เนื่องจากเงินต้นลดลง 5) ค่าใช้จ่ายของกลุ่มธุรกิจอื่นๆ จำนวน 153 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน จำนวน 36 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 31 รายละเอียดดังต่อไปนี้ - ต้นทุนบริการ จำนวน 110 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 32 ล้านบาท หรือร้อยละ 41 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการให้บริการบำรุงรักษาและ เดินเครื่องของ เอสโก ซึ่งสอดคล้องกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น - ต้นทุนขายน้ำประปา จำนวน 13 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 8 มาจาก เอ็กคอมธารา เนื่องจากค่าจ้างผลิต น้ำประปาและบำรุงรักษาระบบผลิตและท่อส่งน้ำประปาลดลง - ค่าใช้จ่ายในการบริหารและอื่นๆ จำนวน 28 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน ของปีก่อน จำนวน 7 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 30 สาเหตุหลักจาก เอสโก ซึ่งสอดคล้อง กับรายได้ที่เพิ่มขึ้น - ดอกเบี้ยจ่าย จำนวน 2 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 1 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 40 เนื่องจากเงินต้นคงเหลือของ เอ็กคอมธารา ลดลง 4. รายงานและวิเคราะห์ฐานะการเงิน 4.1 การวิเคราะห์สินทรัพย์ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 บผฟ. บริษัทย่อย บริษัทร่วมและกิจการร่วมค้า มี สินทรัพย์รวมจำนวน 56,988 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,921 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 3 เมื่อ เทียบกับสิ้นปี 2547 โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้ 1) เงินสด เงินฝากสถาบันการเงิน เงินลงทุนในหลักทรัพย์ในความต้องการของ ตลาด ทั้งระยะสั้นและระยะยาว จำนวน 9,297 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 1,957 ล้านบาท หรือร้อยละ 27 ส่วนใหญ่มาจากเงินสดและ รายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น 1,693 ล้านบาท เงินฝากสถาบันการเงินและ หลักทรัพย์ในความต้องการตลาดระยะสั้นซึ่งเพิ่มขึ้นจำนวน 230 ล้านบาท เงินลงทุน ระยะยาวในหลักทรัพย์ในความต้องการตลาดและอื่นๆเพิ่มขึ้น จำนวน 35 ล้านบาท 2) เงินลงทุนระยะสั้นและระยะยาวที่ใช้เป็นหลักประกัน จำนวน 7,684 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 265 ล้านบาท หรือร้อยละ 4 โดย ในไตรมาสนี้ เจ้าหนี้เงินกู้ของ บฟร. ได้อนุมัติการลดระดับเงินสำรองในบัญชี หลักประกัน Foreign Exchange Reserve Account (FEXRA) ลงเหลือ 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และอนุมัติให้นำหนังสือค้ำประกันธนาคารไปวางแทนเงินสำรองใน บัญชีหลักประกัน Debt Service Reserve Account (DSRA) จำนวน 13.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 3) เงินลงทุนในบริษัทย่อย บริษัทร่วมและส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า จำนวน 414 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1 ของสินทรัพย์รวม เพิ่มขึ้น 16 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 4 เกิดจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจาก เออีพี 4) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ จำนวน 31,035 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54 ของสินทรัพย์รวม ลดลง 248 ล้านบาท หรือร้อยละ 1 สาเหตุจากการตัดค่าเสื่อม ราคาของสินทรัพย์ บผฟ. และบริษัทย่อยอื่นๆ จำนวน 614 ล้านบาท และการโอนวัสดุ สำรองหลักที่ไม่ได้ใช้งานออกไปยังวัสดุสำรองคลังของ ทีแอลพีโคเจน และ บฟข. จำนวน 23 ล้านบาท และ 7 ล้านบาทตามลำดับ ในขณะที่สินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ มาจาก การก่อสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมของ จีอีซี จำนวน 208 ล้านบาท การบันทึกวัสดุ สำรองหลักเป็นต้นทุนของสินทรัพย์เนื่องจากการซ่อมบำรุงรักษาของ บฟร. และ ทีแอล พีโคเจน จำนวน 106 ล้านบาท และ 28 ล้านบาท ตามลำดับ และ ผลกระทบจากการ แปลงค่างบการเงินของสินทรัพย์ของบริษัทที่อยู่ในต่างประเทศเพิ่มขึ้น จำนวน 31 ล้านบาท 5) สินทรัพย์อื่นๆ จำนวน 8,557 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของสินทรัพย์ รวม ลดลง 69ล้านบาท หรือร้อยละ 1 ส่วนใหญ่เป็นผลจากการลดลงของลูกหนี้การค้า และลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกันจำนวน 605 ล้านบาท ในขณะที่เงินให้กู้ยืม ระยะยาวของ บผฟ. แก่ เอ็นทีพีซี เพิ่มขึ้นจำนวน 236 ล้านบาท และสินทรัพย์อื่นๆ เพิ่มขึ้น 300 ล้านบาท 4.2 การวิเคราะห์หนี้สิน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 บริษัทมีหนี้สินรวม จำนวน 26,268 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 304 ล้านบาท หรือร้อยละ 1 เนื่องจากดอกเบี้ยค้างจ่ายที่เพิ่มขึ้นและการเบิกจ่ายเงินกู้ เพิ่มเติม ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) เงินกู้ยืมระยะยาวและหุ้นกู้ จำนวน 24,068 ล้านบาท หรือร้อยละ 92 ของ หนี้สินรวม เพิ่มขึ้น 135 ล้านบาท หรือร้อยละ 1 โดยมีรายละเอียดเป็นเงินตราสกุล ต่างๆ ดังนี้ - เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 321 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ - เงินกู้สกุลเยน จำนวน 1,115 ล้านเยน - เงินกู้สกุลเปโซ จำนวน 87 ล้านเปโซ - เงินกู้สกุลบาท จำนวน 5,657 ล้านบาท - หุ้นกู้สกุลบาท จำนวน 5,558 ล้านบาท ในไตรมาส 1 ปี 2548 เงินกู้สกุลบาทเพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 267 ล้านบาทจากการ เบิกจ่ายเงินกู้ในการสร้างโรงไฟฟ้าของ จีอีซี ในขณะที่ เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ และ เยน ลดลงรวมทั้งสิ้น 138 ล้านบาท ส่วนใหญ่จากการชำระคืนเงินต้นของ ทีแอลพีโคเจน จีอีซี ร้อยเอ็ดกรีน และ เอพีบีพี ส่วนหุ้นกู้สกุลบาทไม่มีการเปลี่ยนแปลง 2) หนี้สินอื่นๆ จำนวน 2,200 ล้านบาทหรือร้อยละ 8 ของหนี้สินรวม ได้แก่ เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ระยะสั้น 115 ล้านบาท เจ้าหนี้การค้า 467 ล้านบาท เจ้าหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน 62 ล้านบาท ดอกเบี้ยค้างจ่าย 479 ล้านบาท ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้ค้างจ่าย 514 ล้านบาท เงินปันผลค้างจ่าย 13 ล้านบาท และ อื่นๆ 550 ล้านบาท 4.3 การวิเคราะห์ส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 ส่วนของผู้ถือหุ้น ซึ่งไม่รวมหุ้นที่ซื้อคืนแล้ว เป็นเงิน จำนวน 30,720 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน 1,617 ล้านบาท เนื่องจากปัจจัยหลัก คือ บผฟ. มีกำไรจากผลการดำเนินงาน จากการวิเคราะห์โครงสร้างของเงินทุน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 สรุปได้ดังนี้ ส่วนของผู้ถือหุ้น จำนวน 30,720 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 53.91 หนี้สิน จำนวน 26,268 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.09 สามารถคำนวณหา อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ ได้ดังนี้ - อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น เท่ากับ 0.86 เท่า ต่ำกว่าสิ้นปี 2547 ซึ่ง อยู่ที่ระดับ 0.89 เท่า - มูลค่าตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิต่อหุ้น เท่ากับ 56.46 บาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปี 2547 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 53.55 บาท 5. รายงานและวิเคราะห์กระแสเงินสด งบกระแสเงินสดแสดงกระแสเงินสดที่เปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมดำเนินงาน กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน ณ สิ้นงวดบัญชี และแสดงเงินสดและรายการ เทียบเท่าคงเหลือสิ้นงวด ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 เงินสดและรายการเทียบเท่า คงเหลือ เป็นเงินจำนวน 3,544 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากต้นงวดจำนวน 1,693 ล้านบาท ซึ่งมีรายละเอียดของแหล่งที่มาและแหล่งที่ใช้ไปของเงินดังต่อไปนี้ - เงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมดำเนินงาน จำนวน 2,034 ล้านบาท ส่วน ใหญ่มาจากเงินสดที่ได้จากดำเนินงาน 2,043 ล้านบาท และการเปลี่ยนแปลงใน สินทรัพย์และหนี้สินหมุนเวียนลดลง 9 ล้านบาท - เงินสดสุทธิที่ใช้ไปในกิจกรรมลงทุน จำนวน 504 ล้านบาท โดยลงทุนในเงิน ฝากสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นจำนวน 304 ล้านบาท เงินลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ของ จีอีซี จำนวน 181 ล้านบาท และ บผฟ. ให้กู้ยืมเงินแก่ เอ็นทีพีซี จำนวน 232 ล้านบาท ในขณะที่ได้รับเงินสดจากการจำหน่ายเงินลงทุนระยะสั้น จำนวน 69 ล้านบาท และได้รับเงินปันผลจากบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก กองทุน เปิดกรุงไทยหุ้นผสมตราสารหนี้ปันผลและกองทุนเปิดอื่นๆ จำนวน 61 ล้านบาท 91 ล้านบาท และ 14 ล้านบาทตามลำดับ - เงินสดสุทธิที่ได้มาจากกิจกรรมจัดหาเงิน จำนวน 165 ล้านบาท เนื่องจาก สาเหตุหลักคือการเบิกเงินกู้เพิ่มของ จีอีซี จำนวน 372 ล้านบาท ในขณะที่มีการชำระ คืนเงินกู้ของ ทีแอลพี โคเจน ร้อยเอ็ดกรีน เอพีบีพี และจีอีซี จำนวน 193 ล้านบาท |