15:40:32 PM
  หัวข้อข่าว : SMIT :สรุปข้อสนเทศ : SMIT

                                                                        - สรุปข้อสนเทศ -
                                            บริษัท สหมิตรเครื่องกล จำกัด (มหาชน) (SMIT)

ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ 42,48 ซอยโชคชัยจงจำเริญ ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
โทรศัพท์  0-2295-1000-8, 0-2295-1901-9 โทรสาร 0-2295-1009, 0-2295-1020

ที่ตั้งคลังสินค้า 229, 492  ซอยโชคชัยจงจำเริญ  ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
152  หมู่ 14  ถนนสุขุมวิทสายเก่า  ตำบลบางปะกง  อำเภอบางปะกง  จังหวัดฉะเชิงเทรา

เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน            เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2548  (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 18 พฤษภาคม 2548)

ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน     หุ้นสามัญ 530,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวม 530,000,000 บาท

ตลาดรอง                                     ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ราคาเสนอขาย                             2.75 บาท

ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน  
บริษัทเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายวัตถุดิบ  เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ที่หลากหลายพร้อมบริการครบวงจร
ให้กับภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่สำคัญของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ชิ้นส่วนและเครื่องมือ  
อุตสาหกรรมรถยนต์  อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ และอุตสาหกรรมกระดาษ เป็นต้น  ในปัจจุบันบริษัทได้ทำ
การจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการออกเป็น 6 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์เหล็กแข็งสำหรับทำแม่พิมพ์และเครื่องมือ (Special Steel)  
ผลิตภัณฑ์                      
- เหล็กแข็งสำหรับทำแม่พิมพ์และเครื่องมือ
- เข็มกระทุ้งแม่พิมพ์พลาสติก
- ใบเลื่อยสายพาน ใบเลื่อยวงเดือนสำหรับตัดเหล็กและโลหะ และอลูมิเนียมอัลลอยด์

บริการ                           
- บริการแปรรูปเหล็กแข็งขั้นต้น เช่น ตัด ปาด เจียร เจาะรู และอื่น ๆ ด้วยเครื่องจักรกลกว่า 75 เครื่อง

ผู้จัดจำหน่ายสินค้าที่สำคัญให้บริษัท          
- เหล็กแข็งของ BOHLER INTERNATIONAL GMBH ประเทศออสเตรีย  ซึ่งบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายเพียง
รายเดียวในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528
- เข็มกระทุ้ง บริษัท เค.เอส. โมลด์ พร์ท จำกัด ซึ่งบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายเพียงรายเดียวในประเทศไทย

2. ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลโรงงาน (Machine Tools)       
ผลิตภัณฑ์                      
- เครื่องจักรกลโรงงานที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Numerically Controlled Machine: 
CNC Machine) ยี่ห้อ CHARMILLES ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ KITAMURA ประเทศญี่ปุ่น และ 
HARDINGE ประเทศไต้หวัน

บริการ   
- บริษัทให้คำปรึกษาในการเลือกใช้เครื่องจักรกล  ให้บริการฝึกอบรมการใช้งาน และให้บริการซ่อมเครื่อง
จักรกลด้วยอะไหล่ที่มีคุณภาพ  โดยทีมวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ

ผู้จัดจำหน่ายสินค้าที่สำคัญให้บริษัท   
- เครื่อง CNC ของ AGIE CHARMILLES TECHNOLOGIES (S.E.A.) PTE LTD ประเทศสวิตเซอร์แลนด์  
ซึ่งบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายเพียงรายเดียวในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517

3. ผลิตภัณฑ์เครื่องมืออุปกรณ์ (Tooling)        
ผลิตภัณฑ์  
- ดอกกัดและมีดเล็บซึ่งมีให้เลือกครอบคลุมการใช้งานทุกประเภท ตั้งแต่การกัดชิ้นงานเล็กบนเครื่องจักร
ขนาดเล็ก จนถึงการกัดงานหนักบนเครื่องจักรขนาดใหญ่ โดยมีลักษณะการใช้งานต่างๆ เช่น งานปาดผิว 
กัดบ่า ปาดฉาก กัดร่อง เป็นต้น
- เครื่องมือวัดขนาดชิ้นงานและเครื่องมือวัดระยะแบบดิจิตอล
- อุปกรณ์จับเครื่องมือซึ่งใช้ประกอบกับเครื่องจักรกลทุกประเภท

ผู้จัดจำหน่ายสินค้าที่สำคัญให้บริษัท   
- ดอกกัดและมีดเล็บ SECO จาก SECO TOOL AB ของประเทศสวีเดน
- อุปกรณ์จับเครื่องมือ REGO-FIX จาก REGO-FIX AG REIGOLDSWIL ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์

4. ผลิตภัณฑ์กลุ่มกระดาษ (Paper)        
ผลิตภัณฑ์  
- กระดาษสำหรับงานพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ กระดาษหนังสือพิมพ์ (Newsprint),  กระดาษพิมพ์เขียน
ปอนด์ขาว (Printing & Writing Paper) เป็นต้น
- ตัวแทนขายเครื่องตัดและเครื่องกรอกระดาษจากต่างประเทศ
- ผู้จัดหาเครื่องจักร ชิ้นส่วน อุปกรณืเครื่องจักรทุกชนิด ที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิต  กระดาษและเยื่อกระดาษ 
นำเข้าเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนการผลิต

บริการ   
- บริการตัดและกระดาษตามขนาดที่ต้องการ
- บริการจัดหากระดาษตามความต้องการ

ผู้จัดจำหน่ายสินค้าที่สำคัญให้บริษัท   
- โรงงานผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์ SOLIKAMSABUMPROM ประเทศรัสเซีย ซึ่งบริษัทนำเข้ามาตั้งแต่
ปี 2526

5. ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมไม้ (Machinery and Equipment for Wood Processing) 
ผลิตภัณฑ์  
- กระดาษทรายอุตสาหกรรมยี่ห้อ HERMES ของประเทศเยอรมนี
- ใบมีดอุตสาหกรรมยี่ห้อ TOYO KNIFE ของประเทศญี่ปุ่น
- วัสดุปิดขอบเฟอร์นิเจอร์  เครื่องปิดขอบเฟอร์นิเจอร์

บริการ   
- บริการแปรรูปและตัดต่อกระดาษทรายตามขนาดที่ลูกค้าต้องการ

ผู้จัดจำหน่ายสินค้าที่สำคัญให้บริษัท   
- กระดาษทรายอุตสาหกรรมของ HERMES SCHLEIFMITTEL GMBH & Co. ประเทศเยอรมนี  ซึ่งบริษัท
เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2539 และบริษัทยังได้รับการถ่ายทอด
เทคโนโลยีในการแปรรูปกระดาษทรายจาก HERMES โดยตรง
- ใบมีดอุตสาหกรรม TOYO KNIFE Co. ประเทศญี่ปุ่นซึ่งบริษัทได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่
เพียงผู้เดียวในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2519

6. ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับไฟฟ้า (Electrical Engineering) 
ผลิตภัณฑ์  
- ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้ายี่ห้อ ISKRA ที่ผลิตจากประเทศสโลวาเนีย ประกอบด้วย ระบบควบคุมและสั่งการระยะไกล
ภายในสถานีไฟฟ้าด้วยคอมพิวเตอร์, เครื่องมือวัดปริมาณทางไฟฟ้าอุปกรณ์ตัดต่อกระแสไฟฟ้าที่ใช้ระบบ
ไฟฟ้าแรงต่ำ และตัวเก็บประจุไฟฟ้า เป็นต้น

ผู้จัดจำหน่ายสินค้าที่สำคัญให้บริษัท   
- ISKRA GROUP ประเทศสโลวาเนีย  ซึ่งบริษัทได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวใน
ประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2544

โครงสร้างรายได้
                                                                                                                                   
            หน่วย: พันบาท
           รายการ                                                                        งบการเงินรวม           
                                                                                   2544                             2545           
              2546     
                                                                   จำนวนเงิน   ร้อยละ     จำนวนเงิน   ร้อยละ     จำนวนเงิน  ร้อยละ 
        
1. ผลิตภัณฑ์เหล็กแข็งสำหรับทำแม่พิมพ์      401,728     38.70         459,215    42.29        563,996     44.51    
   และเครื่องมือ
2. ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลโรงงาน                165,482      15.94         186,595    17.19       239,308      18.89    
3. ผลิตภัณฑ์เครื่องมืออุปกรณ์                        83,893        8.08           79,197      7.29         81,530        6.43      
      
4. ผลิตภัณฑ์กลุ่มกระดาษ      
   - บริษัท                                                     252,830      24.36         216,516    19.94        248,434      19.
61            
   - บริษัท คอมแพคเปเปอร์ จำกัด                   68,757        6.62           58,678      5.40         45,614        3.60         

     รวมผลิตภัณฑ์กลุ่มกระดาษ                     321,587      30.98         275,194    25.34        294,048      23.21           
5. ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรและอุปกรณ์                55,407        5.34           54,003      4.97          71,300       5.63          
 
   สำหรับอุตสาหกรรมไม้
6. ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับไฟฟ้า                                        -            -            27,057      2.49             9,134     
  0.72   
     รวมรายได้จากธุรกิจหลัก                      1,028,097      99.04      1,081,261    99.58       1,259,316    99.38 
รายได้อื่น ๆ                                                      9,953        0.96             4,529      0.42              7,826 
     0.62 
     รายได้รวม                                            1,038,050    100.00      1,085,790   100.00      1,267,142   100.00   

                                                                     งบการเงินเฉพาะบริษัท
           รายการ                                                                                        2547              31 มีนาค
ม 2548        
                                                                                                 จำนวนเงิน   ร้อยละ   จำนวนเงิน    
ร้อยละ       
1. ผลิตภัณฑ์เหล็กแข็งสำหรับทำแม่พิมพ์และเครื่องมือ             707,240      49.94        224,791      47.73        
2. ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลโรงงาน                                             337,853       23.86       116,433      24.72
3. ผลิตภัณฑ์เครื่องมืออุปกรณ์                                                     92,459        6.53          27,636       5.87
4. ผลิตภัณฑ์กลุ่มกระดาษ                                                          168,580      11.90          74,154      15.74    
5. ผลิตภัณฑ์เครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมไม้        84,413        5.96          14,978        3.18
6. ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับไฟฟ้า                                                             4,648        0.33           1,091         0.
23
     รวมรายได้จากธุรกิจหลัก                                                   1,395,193       98.52       459,082      97.47
รายได้อื่น ๆ                                                                                 20,890         1.10         11,901    
    2.53
     รายได้รวม                                                                         1,416,083    100.00        470,983    100.00
    

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม        - ไม่มี -

สรุปสาระสำคัญของสัญญา      
บริษัทมีการทำสัญญาที่สำคัญดังนี้ 
1. BOHLER INTERNATIONAL GMBH    ได้ทำสัญญาแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายเพียงรายเดียวในประเทศ 
ไทยของผลิตภัณฑ์เหล็กแข็งสำหรับทำแม่พิมพ์และเครื่องมือมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528  โดยสัญญาฉบับล่าสุดจัดทำ
ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2536  ซึ่งเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดอายุสัญญาแต่สามารถยกเลิกได้โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
ล่วงหน้า 3 เดือน
2. บริษัท เค.เอส.โมลด์พาร์ท จำกัด    ได้ทำสัญญาแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายเพียงรายเดียวในประเทศไทย
ของผลิตภัณฑ์เข็มกระทุ้งแม่พิมพ์พลาสติก  โดยเป็นสัญญาแบบปีต่อปี  สัญญาฉบับล่าสุดจัดทำขึ้นเมื่อ
เดือนมิถุนายน 2547 อายุสัญญา 1 ปี ระบุว่า จะใช้ราคาซื้อขายกันที่ราคาต้นทุนบวกกำไร
3. AGIE CHARMILLES TECHNOLOGIES (S.E.A.) PTE LTDได้ทำสัญญาแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่
เพียงรายเดียวในประเทศไทยของผลิตภัณฑ์เครื่องจักรกลโรงงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2517  โดยสัญญาฉบับล่าสุด
จัดทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2526 ซึ่งเป็นสัญญาปีต่อปี สามารถบอกยกเลิกสัญญาได้โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วง
หน้าเป็นเวลา 3 เดือน
4. SOLIKAMSKBUMPROM     บริษัทได้ทำสัญญาจองกระดาษล่วงหน้าเป็นรายปี โดยสัญญาจะระบุปริมาณที่ 
SOLIKAMSKBUMPROM ต้องสำรองกระดาษไว้ให้บริษัท และทยอยส่งมอบเป็นรายเดือน  โดยบริษัทสามารถ
ซื้อน้อยกว่าหรือมากกว่าในสัญญาได้  แต่ SOLIKAMSKBUMPROM ต้องมีกระดาษสำรองให้บริษัทอย่างน้อย
เท่ากับสัญญาที่ทำไว้ล่วงหน้า

การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ     - ไม่มี -

การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ      - ไม่มี -

โครงการดำเนินงานในอนาคต  
ในปี 2549 บริษัทมีแผนที่จะเปิดให้บริการชุบแข็งเหล็กซึ่งเป็นบริการต่อเนื่องของกลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็กแข็ง
สำหรับทำแม่พิมพ์และเครื่องมือ (Special Steel) โดยปัจจุบันลูกค้าที่ซื้อเหล็กแข็งเพื่อนำไปขึ้นรูปแม่พิมพ์
หรือเครื่องมือจะต้องนำไปชุบแข็งเหล็กเพื่อเพิ่มความแข็งแรงทนทานของแม่พิมพ์หรือเครื่องมือก่อนนำไป
ใช้งาน และบริการดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมายที่จะเป็นผู้ให้บริการครบวงจร (One Stop Services) แก่
อุตสาหกรรมผลิตแม่พิมพ์และเครื่องมือ ทั้งนี้ บริษัทคาดว่าต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 130 ล้านบาทเพื่อเป็น
ค่าที่ดิน อาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยบริษัทมีแผนที่จะเริ่มดำเนินโครงการและติดตั้งเครื่องจักรในปี 2548 
โดยมีรายละเอียดของโครงการดังนี้ 
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อให้บริการชุบแข็งเหล็กซึ่งเป็นบริการต่อเนื่องของกลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็กแข็งสำหรับทำแม่พิมพ์และ
เครื่องมือ (Special Steel) ซึ่งจะทำให้บริษัทมีบริการที่ครบวงจรแก่อุตสาหกรรมผลิตแม่พิมพ์และเครื่องมือ

กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
- กลุ่มลูกค้าเดิม: กลุ่มผู้ผลิตแม่พิมพ์ เครื่องมือ และอุปกรณ์ สำหรับอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันซื้อเหล็กแข็ง
สำหรับทำแม่พิมพ์จากบริษัทอยู่แล้ว 
- กลุ่มลูกค้าใหม่: กลุ่มลูกค้าที่ต้องการบริการชุบแข็งเหล็กทั่วไป  ตั้งแต่การซื้อเหล็กแข็งสำหรับทำแม่พิมพ์ 
พร้อมบริการแปรรูปขั้นต้น และบริการชุบแข็งเหล็กแม่พิมพ์ที่ผ่านการชุบแข็งเหล็กส่วนใหญ่จะใช้ใน
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-  เพิ่มรายได้และกำไรจากจากค่าบริการชุบแข็งเหล็ก ซึ่งลูกค้าเดิมที่ซื้อเหล็กแข็งจากบริษัทต้องนำไปชุบแข็ง
เหล็กที่อื่นอยู่แล้ว 
- ลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเรียกร้องค่าเสียหายของเหล็กแข็งจากบริษัท กรณีที่ซื้อเหล็กแข็งกับบริษัทแล้ว
นำไปชุบแข็งเหล็กที่อื่นแล้วมีปัญหา ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากคุณภาพเหล็กหรือคุณ
ภาพของการชุบ 
- ขยายฐานลูกค้าใหม่ที่ต้องการบริการชุบแข็งเหล็กที่มีคุณภาพ และรักษาฐานลูกค้าเดิมด้วยการขยายการ
บริการที่ครบวงจร 
- ในอนาคตสามารถผลิตวัสดุสิ้นเปลือง เช่น ใบมีด ใบเลื่อยที่บริษัทเคยต้องนำเข้า และจำหน่ายให้กับฐาน
ลูกค้าเดิมซึ่งซื้อใบมีดนำเข้าจากบริษัทอยู่แล้ว

ความคืบหน้าของโครงการ
- บริษัทได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคารโดยใช้เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงิน ที่ อ.บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่ง
เป็นพื้นที่ติดกับคลังสินค้าปัจจุบันของบริษัท โดยปัจจุบันบริษัทกำลังปรับปรุงอาคารเพื่อใช้ในการติดตั้ง
เครื่องจักรและอุปกรณ์ 
- บริษัทอยู่ระหว่างการศึกษาทางด้านเทคนิคเพื่อเลือกเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีเหมาะสม โดยบริษัทได้
แต่งตั้งทีมที่ปรึกษาซึ่งมีความชำนาญเรื่องการชุบแข็งเหล็กมาให้คำแนะนำสำหรับโครงการดังกล่าว

รายการระหว่างกัน  
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปี 2546 และ 2547 บริษัทมีการทำรายการกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้ง สรุปได้ดังนี้
1. บริษัท คอมแพคเปเปอร์ จำกัด
ความสัมพันธ์:      
        เดิมบริษัทถือหุ้นใน บจก. คอมแพคเปเปอร์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 92.71 ของทุนจดทะเบียน  
แต่บริษัทได้ขายเงินลงทุนไปเมื่อ 31 มีนาคม 2547 ให้แก่ผู้บริหารของบริษัท คือ นายชัยศิลป์ แต้มศิริชัย, 
นายประสงค์ ศรีธรรัตน์กุล และนายปราโมทย์ ศิวรักษ์ ซึ่งเกี่ยวข้องเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการร่วมกันใน 
บจก. คอมแพคเปเปอร์

ลักษณะรายการ:   
         (1)  ปี 2547 บริษัทซื้อกระดาษจาก บจก. คอมแพคเปเปอร์ เพื่อรับซื้อสินค้าคงเหลือในส่วนที่
สามารถนำมาขายได้เป็นจำนวน 1.61 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อขายครั้งเดียว เพราะบจก. คอมแพคเปเปอร์
จะปิดกิจการและมีสินค้าคงคลังเหลืออยู่ ซึ่งราคาซื้อเป็นราคาตลาดที่บริษัทซื้อจากผู้จัดจำหน่ายรายอื่น 
และรายการซื้อดังกล่าวเป็นการซื้อมาขายไป ทำให้บริษัทมีกำไรจากกระดาษดังกล่าว
         (2)  ปี 2547  บริษัทซื้อรถยนต์จาก บจก. คอมแพคเปเปอร์ เพื่อนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจของ
บริษัทเป็นจำนวน 0.41 ล้านบาท โดยเป็นการซื้อครั้งเดียว เนื่องจาก บจก. คอมแพคเปเปอร์จะปิดกิจการ  
ซึ่งรถยนต์ดังกล่าวไม่ได้ใช้งานและอยู่ในสภาพดี สามารถใช้งานได้ ประกอบกับบริษัทมีความต้องการ
ใช้รถยนต์เพื่อขนส่งกระดาษ และเป็นราคาตลาดที่มีการตรวจสอบราคากลางจากหนังสือรถยนต์และให้
ผู้ประกอบการซื้อรถมือสองมาประเมินราคารถยนต์ เพื่อกำหนดราคาซื้อขาย
        (3)  ปี 2547  บริษัทกู้ยืมเงินระยะสั้นจาก บจก. คอมแพคเปเปอร์ จำนวน 12.50 ล้านบาทและได้ชำระ
เงินกู้จำนวนดังกล่าวแล้ว 

2. บริษัท เค.เอส.โมลด์ พาร์ท จำกัด
ความสัมพันธ์:      
         บริษัท สหมิตร โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งถือหุ้นโดยผู้บริหารของบริษัทเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นร่วมกัน คือ 
นายชัยศิลป์  แต้มศิริชัย, นายประสงค์  ศรีธรรัตน์กุล, นายปราโมทย์  ศิวรักษ์ ได้เข้าไปถือหุ้นใน บจก. เค.เอส.
โมลด์ พาร์ท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40 ของทุนจดทะเบียน แต่อำนาจการควบคุม บจก. เค.เอส. โมลด์ พาร์ท 
จะอยู่ที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น คือ Kanzaki Mfg. Co., Ltd. และ Katsuki Corporation

ลักษณะรายการ:    
         (1) บริษัทเป็นผู้จำหน่ายเข็มกระทุ้งแม่พิมพ์ให้กับ บจก. เค.เอส.โมล์ด พาร์ท จึงมีรายการซื้อเข็มกระทุ้ง
แม่พิมพ์ ในปี 2546 และ 2547 เป็นจำนวน 78.48 ล้านบาท และ 88.45 ล้านบาท ตามลำดับ  ซึ่งเป็นรายการค้า
ปกติ  เนื่องจากเป็นราคาต้นทุนบวกกำไร  โดยบริษัทนำไปจำหน่ายต่อให้กับลูกค้า และไม่ต้องสำรองสินค้า
คงคลัง ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทมีกำไรรายการดังกล่าว
         (2) ในปี 2546 และ 2547 บริษัทได้จัดจำหน่ายสินค้าให้กับ บจก. เค.เอส. โมลด์ พาร์ท เป็นจำนวน 2.35 
ล้านบาท และ 1.39 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการค้าปกติ  เนื่องจากราคาขายเป็นราคาตลาด ซึ่งเป็นราคาเดียวกับที่
จำหน่ายให้กับลูกค้ารายอื่น

3. บริษัท เหรียญทองวิทยา จำกัด
ความสัมพันธ์:      
         นายเกรียงไกร บุญญกิตติเจริญ ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัท มีตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารใน 
บจก. เหรียญทองวิทยา

ลักษณะรายการ:    
        ปี 2546 และ 2547 บริษัทขายกระดาษให้แก่ บจก. เหรียญทองวิทยา ที่ราคาตลาดเป็นจำนวน 0.51 
ล้านบาท และ 0.43 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งราคาดังกล่าวถือเป็นราคาตลาด และเป็นรายการค้าปกติ

4. บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน)
ความสัมพันธ์:      
         นายพรศิลป์  แต้มศิริชัย ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท และเป็นกรรมการมีอำนาจลงนามร่วมใน 
บมจ. น้ำตาลขอนแก่น

ลักษณะรายการ:    
         (1) ปี 2546 และ 2547 บริษัทขายเหล็กเพลาและอะไหล่ที่ใช้ในโรงงานน้ำตาลให้แก่ บมจ. น้ำตาล
ขอนแก่น เป็นจำนวน 5.18 ล้านบาท และ 2.74 ล้านบาท ตามลำดับ  ซึ่งเป็นรายการค้าปกติ
        (2) ปี 2547 บริษัทซื้อไม้ MDF จาก บมจ. น้ำตาลขอนแก่น เป็นจำนวน 0.30 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายการ
ค้าปกติ

5. บริษัท มหาชัยคราฟท์เปเปอร์ จำกัด
ความสัมพันธ์:      
         นายแสงชัย  โสตถีวรกุล ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท และมีตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารและผู้ถือหุ้น
ใน บจก. มหาชัยคราฟท์เปเปอร์

ลักษณะรายการ:    
         บริษัทซื้อกระดาษคราฟท์จาก บจก. มหาชัยคราฟท์เปเปอร์ เพื่อนำไปจำหน่ายต่อ (Trading) โดยซื้อ
ในราคาตลาด ในปี 2546 และ 2547 เป็นจำนวน 0.15 ล้านบาท และ 0.31 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายการค้าปกติ

6. บริษัท ฮั่วกี่เปเปอร์ จำกัด
ความสัมพันธ์:      
         นายพิชัย  นิธิวาสิน กรรมการบริษัท  และมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ ใน บจก. ฮั่วกี่เปเปอร์

ลักษณะรายการ:    
        บริษัทจำหน่ายกระดาษปรู๊ฟให้แก่ บจก. ฮั่วกี่เปเปอร์ ในราคาตลาด ปี 2546 เท่ากับ 4.06 ล้านบาท 
ซึ่งเป็นรายการค้าปกติ

7. คุณถวัลย์วิทย์  แต้มศิริชัย
ความสัมพันธ์:      
         เป็นบุตรชายของคุณพรศิลป์  แต้มศิริชัย (กรรมการบริษัท) ประกอบกับเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท คิดเป็น
ร้อยละ 2.05

ลักษณะรายการ:    
        บริษัทกู้ยืมเงินจากคุณถวัลวิทย์  แต้มศิริชัย เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน  ซึ่งเป็นสัญญาเงินกู้ประเภทจ่าย
คืนเมื่อทวงถาม และอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามการระบุในสัญญา โดยอัตราดังกล่าวเป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับ
อัตราในตลาด  และการกู้ยืมดังกล่าว ไม่มีหลักประกัน ทำให้มีความคล่องตัว  ซึ่งบริษัทได้กู้ยืมเงินดังกล่าว
มาในปี 2545 จำนวน 20 ล้านบาท และได้ชำระคืนทั้งจำนวนแล้วในไตรมาสที่ 4 ปี 2547

8. คุณเพ็ญศรี  สกุลทอง
ความสัมพันธ์:      
         คุณเพ็ญศรี  สกุลทอง  เกี่ยวข้องกับคุณประสงค์  ศรีธรรัตน์กุล (กรรมการบริษัท) ในฐานะญาติผู้ใหญ่

ลักษณะรายการ:    
         บริษัทกู้ยืมเงินจากคุณเพ็ญศรี  สกุลทอง  เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน  โดยเป็นสัญญาเงินกู้ยืมประเภท
จ่ายคืนเมื่อทวงถาม และอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามการระบุในสัญญา  ซึ่งอัตราดังกล่าวเป็นอัตราที่ใกล้เคียง
กับอัตราในตลาด  การกู้ยืมดังกล่าวมีความคล่องตัว เนื่องจากไม่ต้องมีหลักประกัน  ซึ่งบริษัทได้กู้ยืมเงิน
ดังกล่าวในช่วงต้นปี 2547 เป็นจำนวน 30 ล้านบาท และได้ชำระคืนครบทั้งจำนวนแล้วในเดือนพฤษภาคม 
2547

9. คุณพรศิลป์  แต้มศิริชัย
ความสัมพันธ์:     
         คุณพรศิลป์  แต้มศิริชัย  เกี่ยวข้องกับบริษัทในฐานะกรรมการและผู้ถือหุ้น คิดเป็นร้อยละ 2.86

ลักษณะรายการ:    
         (1) บริษัทกู้ยืมเงินจากคุณพรศิลป์  แต้มศิริชัย เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน  ซึ่งเป็นสัญญาเงินกู้ยืม
ประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถาม และอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามการระบุในสัญญา โดยอัตราดังกล่าวเป็นอัตรา
ที่ใกล้เคียงกับอัตราในตลาด  การกู้ยืมดังกล่าวมีความคล่องตัว เนื่องจากไม่ต้องมีหลักประกัน  ซึ่งบริษัท
ได้กู้ยืมเงินดังกล่าวในปี 2545 จำนวน 3 ล้านบาท และได้ชำระคืนเรียบร้อยแล้วในปี 2547
        (2) บริษัทได้ว่าจ้างให้คุณพรศิลป์  แต้มศิริชัยเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารและการตลาด  สำหรับการ
ขยายตลาดในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก และไม้  โดยได้รับค่าที่ปรึกษาจำนวน 0.12 ล้านบาทในแต่ละปี  
ซึ่งรายการดังกล่าวถือเป็นรายการที่มีความสมเหตุสมผล สอดคล้องกับนโยบายของบริษัท แต่เห็นสมควร
ให้ยกเลิกรายการค่าที่ปรึกษานี้ในปี 2548

10. บริษัท สหมิตร โฮลดิ้ง จำกัด
ความสัมพันธ์:      
         คุณชัยศิลป์  แต้มศิริชัย, คุณประสงค์  ศรีธรรัตน์กุล และคุณปราโมทย์  ศิวรักษ์ ในฐานะประธาน
กรรมการ และกรรมการของบริษัท ถือหุ้นรวมกันใน บจก. สหมิตร โฮลดิ้ง คิดเป็นร้อยละ 99.99

ลักษณะรายการ:    
         บริษัทกู้ยืมเงินจาก บจก. สหมิตร โฮลดิ้ง เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน  ซึ่งเป็นสัญญาเงินกู้ประเภท
จ่ายคืนเมื่อทวงถาม และอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามการระบุในสัญญา  โดยอัตราดังกล่าวเป็นอัตราที่ต่ำ
กว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาด  และการกู้ยืมดังกล่าวมีความคล่องตัว เนื่องจากไม่ต้องมีหลักค้ำประกัน  
ซึ่งบริษัทกู้ยืมเงินมาเมื่อต้นปี 2547 จำนวน 14 ล้านบาท และได้ชำระคืนเรียบร้อยแล้วในไตรมาสที่ 4 
ปี 2547

11. บริษัท สหมิตรเปเปอร์ อินดัสตรีส์ จำกัด
ความสัมพันธ์:      
         คุณชัยศิลป์  แต้มศิริชัย, คุณประสงค์  ศรีธรรัตน์กุล และคุณปราโมทย์  ศิวรักษ์ ในฐานะประธาน
กรรมการ และกรรมการของบริษัท ถือหุ้นรวมกันใน บจก. สหมิตรเปเปอร์ อินดัสตรีส์ คิดเป็นร้อยละ 99.99

ลักษณะรายการ:    
         บริษัทกู้ยืมเงินจาก บจก. สหมิตรเปเปอร์ อินดัสตรีส์ เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน  ซึ่งเป็นสัญญาเงินกู้
ประเภทจ่ายคืนเมื่อทวงถาม และอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามการระบุในสัญญา  โดยอัตราดังกล่าวเป็นอัตรา
ที่ต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยในตลาด  และการกู้ยืมดังกล่าวมีความคล่องตัว เนื่องจากไม่ต้องมีหลักค้ำประกัน  
ซึ่งบริษัทกู้ยืมเงินมาเมื่อต้นปี 2547 จำนวน 4 ล้านบาท และได้ชำระคืนเรียบร้อยแล้วในเดือนมิถุนายน 2547

12. คุณวรฤทธิ์  แต้มศิริชัย
ความสัมพันธ์:      
         คุณวรฤทธิ์  แต้มศิริชัย  เกี่ยวข้องกับบริษัทในฐานะผู้ถือหุ้นของบริษัท และเป็นบุตรชายของคุณชัยศิลป์  
แต้มศิริชัย

ลักษณะรายการ:    
        บริษัทกู้ยืมเงินจากคุณวรฤทธิ์  แต้มศิริชัย เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน  ซึ่งเป็นสัญญาเงินกู้ประเภทจ่าย
คืนเมื่อทวงถาม และอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามการระบุในสัญญา  โดยอัตราดังกล่าวเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตรา
ดอกเบี้ยในตลาด  และการกู้ยืมดังกล่าวมีความคล่องตัว เนื่องจากไม่ต้องมีหลักค้ำประกัน  ซึ่งบริษัทกู้ยืม
เงินมาเมื่อต้นปี 2547 จำนวน 10 ล้านบาท และได้ชำระคืนเรียบร้อยแล้วในเดือนพฤษภาคม 2547

ภาระผูกพัน            -- ไม่มี --

ปัจจัยเสี่ยง
1. ความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ
         1.1 ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาเหล็กและกระดาษ 
               บริษัทเป็นผู้จัดจำหน่าย เหล็กแข็งสำหรับทำแม่พิมพ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ และกระดาษคิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 49.94 และ 11.90 ของยอดรายได้รวมสำหรับงบการเงินปี 2547 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ตลาดมี
ความต้องการสูง และผู้ซื้อเหล็กและกระดาษต้องการให้ส่งมอบสินค้าทันทีหลังจากสั่งซื้อ ทำให้บริษัทต้อง
สำรองสินค้าคงคลังของเหล็กและกระดาษเป็นจำนวนมากและพร้อมจัดส่งตลอดเวลา เป็นผลให้ปี 2547 
บริษัทมีสินค้าคงคลังคิดเป็นมูลค่าประมาณร้อยละ 64.67 และ 59.46 ของยอดขายเหล็กและกระดาษตาม
ลำดับ เป็นผลให้บริษัทอาจได้รับผลกระทบจากความผันผวนของราคาเหล็กและราคากระดาษในตลาดโลก 
หากราคาตลาดเหล็กหรือกระดาษปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว อาจจะส่งผลต่อผลประกอบการของ
บริษัทในอนาคต ด้วยประสบการณ์ในธุรกิจจัดจำหน่ายเหล็กแข็งและกระดาษกว่า 30 ปีทำให้บริษัทเข้าใจ
วัฏจักรราคาตามภาวะอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งการที่บริษัทสำรองสินค้าคงคลังมากเพียงพอถือได้ว่าเป็นการ
บริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าว เนื่องจากราคาเหล็กมีทิศทางปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นที่ผ่าน
มาบริษัทสามารถปรับราคาขายเหล็กและกระดาษให้สอดคล้องกับราคาในตลาดโลกได้เนื่องจากเหล็กแข็ง
สำหรับทำแม่พิมพ์เป็นเหล็กที่มีคุณสมบัติพิเศษซึ่งเป็นวัตถุดิบเฉพาะที่ใช้ในผลิตแม่พิมพ์และอุปกรณ์ 
ส่วนกระดาษที่บริษัทจัดจำหน่ายส่วนใหญ่เป็นกระดาษหนังสือพิมพ์ซึ่งกำลังการผลิตในประเทศไม่เพียงพอ
กับความต้องการ และการที่บริษัทมีสินค้าคงคลังพร้อมจัดส่งได้ทันที เป็นผลให้บริษัทมีอำนาจต่อรองราคา
กับผู้ซื้อ ส่งผลให้ราคาขายที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมิได้ส่งผลให้ยอดขายของบริษัทลดลง และบริษัทยังสามารถรักษา
อัตรากำไรขั้นต้นจากการขายเหล็กแข็งสำหรับทำเครื่องมือและกระดาษไว้ได้  โดยที่ปริมาณการขายเหล็กและ
กระดาษมิได้ลดลง นอกจากนั้นบริษัทยังติดตามความเคลื่อนไหวของราคา การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และ
อุปทานในตลาดโลก และข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการบริหารสินค้าคง
คลัง เพื่อควบคุมต้นทุนรวมของสินค้าคงคลังไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนบริษัทไม่สามารถปรับราคา
ขายให้ทัน เพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบของความผันผวนของราคาเหล็กและกระดาษในตลาดโลก

        1.2 ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 
               สินค้าที่บริษัทจัดจำหน่ายในประเทศนั้นเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด เช่น เหล็ก
แข็งสำหรับทำแม่พิมพ์และเครื่องมือ เครื่องจักรกลโรงงาน เครื่องมือและอุปกรณ์อุตสาหกรรม และ
กระดาษ เป็นต้น โดยปี 2547 บริษัทมีการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าประมาณ 943.26 ล้าน
บาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 94.25 ของต้นทุนรวม  ทำให้บริษัทอาจจะได้รับความเสี่ยงจากความผันผวนของ
อัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตามเนื่องจากบริษัทซื้อสินค้าจากผู้ผลิตหลายรายในหลายประเทศทำให้ ณ เวลา
เดียวกันบริษัทมีทางเลือกในการเลือกซื้อเงินสกุลหลัก เช่น ดอลลาร์ ยูโร และเยน พร้อมๆกัน เป็นผลให้
บริษัทไม่ต้องอิงกับเงินสกุลหลักสกุลใดสกุลหนึ่ง ส่งผลให้ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลก
เปลี่ยนลดลง นอกจากนั้นบริษัทยังป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยทำสัญญาซื้อเงินตราต่าง
ประเทศล่วงหน้า (Forward Contract) ไว้บางส่วน โดยปี 2547 บริษัทได้ซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า
เท่ากับร้อยละ 36%  ของภาระที่ต้องซื้อเงินตราต่างประเทศทั้งหมด ซึ่งรวมสินค้าที่ลูกค้าสั่งไว้ล่วงหน้าแล้ว 
อย่างไรก็ตามบริษัทยังคงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเหลืออยู่ในกรณีที่ไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความ
เสี่ยงเต็มจำนวน นอกจากนั้นบริษัทยังติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนจากธนาคาร
พาณิชย์ที่บริษัทใช้บริการอยู่ พร้อมทั้งขอคำแนะนำจากธนาคารเพื่อบริหารความเสี่ยงดังกล่าว ทั้งนี้ ในปี 
2547 บริษัทมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 6.12 ล้านบาท

        1.3 ความเสี่ยงจากลูกหนี้การค้า 
               ปัจจุบัน บริษัทมียอดขายเครดิตประมาณร้อยละ 85 - 90 ของยอดขายรวม ดังนั้นโดยลักษณะของ
การประกอบธุรกิจทำให้บริษัทมีความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระหนี้ ซึ่งอาจจะทำให้บริษัทต้องตั้งสำรอง
ค่าเผื่อหนี้สูญ และอาจส่งผลต่อสภาพคล่องของบริษัทด้านเงินทุนหมุนเวียน และผลการดำเนินงานของ
บริษัท         อย่างไรก็ตามบริษัทมีนโยบายตรวจสอบเครดิตของลูกหนี้อย่างรัดกุมก่อนที่จะให้เครดิตกับ
ลูกค้า ตัวอย่างเช่น ลูกค้ารายใหม่จะต้องซื้อสินค้าเป็นเงินสดก่อนที่ได้รับการพิจารณาให้เครดิต นอกจาก
นี้บริษัทยังมีการตรวจสอบสถานะเครดิตและสถานะทางการเงินของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ  ประกอบกับ
การจัดจำหน่ายของบริษัทส่วนใหญ่เป็นการขายตรงให้กับผู้ผลิตในอุตสาหกรรมซึ่งมีความเสี่ยงที่จะไม่
ชำระหนี้ต่ำ และสำหรับสินค้าที่มีมูลค่าสูง คือ เครื่องจักรกล บริษัทมีนโยบายขายสินค้าเป็นเงินสด โดย
ให้ลูกค้าไปผ่อนชำระกับสถาบันการเงิน เพื่อลดความเสี่ยงจากลูกหนี้การค้า 

         1.4 ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้ขายสินค้ารายใหญ่น้อยราย 
               บริษัทประกอบธุรกิจธุรกิจนำเข้าและจัดจำหน่ายวัตถุดิบ เครื่องจักร และอุปกรณ์ ซึ่งปัจจุบันมีผู้
ผลิตรายใหญ่ในต่างประเทศจำนวน 3 รายคือ เหล็กแข็งพิเศษ BOHLER, เครื่องจักรกล CNC CHARMILLES 
และกระดาษ SOLKAMSKBUMPROM เป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้า (Supplier) ที่สำคัญของบริษัท โดยในปี 
2547 ยอดขายของ 3 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเท่ากับ 232.92, 111.70 และ 85.39 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งคิดเป็น
ร้อยละ 16.45, 7.89 และ 6.03 ของยอดขายรวม ตามลำดับ ทำให้บริษัทอาจจะได้รับความเสี่ยงหากผู้ผลิต
ดังกล่าวยกเลิกการเป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัท หรือแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายรายอื่นเพิ่มในประเทศ หรือ
เข้ามาทำตลาดด้วยตนเอง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทในอนาคต 

               ที่ผ่านมาบริษัทมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ผลิตทั้งสามราย โดย BOHLER นั้นบริษัทมีการทำสัญญา
แต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายเพียงรายเดียวในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 และ CHARMILLES นั้น 
บริษัทมีการทำสัญญาแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงรายเดียวในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 
ส่วน SOLIKAMSKBUMPROM ซึ่งบริษัทติดต่อซื้อสินค้ามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และบริษัทได้ทำสัญญา
ซื้อสินค้าเป็นรายปี ทั้งนี้ ผู้จัดจำหน่ายสินค้า (Supplier) ก็ต้องพึ่งพาบริษัทสำหรับการขายสินค้าในประเทศ 
เนื่องจากการประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าอุตสาหกรรม ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมากสำหรับก่อสร้าง
คลังสินค้า ลงทุนในสินค้าคงคลัง เครื่องจักร อุปกรณ์ และบุคลากร เพื่อให้บริการที่เกี่ยวข้อง เช่น บริการตัด 
ปาด เจียร เหล็กแข็ง บริการซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล เป็นต้น ดังนั้น การที่ผู้จัดจำหน่ายสินค้า (Supplier) 
จะเข้ามาทำตลาดด้วยตนเองในประเทศ หรือแต่งตั้งตัวแทนจำหน่ายรายอื่นแทนบริษัท จะต้องใช้เงินลงทุน
เป็นจำนวนมาก มีค่าใช้จ่ายทางการตลาดสูง และใช้ระยะเวลานานสำหรับสร้างฐานลูกค้าให้ได้อย่างที่บริษัท
มีในปัจจุบัน ซึ่งบริษัทใช้ระยะเวลาในการสร้างฐานลูกค้ามากว่า 30 ปี ถึงมีฐานลูกค้ามากกว่า 2,000 ราย และ
ที่ผ่านมาบริษัทสามารถทำตลาดให้กับสินค้าของ BOHLER และ CHARMILLES ด้วยยอดขายที่เติบโต
อย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้ผู้จัดจำหน่ายสินค้าเหล่านี้  ไม่มีนโยบายเข้ามาลงทุนทำตลาดด้วยตนเองในประเทศ
ไทย อย่างไรก็ตาม บริษัทยังลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงสินค้าของทั้งสามบริษัท ด้วยการนำเข้าและจัดจำหน่าย
สินค้าจากผู้ผลิตขนาดใหญ่รายอื่นมากกว่า 10 บริษัท  

         1.5 ความเสี่ยงจากการโครงการชุบแข็งเหล็ก 
               บริษัทมีโครงการก่อสร้างโรงงานชุบแข็งเหล็ก ซึ่งเป็นบริการต่อเนื่องของกลุ่มผลิตภัณฑ์เหล็ก
แข็งสำหรับทำแม่พิมพ์และเครื่องมือ (Special Steel) และเป็นไปตามเป้าหมายที่จะเป็นผู้ให้บริการครบ
วงจร (One Stop Services) แก่อุตสาหกรรมผลิตแม่พิมพ์และเครื่องมือ โดยบริษัทจะใช้เงินที่ได้จากการ
ออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ประมาณ 130 ล้านบาทเพื่อการลงทุนในโครงการดังกล่าว 
เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นโครงการใหม่ ซึ่งอาจมีความเสี่ยงในการหาตลาดเพื่อขายบริการชุบแข็ง
เหล็ก ความเสี่ยงทางด้านเทคโนโลยีเพราะเป็นบริการที่ใช้เทคโนโลยีสูงกว่าบริการที่บริษัทมีอยู่ในปัจจุบัน 

               อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริษัทมีประสบการณ์ในธุรกิจจัดจำหน่ายเหล็กแข็งสำหรับทำแม่พิมพ์และ
เครื่องมือ มากกว่า 30 ปี และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้ากว่า 1,000 รายที่ซื้อเหล็กแข็งจากบริษัท ซึ่งต้อง
นำไปทำการชุบแข็งก่อนนำไปผลิตเป็นแม่พิมพ์และเครื่องมืออยู่แล้ว ประกอบกับบริษัทมีบริการแปรรูป
ขั้นต้น ดังนั้นบริษัทจึงมีตลาดของบริการชุบแข็งเหล็กจากฐานลูกค้าเดิมของบริษัท ส่วนทางด้านเทคโนโลยี
การชุบแข็งเหล็ก บริษัทได้ว่าจ้างผู้ชำนาญการมาเป็นที่ปรึกษาของโครงการเพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม 
รวมถึงให้คำปรึกษาในการดำเนินการ ประกอบกับบริษัทเป็นผู้นำเข้าเครื่องจักรกลและอุปกรณ์จากต่าง
ประเทศมาเป็นเวลานานทำให้บริษัทมีความรู้ความเข้าใจในการเลือกเทคโนโลยีของเครื่องจักรกลและอุปกรณ์
เป็นอย่างดี ดังนั้นความเสี่ยงด้านเทคนิคเป็นความเสี่ยงที่บริษัทสามารถบริหารจัดการได้ 

2. ความเสี่ยงจากการมีประธานกรรมการบริษัทและกรรมการผู้จัดการเป็นบุคคลคนเดียวกัน 
         เนื่องจากบริษัทมีประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการเป็นบุคคลเดียวกัน คือ นายชัยศิลป์ แต้มศิริชัย 
ทำให้บริษัทอาจมีความเสี่ยงจากการที่ไม่มีการถ่วงดุลในมติที่สำคัญระหว่างประธานกรรมการและกรรมการ
ผู้จัดการ อย่างไรก็ตามบริษัท ได้มีการระบุถึงอำนาจและหน้าที่ของกรรมการผู้จัดการไว้อย่างชัดเจน นอกจาก
มีการทำรายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจทั่วไปของบริษัท ทางกรรมการผู้จัดการจะต้องนำเรื่องเข้าสู่
การพิจารณาของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งมีคณะกรรมการตรวจสอบจำนวน 3 ท่านเข้าร่วมพิจารณา

3. ความเสี่ยงจากการจัดจำหน่ายหุ้นราคาต่ำให้กับผู้บริหารของบริษัท 
         จากมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทประจำปี 2547 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2547 มีมติจัดสรรหุ้น
ให้แก่กรรมการและผู้บริหารของบริษัทรวม 44 ล้านหุ้น ตามราคามูลค่าที่ตราไว้ คิดเป็นร้อยละ 10.0 ของ
ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 440 ล้านบาท และมีการเสนอขายในวันที่ 24 พฤษภาคม 2547 โดยการเพิ่มทุน
ดังกล่าวเพื่อเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มผู้ก่อตั้งบริษัท ซึ่งจะทำให้บริษัทมีการบริหารจัดการอย่างมี
ประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หุ้นที่จัดสรรให้กับกรรมการและผู้บริหารจำนวนดังกล่าวจะถูกห้ามขายตามเกณฑ์ 
(Silent Period) ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือนนับจากวันที่หลักทรัพย์
ของบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ และสามารถนำออกมาขายได้ร้อยละ 25 ของจำนวน
หุ้นที่ถืออยู่ทุก 6 เดือน

กรณีพิพาท      - ไม่มี –

จำนวนพนักงาน  ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 จำนวน 310 คน

ประวัติความเป็นมาโดยสรุป
7  มิถุนายน  2516 
         -  เริ่มก่อตั้งบริษัท  โดยกลุ่มผู้เริ่มก่อตั้งประกอบด้วย นายชัยศิลป์  แต้มศิริชัย, นายประสงค์  ศรีธรรัตน์กุล  
และนายปราโมทย์  ศิวรักษ์  ด้วยทุนเริ่มแรกเพียง 80,000 บาท  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจ ตัวแทน
จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษและเยื่อกระดาษ

ปี 2539  
         -  ได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัท คอมแพคเปเปอร์ จำกัด  จำนวน 129,500 หุ้น จากคุณชัยศิลป์ แต้มศิริชัย, 
คุณประสงค์  ศรีธรรัตน์กุล และคุณปราโมทย์  ศิวรักษ์  รวมเป็นเงิน 12.95 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการ 
ถือหุ้นร้อยละ 92.50 ของหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด  เพื่อเป็นการปรับโครงสร้างบริษัท โดย ณ 31 
ธันวาคม 2538  บริษัท คอมแพคเปเปอร์ จำกัด มีมูลค่าทางบัญชีทั้งสิ้น 18.84 ล้านบาท  
         -  ลงทุนในบริษัท สหมิตรเปเปอร์ อินดัสตรีส์ จำกัด โดยเป็นผู้ถือหุ้นจำนวน 17,635,000 หุ้นคิดเป็น
ร้อยละ 59.70 ของทุนจดทะเบียน 300 ล้านบาท (ซึ่งเป็นทุนชำระแล้วแค่ 5 บาทต่อหุ้น ทั้งนี้บริษัทชำระค่าหุ้น
รวม 2.15 ล้านบาทและค้างชำระค่าหุ้นรวม 86.03 ล้านบาท)  โดยบริษัท สหมิตรเปเปอร์ อินดัสตรีส์ จำกัด มี
วัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์

ปี 2542  
         -  ในปี 2540 ได้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นทำให้โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตกระดาษหนังสือพิมพ์ของ 
สหมิตรเปเปอร์ ไม่สามารถดำเนินการได้ เป็นผลให้ขาดทุนจากการดำเนินงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลการ
ดำเนินงานของบริษัท ดังนั้น ในปี 2542 บริษัทจึงขายเงินลงทุนดังกล่าวให้แก่ นายชัยศิลป์ แต้มศิริชัย 
นายประสงค์ ศรีธรรัตน์กุล และนายปราโมทย์ ศิวรักษ์ ที่ราคา 5 บาทต่อหุ้น พร้อมทั้งโอนสิทธิและภาระค่า
หุ้นค้างชำระจำนวน 86.025 ล้านบาทให้กับผู้ซื้อ โดย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 สหมิตรเปเปอร์ มีมูลค่า
ทรัพย์สินสุทธิเท่ากับ 3.92 บาทต่อหุ้นและในปัจจุบัน สหมิตรเปเปอร์ ได้หยุดดำเนินธุรกิจและอยู่ระหว่าง
ลดทุนเพื่อปิดกิจการ
         -  ก่อสร้างโกดัง 1 และ 2 ที่อำเภอบางปะกง  เพื่อใช้เป็นพื้นที่สำหรับดำเนินการตัดเหล็ก และใช้เป็น
คลังสินค้าของเหล็กและกระดาษ

ปี 2545  
         -  ก่อสร้างคลังสินค้าหลังที่ 3 เพิ่มเติมที่อำเภอบางปะกง เพื่อใช้เป็นโรงงานตัดต่อกระดาษทรายยี่ห้อ 
HERMES ซึ่งได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการตัดต่อจาก HERMES ประเทศเยอรมนี  เพื่อทดแทนการนำ
เข้ากระดาษทรายสำเร็จรูปทั้งหมด 
         -  เริ่มนำเข้าและเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับไฟฟ้ายี่ห้อ ISKRA ของประเทศสโลวาเนีย

ปี 2546 
         -  ซื้อที่ดินเพื่อต่อเติมด้านหลังของโกดังที่สำนักงานใหญ่ ถนนสาธุประดิษฐ์ และซื้อที่ดินในซอย
โชคชัยจงจำเริญแทนการเช่า เนื่องจากผู้ให้เช่ามีความประสงค์ที่จะขายแทนการให้เช่าต่อ และที่ดินดังกล่าว
เป็นที่ตั้งโกดังสินค้าที่สำคัญของบริษัท 
         -  ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงรายเดียวในประเทศไทยจากเครื่องจักรกลยี่ห้อ 
KITAMURA ของประเทศญี่ปุ่น

ปี 2547  
         -  บริษัทขายเงินลงทุนในบริษัทย่อย คือ บริษัท คอมแพคเปเปอร์ จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจค้าปลีกกระดาษ 
ให้กับ นายชัยศิลป์ แต้มศิริชัย  นายประสงค์ ศรีธรรัตน์กุลและนายปราโมทย์ ศิวรักษ์ ในราคาหุ้นละ 122 บาท 
เป็นมูลค่าตามบัญชี ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 ซึ่งการขายเงินลงทุนดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายการปรับโครง
สร้างธุรกิจที่จะไม่ดำเนินธุรกิจผ่านบริษัทย่อย ซึ่งมีผลประกอบการขาดทุน

เงินลงทุนในบริษัทย่อยบริษัทร่วม / บริษัทที่เกี่ยวข้อง      - ไม่มี -
  
การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา
                                                                                                                                   
    หน่วย: ล้านบาท
วัน/เดือน/ปี                ทุนที่ (ลด) เพิ่ม       หลังเพิ่ม (ลด) ทุน   หมายเหตุ/ วัตถุประสงค์การใช้เงิน
มิถุนายน 2547                    220                          440               เพื่อปรับโครงสร้างเงินทุนโดยบริษัทได้จัด
                                                                                                สรรหุ้นให้กับผู้ถือหุ้นเดิมรวม 176 
ล้านหุ้น 
                                                                                                ณ ราคา 1 บาท ในอัตราส่วน 5 หุ้นเดิม
ต่อ 
                                                                                                4 หุ้นใหม่ และจัดสรรให้แก่กรรมการแล
ะ
                                                                                                ผู้บริหารของบริษัทรวม 44 ล้านหุ้นที
่ราคา 
                                                                                                1 บาท
10 - 11 พฤษภาคม 2548    90                            530                เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชน
                                                                                                จำนวน 90 ล้านหุ้น  ราคาเสนอขายหุ้น
                                                                                                ละ 2.75 บาท โดยจะนำเงินที่ได้จากการ

                                                                                                ระดมในครั้งนี้ไปลงทุนในโครงการ
                                                                                                โรงชุบแข็งเหล็ก 130 ล้านบาทและเป็น
                                                                                                เงินทุนหมุนเวียน 100 ล้านบาท และ
                                                                                                ชำระคืนเงินกู้ 17.50 ล้านบาท

รอบระยะเวลาบัญชี               1  มกราคม – 31 ธันวาคม   

ผู้สอบบัญชี                           นายอธิพงศ์  อธิพงศ์สกุล  
                                              ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 3500 บริษัท เอเอ็นเอส ออดิท จำกัด

นายทะเบียนหุ้น                     บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด

ที่ปรึกษาทางการเงิน              บริษัท โกลเบล็ก แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด

นโยบายการจ่ายเงินปันผล
         บริษัท มีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของกำไรสุทธิหลังหักภาษี
เงินได้นิติบุคคล สำรองตามกฎหมาย และสำรองเพื่อการขยาย (ถ้ามี) ของบริษัทแล้ว
         เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2548 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2548 ได้มีมติจ่ายเงินปันผลประจำปี 2547 
ให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียน ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2548 เวลา 12.00 น ในอัตรา 
0.10 บาทต่อหุ้น รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 53.00 ล้านบาท โดยมีกำหนดจ่ายปันผลในวันที่ 30 พฤษภาคม 2548 

บัตรส่งเสริมการลงทุน                - ไม่มี -

จำนวนผู้ถือหุ้น      ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2548 ปรากฏดังนี้
                                                                                             จำนวนราย        จำนวนหุ้น             
  ร้อยละ
                                                                                                                                   
          ของทุนชำระแล้ว
1. ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic shareholders
  1.1 รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ                             0                      0                            0
   1.2 กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึง                             30           321,844,484                 60.73
        ผู้ที่เกี่ยวข้องและบุคคลที่มีความสัมพันธ์
   1.3 ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5% โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย             0                      0                           0
   1.4 ผู้มีอำนาจควบคุม                                                                 0                      0                   
        0
   1.5 ผู้ถือหุ้นสามัญที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้น
ภายในเวลาที่กำหนด                                                                     0                       0                    
       0
2. ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย    1,584           208,155,516                 39.27
3. ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย                          0                        0                           0
               รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น                                        1,614            530,000,000               100.00 


ผู้ถือหุ้นรายใหญ่     ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2548
        ชื่อ                                                                    จำนวนหุ้น       ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. กลุ่มแต้มศิริชัย(1)                                               92,751,546                17.50
2. กลุ่มศรีธรรัตน์กุล(2)                                           89,778,936                16.94
3. กลุ่มศิวรักษ์(3)                                                    75,846,972                14.30
4. นายพรศิลป์  แต้มศิริชัยและภรรยา                      18,000,000                  3.40
5. DEUTSCHE BANK AG SINGAPORE          15,000,000                  2.83
6. นางสาวิตรี  รมยะรูป                                          14,400,000                  2.72
7. นายชาลี  โสภณพนิช                                          14,400,000                  2.72
8. บริษัท สยามชัยเอ็นเตอร์ไพร้ส์ จำกัด                  11,870,000                  2.24
9. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)                        10,000,000                  1.89
10. นายถวัลวิทย์  แต้มศิริชัย                                     9,000,000                  1.70
               รวม                                                       351,047,454                66.24


(1) ผู้ถือหุ้นในกลุ่มแต้มศิริชัย  ประกอบด้วย
                 ชื่อ                               จำนวนหุ้น       ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. นายชัยศิลป์     แต้มศิริชัย          43,469,346                     8.20
2. นายชาญเดช    แต้มศิริชัย         10,938,600                      2.06
3. น.ส.ปิยะนุช    แต้มศิริชัย         10,803,600                      2.04
4. น.ส. ณัฐพร    แต้มศิริชัย         10,800,000                      2.04
5. นายวรฤทธิ์     แต้มศิริชัย         10,800,000                      2.04
6. นางจีรวรรณ    แต้มศิริชัย          5,940,000                      1.12

(2) ผู้ถือหุ้นในกลุ่มศรีธรรัตน์กุล  ประกอบด้วย
                   ชื่อ                               จำนวนหุ้น         ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. นายประสงค์    ศรีธรรัตน์กุล     39,378,936                   7.43
2. น.ส. ปิยพร    ศรีธรรัตน์กุล       25,200,000                   4.75
3. น.ส. ปิยะมล   ศรีธรรัตน์กุล      25,200,000                   4.75

(3) ผู้ถือหุ้นในกลุ่มศิวรักษ์  ประกอบด้วย
                ชื่อ                                  จำนวนหุ้น          ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. นายปราโมทย์   ศิวรักษ์             44,125,572                   8.33
2. น.ส. ปรางทิพย์ ศิวรักษ์             14,400,000                   2.72
3. น.ส. ศศิรัตน์   ศิวรักษ์               14,400,000                   2.72
4. น.ส. สุวรรณา  ศิวรักษ์                2,921,400                   0.55

 (4) ผู้ถือหุ้น นายพรศิลป์ แต้มศิริชัยและภรรยา ประกอบด้วย
                ชื่อ                                   จำนวนหุ้น         ร้อยละของทุนชำระแล้ว
1. นายพรศิลป์     แต้มศิริชัย          12,600,000                   2.38
2. นางมนทนัฐ     แต้มศิริชัย           5,400,000                   1.02

ผู้ถือหุ้นต่างด้าวณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2548
บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว  43 ราย
ถือหุ้นรวมกัน 33,763,036 หุ้น  คิดเป็นร้อยละ 6.37 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
หมายเหตุ บริษัทมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างด้าวตามข้อบังคับของบริษัท
ข้อ 10 ว่า "หุ้นของบริษัทให้โอนได้โดยเสรี และหุ้นที่ถือโดยคนต่างด้าวในขณะใดขณะหนึ่งต้องมี
จำนวนรวมกันไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด การโอนหุ้นรายใดที่จะ
ทำให้อัตราส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวของบริษัทเกินอัตราส่วนข้างต้น  บริษัทมีสิทธิปฏิเสธ
การโอนหุ้นของบริษัทรายนั้นได้"    

คณะกรรมการ  ณ 10 มีนาคม 2548  คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วย จำนวน 13 คน ดังนี้
        ชื่อ                                                 ตำแหน่ง                                            วันที่ดำรงตำแหน่ง
 นายชัยศิลป์  แต้มศิริชัย               ประธานกรรมการ กรรมการผู้จัดการ         21 พฤศจิกายน 2537
 นายประสงค์  ศรีธรรัตน์กุล         กรรมการ รองกรรมการผู้จัดการ                21 พฤศจิกายน 2537
 นายปราโมทย์  ศิวรักษ์                กรรมการ รองกรรมการผู้จัดการ                21 พฤศจิกายน 2537
 นายพรศิลป์  แต้มศิริชัย              กรรมการ                                                    21 พฤศจิกายน 2537
 นายพิชัย  นิธิวาสิน                      กรรมการ                                                   21 พฤศจิกายน 2537
 นายธนา  เสนาวัฒนกุล               กรรมการ                                                    21 พฤศจิกายน 2537
 นายเกรียงไกร  บุญกิตติเจริญ      กรรมการ                                                    21 พฤศจิกายน 2537
 นายแสงชัย  โสตถีวรกุล  **       กรรมการ                                                   20 มีนาคม 2539
 นายวีระวัฒน์  ชลวณิช                กรรมการ                                                    20 มีนาคม 2539
 นายการุณ  กิตติสถาพร               กรรมการ                                                   20 มีนาคม 2543
 พลเอกวาภิรมย์  มนัสรังษี           ประธานกรรมการตรวจสอบ                      14 พฤษภาคม 2547
 นายเพรียว  ลิมป์ศิริพันธ์             กรรมการตรวจสอบ                                   2 พฤษภาคม 2543
 นายประยูร  วิเวชภูวนนท์            กรรมการตรวจสอบ                                   10 มีนาคม 2548

หมายเหตุ **  นายแสงชัย  โสตถีวรกุล ได้ลาออกจากกรรมการบริษัทเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2548

คณะกรรมการตรวจสอบ      
ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2547 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2547 และที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2548 
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2548 ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ ดังนี้
        พลเอกวาภิรมย์  มนัสรังษี                   ประธานกรรมการตรวจสอบ
        นายเพรียว  ลิมป์ศิริพันธ์                      กรรมการตรวจสอบ
        นายประยูร  วิเวชภูวนนท์                    กรรมการตรวจสอบ
        นางสาวไพรวัลย์  ศรีธรรัตน์กุล           เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ

ขอบเขต  หน้าที่ และความรับผิดชอบ
1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ โดยการประสานงาน
กับผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงินทั้งรายไตรมาสและประจำปี 
คณะกรรมการตรวจสอบอาจเสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทานหรือตรวจสอบรายการใด ๆ ที่เห็นว่าจำเป็น
และเป็นเรื่องสำคัญในระหว่างการตรวจสอบบัญชีของบริษัทก็ได้
2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายในที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผล 
โดยสอบทานร่วมกับผู้สอบบัญชีภายนอกและผู้ตรวจสอบภายใน (ถ้ามี)
3. สอบทานการปฏิบัติของบริษัท ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนด
ของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
4. พิจารณาคัดเลือกและเสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัท รวมถึงพิจารณาเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี  
โดยคำนึงถึงความน่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากร และปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานตรวจสอบ
บัญชีนั้น รวมถึงประสบการณ์ของบุคคลากรที่ได้รับมอบหมายให้ทำการตรวจสอบบัญชีของบริษัท
5.  พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท ในกรณีที่เกิดรายการเกี่ยวโยงหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผล
ประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน
6.  ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย และคณะกรรมการตรวจสอบเห็นชอบด้วย เช่น 
ทบทวนนโยบายการบริหารทางการเงินและการบริหารความเสี่ยง ทบทวนการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทาง
ธุรกิจของผู้บริหาร ทบทวนร่วมกับผู้บริหารของบริษัทในรายงานสำคัญ ๆ ที่ต้องเสนอต่อสาธารณชนตาม
ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ บทรายงานและการวิเคราะห์ของฝ่ายบริหาร เป็นต้น
7. จัดทำรายงานกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงาน
ดังกล่าวลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ รายการดังกล่าวควรประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้
        - ความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษัทถึงความ
           ถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ 
        - ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัท
        -  หตุผลที่เชื่อว่าผู้สอบบัญชีของบริษัทเหมาะสมที่จะได้รับการแต่งตั้งต่อไปอีกวาระหนึ่ง
        -  ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของ
           ตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
         -  รายงานอื่นใดที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิด
           ชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
8.  รายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
9.  มีอำนาจในการดำเนินการตรวจสอบและสอบสวนตามที่จำเป็นในเรื่องต่าง ๆ รวมถึงการแสวงหาความ
เห็นที่เป็นอิสระจากที่ปรึกษาทางวิชาชีพอื่นใด เมื่อเห็นว่าจำเป็นด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท เพื่อให้การปฏิบัติ
งานภายใต้หน้าที่ความรับผิดชอบสำเร็จลุล่วงด้วยดี

วาระการดำรงตำแหน่ง
1.  ประธานกรรมการตรวจสอบ  2   ปี
2.  กรรมการตรวจสอบ   2   ปี

เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์      - ไม่มี –

ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น     
         ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปที่ถือหุ้นจำนวน 424,413,322 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 96.46 
ของทุนชำระแล้วก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป ให้คำรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าจะไม่นำหุ้น
จำนวนดังกล่าวออกจำหน่ายเป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่หลักทรัพย์ของบริษัทเริ่มทำการซื้อขาย
ในตลาดหลักทรัพย์  โดยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาทุก ๆ 6 เดือน
         ผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้ทยอยขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่ถูกสั่งห้ามขายได้ในจำนวนร้อยละ 
25 ของหุ้นหรือหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย และเมื่อครบกำหนด 1 ปี 6 เดือนสามารถขายส่วนที่เหลือ
ได้ทั้งหมด

การผ่อนผันของตลาดฯ         - ไม่มี –

อื่น ๆ ที่สำคัญ      
         เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2548 ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2548 ได้มีมติจ่ายเงินปันผลประจำปี 
2547 ให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทที่มีรายชื่อปรากฏในสมุดทะเบียน ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2548 เวลา 
12.00 น ในอัตรา 0.10 บาทต่อหุ้น รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 53.00 ล้านบาท โดยมีกำหนดจ่ายปันผลใน
วันที่ 30 พฤษภาคม 2548

สถิติ
                                                  บริษัท สหมิตรเครื่องกล จำกัด (มหาชน)
                                          I--------------พันบาท------------I-----------บาท/หุ้น*-----------------------------------
---I
 ปี                                            รายได้               กำไร                กำไร        เงินปันผล     มูลค่าหุ้น     เง
ินปันผล
                                            จากการขาย    (ขาดทุน)สุทธิ  (ขาดทุน)สุทธิ                     ตามบัญชี     ต่อกำไร (%)
2544 (ตรวจสอบแล้ว)       1,028,097.53      60,460.15             0.28             0.05            2.98             18.19
2545 (ตรวจสอบแล้ว)       1,081,261.41      65,766.04             0.30             0.075          3.11             25.09
2546 (ตรวจสอบแล้ว)       1,259,317.11      43,545.58             0.20             0.10            3.21             50.52
2547 (ตรวจสอบแล้ว)       1,395,193.92     126,336.08            0.36             1.00            1.89           174.14
31 มีนาคม 2548                  459,081.34       42,349.91            0.10              0.15           1.85            155.84      
  
 (สอบทานแล้ว)
* มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เป็นหุ้นสามัญถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่ใช้คำนวณสำหรับปี 2544, 2545, 2546, 2547 
และวันที่ 31 มีนาคม 2548 เท่ากับ 22,000,000 หุ้น, 22,000,000 หุ้น, 22,000,000 หุ้น, 346,830,600 หุ้น และ 
440,000,000 หุ้น ตามลำดับ  
** ปี 2544 - 46 เป็นงบการเงินรวม และ ปี 2547 และวันที่ 31 มีนาคม 2548 เป็นงบการเงินเฉพาะบริษัท 

                                                              บริษัท สหมิตรเครื่องกล จำกัด (มหาชน)
                                                                                      งบดุล
      สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544, 2545, 2546, 2547 และสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2548
                                                                                                                                   
                                หน่วย: พันบาท
รายการ                                                                                งบการเงินรวม                                 
  งบการเงินเฉพาะบริษัท
                                                                        2544                     2545                 2546         
      2547       31 มีนาคม 2548
สินทรัพย์
สินทรัพย์หมุนเวียน
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด              1,315.19               2,131.90             14,684.07       11,941.79             6,748
.98   
ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ – สุทธ           231,115.00          267,451.12           279,820.77        293,771.56       375,285.79

สินค้าคงเหลือ – สุทธิ                              332,065.61           345,667.03          487,244.77        692,769.63       714,
569.92
สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น                                8,002.92               8,652.64               9,114.75         12,659.05     
     13,310.41
รวมสินทรัพย์หมุนเวียน                           572,498.73          623,902.69           790,864.36     1,011,142.03    1,109,915.0
9
     สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
เงินฝากประจำธนาคารที่มีภาระผูกพัน            857.00                  859.97                 866.95               879.12            
  879.12   
เงินลงทุนอื่น – สุทธิ                                    5,375.00                 375.00                         -                 
         -                      -       
ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ – สุทธิ              375,424.98           379,597.80           423,222.35       440,771.79       445,145.36
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น                               285.06                 847.05               1,259.58            1,044.86   
       1,044.87 
รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน                      381,942.04           381,679.82          425,348.58        442,695.77       447,069.3
4
     รวมสินทรัพย์                                     954,440.77        1,005,582.51        1,216,212.94    1,453,837.80     1,556,
984.43
        หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
     หนี้สินหมุนเวียน
เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้น     105,178.77           102,481.83          245,745.45        331,945.41        492,647.43
เจ้าหนี้การค้า                                              66,471.91             66,201.53          155,004.10        164,168.95  
     110,869.93
เงินกู้ยืมระยะยาวที่จะถึงกำหนดชำระ         15,484.28            26,055.54             13,556.63          16,230.92         14,846.7
8
ภายในหนึ่งปี
เงินกู้ระยะสั้นจากบุคคลหรือกิจการ           44,000.00             76,200.00             23,000.00                       -          
           -
ที่เกี่ยวข้อง
ค่าภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่าย                  14,464.73              13,235.07            21,913.97         37,056.39          6
1,150.89
หนี้สินหมุนเวียนอื่น                                  22,882.33             29,900.40            18,196.75          28,321.05      
    21,883.52
รวมหนี้สินหมุนเวียน                              268,482.02            314,074.37          477,416.90       577,722.72        701,3
98.55
     หนี้สินไม่หมุนเวียน
เงินกู้ยืมระยะยาว – สุทธิ                           30,456.42                7,166.23            33,480.96         45,750.00       
   42,738.21
รวมหนี้สินไม่หมุนเวียน                            30,456.42               7,166.23            33,480.96          45,750.00         
42,738.21
     รวมหนี้สิน                                         298,938.44           321,240.60           510,897.86        623,472.72     
  744,136.76
     ส่วนของผู้ถือหุ้น
ทุนจดทะเบียน                                         220,000.00           220,000.00           220,000.00       550,000.00       55
0,000.00
ทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้ว         220,000.00            220,000.00          220,000.00        440,000.00       440,000.00
ส่วนเกินทุน                                             166,831.49           166,831.49          166,831.49        166,831.49      
 172,964.17
กำไรสะสม                                              266,843.08           295,651.94          317,197.52        223,533.59      19
9,883.51
ส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย                           1,827.76               1,858.48              1,286.07                        - 
                  -
     รวมส่วนของผู้ถือหุ้น                          655,502.33           684,341.91          705,315.08        830,365.08       812,
847.67
     รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น        954,440.77         1,005,582.51       1,216,212.94    1,453,837.80     1,556,984.43

                                                                  บริษัท สหมิตรเครื่องกล จำกัด (มหาชน)
                                                                                    งบกำไรขาดทุน
      สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544, 2545, 2546, 2547 และสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2548
                                                                                                                                   
                                หน่วย: พันบาท
รายการ                                                                                งบการเงินรวม                                 
  งบการเงินเฉพาะบริษัท
                                                                        2544                     2545                 2546         
      2547       31 มีนาคม 2548

รายได้จากการดำเนินงาน     
รายได้จากการขายและบริการ               1,028,097.53        1,081,261.41      1,259,317.11      1,395,193.92      459,081.34
รายได้อื่น                                                    9,953.14               4,529.13             7,825.44           20,890
.32       11,900.53
     รวมรายได้                                       1,038,050.67        1,085,790.54     1,267,142.55      1,416,084.24      470,9
81.87
ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน
ต้นทุนขาย                                               789,369.24           812,462.60         959,545.44      1,000,772.58      3
32,197.83
ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร         143,925.57           165,566.19         213,130.83         212,440.06       52,428.06
ขาดทุนจากการตีราคาที่ดิน                                       -                          -                          -             
            -         15,394.41
     รวมค่าใช้จ่าย                                      933,294.81           978,028.79      1,172,676.28      1,213,212.64     400
,020.30 
กำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษีเงินได้             104,755.86          107,761.75          94,466.27          202,871.59       70,961.58
ดอกเบี้ยจ่าย                                               17,792.44             12,899.37           14,242.29           14,166.36 
        4,517.16
ภาษีเงินได้                                                 26,500.02             28,983.11          37,250.82           62,369.16 
      24,094.51
กำไรหลังดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้         60,463.40             65,879.27          42,973.16          126,336.08       42,349.91  
 
กำไร (ขาดทุน) สุทธิส่วนที่เป็นของ                  (3.25)              (113.23)                572.42                       -      
              -       
ผู้ถือหุ้นส่วนน้อย
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ                                 60,460.15             65,766.04           43,545.58        126,336.08        42
,349.91
กำไรสุทธิต่อหุ้น (บาท)                                      2.75                      2.99                   1.98                  
  0.36                 0.10  

                                                                 บริษัท สหมิตรเครื่องกล จำกัด (มหาชน)
                                                                                 งบกระแสเงินสด
    สำหรับรอบระยะเวลาบัญชี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544, 2545, 2546 และ 2547 และสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2548
                                                                                                                                   
                             หน่วย: พันบาท
รายการ                                                                                           งบการเงินรวม                      
    งบการเงินเฉพาะบริษัท
                                                                                        2544              2545           2546      
      2547       31 มีนาคม 2548     
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน                              70,974.76      41,809.68    19,391.64    (33,170.75)  (73,349.85)
เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน) กิจกรรมลงทุน         (26,144.57)   (41,277.08)  (88,782.06)  (36,005.25)  (22,149.04)
เงินสดสุทธิได้มาจาก (ใช้ไปใน)กิจกรรมจัดหาเงิน      (45,430.56)        284.13      81,942.59    78,831.54     90,306.08 
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น (ลดลง) สุทธิ   (600.37)        816.73      12,552.17      9,655.54     (5,192.81)

จัดทำโดย บริษัท โกลเบล็ก แอ็ดไวเซอรี่ จำกัด