| ||
- สรุปข้อสนเทศ - บริษัท ไทยสตีลเคเบิล จำกัด (มหาชน) (TSC) ที่ตั้งสำนักงานใหญ่: 57 หมู่ที่ 6 ถนนกิ่งแก้ว ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540 โทรศัพท์ 0-2738-9460-76 โทรสาร 0-2326-6237, 0-2738-9482 Website: http://www.thaisteelcable.com ที่ตั้งโรงงาน: 57 หมู่ที่ 6 ถนนกิ่งแก้ว ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540 โทรศัพท์ 0-2738-9460-76 โทรสาร 0-2326-6237, 0-2738-9482 Website: http://www.thaisteelcable.com เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน เมื่อวันที่ 23 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 (เริ่มทำการซื้อขายวันที่ 23 เดือนมิถุนายน 2548) ประเภทหลักทรัพย์จดทะเบียน หุ้นสามัญ 259,800,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท คิดเป็นทุนชำระแล้วจำนวน 259.80 ล้านบาท โดยเป็นหุ้น ที่เสนอขายต่อประชาชน 58.30 ล้านหุ้น ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ราคาเสนอขาย 9.20 บาทต่อหุ้น วันที่เสนอขาย วันที่ 15-16 มิถุนายน 2548 ประเภทกิจการและลักษณะการดำเนินงาน บริษัท ไทยสตีลเคเบิล จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจในการเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วน OEM (Original Equipment Manufacturer) และ REM (Replacement Equipment Manufacturer) เพื่อส่งให้แก่โรงงานประกอบของลูกค้า ผู้ผลิต ชิ้นส่วน และศูนย์อะไหล่ ซึ่งได้แก่ ผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงบริษัทต่างๆ ในเครือของนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ โดยผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทฯ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ 1. สายควบคุม (Control Cable) ได้แก่ - สายควบคุมระบบต่างๆ ภายในรถยนต์ (Automobile Control Cable) อาทิเช่น สายเปิดฝากระโปรงหน้า-หลัง สายสตาร์ทเครื่องยนต์ สายคันเร่ง สายเกียร์ เป็นต้น - สายควบคุมระบบต่างๆ ของรถจักรยานยนต์ (Motorcycle Control Cable) อาทิเช่น สายเบรค สายคลัช สายวัดรอบ สายน้ำมัน เป็นต้น 2. ชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ (Window Regulator) ได้แก่ ชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์แบบ ใช้สายควบคุมและชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์แบบ x-arm สำหรับรถยนต์ทุกประเภท การผลิตสายควบคุมและชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์แบบใช้สายควบคุมต่าง ๆ บริษัทฯ ผลิตภายใต้ สัญญาการใช้สิทธิและรับความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค (License and Technical Assistance Agreement) ระหว่าง บริษัทฯ กับนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ (Nippon Cable System Inc.) ซึ่งเป็นผู้ผลิตสายควบคุมสำหรับยานยนต์ ชั้นนำของประเทศญี่ปุ่นและเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้มีการทำสัญญาการใช้สิทธิและ รับความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคในการผลิตชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์แบบ x-arm กับบริษัท ฟูจิ กิโกะ จำกัด แห่งประเทศญี่ปุ่นด้วย บริษัทฯ มีอัตรากำลังการผลิตสูงสุดของสายควบคุมรถยนต์ประมาณ 6 ล้านเส้นต่อปี สายควบคุมรถจักรยานยนต์ ประมาณ 15 ล้าน เส้นต่อปี และชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ทั้ง 2 แบบประมาณ 1.5 ล้านชุดต่อปี โครงสร้างรายได้ หน่วย: ล้านบาท 2545 2546 2547 ไตรมาส 1 ปี 2548 สายผลิตภัณฑ์ รายได้ สัดส่วน รายได้ สัดส่วน รายได้ สัดส่วน รายได้ สัดส่วน รายได้จากการขายในประเทศ 793.32 97.46 1,263.47 96.66 1,651.10 96.08 465.02 96.00 - สายควบคุมรถยนต์ 442.58 54.37 675.96 51.71 809.97 47.13 224.38 46 .32 - สายควบคุมรถจักรยานยนต์ 151.02 18.55 196.43 15.03 271.93 15.82 77.67 16.04 - ชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ 192.03 23.59 386.82 29.59 555.73 32.34 159.35 32.90 - อื่น ๆ 7.68 0.94 4.25 0.33 13.47 0 .78 3.62 0.75 รายได้จากการขายต่างประเทศ 18.38 2.26 37.37 2.86 63.02 3.67 17.26 3.56 - สายควบคุมรถยนต์ 1.88 0.23 2.22 0.17 19.05 1.11 5 .17 1.07 - สายควบคุมรถจักรยานยนต์ 11.81 1.45 23.80 1.82 30.41 1.77 0.15 0.03 - ชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ 0.10 0.01 1.47 0.11 3.40 0.20 - - - อื่น ๆ 4.60 0.57 9.88 0.76 10.17 0 .59 11.94 2.46 รายได้อื่น - อื่น ๆ 2.29 0.28 6.30 0.48 4.40 0.26 2.09 0.43 รวมรายได้ 813.98 100.00 1,307.14 100.00 1,718.52 100.00 484.37 100.00 การจำหน่ายและช่องทางการจัดจำหน่าย 1. การจำหน่ายและช่องทางการจัดจำหน่ายการจัดจำหน่ายในลักษณะ OEM (Original Equipment Manufacturer) ให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์โดยตรง (First Tier) 2. การจัดจำหน่ายชิ้นส่วน (Components) ของสายควบคุมและชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ในลักษณะ OEM ให้แก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ (Second Tier) เพื่อผลิตเพิ่มเติมก่อนส่งให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ 3. การจัดจำหน่ายให้แก่ศูนย์อะไหล่ของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ในลักษณะ REM (Replacement Equipment Manufacturer) การแข่งขันในอุตสาหกรรม สภาวะการแข่งขันในประเทศ บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตสายควบคุมรายใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตสายควบคุมรถยนต์ให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นชั้นนำที่มา ตั้งฐานผลิตในประเทศไทย อันได้แก่ โตโยต้า ฮอนด้า อีซูซุ มิตซูบิชิ นิสสัน ฟอร์ด และมาสด้า ซึ่งผู้ผลิตรถยนต์ที่เป็นลูกค้า ของบริษัทฯ มีส่วนแบ่งตลาดในปี 2547 รวมกันมากกว่าร้อยละ 90 ขณะที่ลูกค้าในส่วนของสายควบคุมรถจักรยานยนต์ ของบริษัทฯ ได้แก่ ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์จากประเทศญี่ปุ่นทุกรายที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย อาทิ ฮอนด้า ยามาฮ่า ซูซูกิ และคาวาซากิ เป็นต้น ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันมากกว่าร้อยละ 95 ทั้งนี้ การที่บริษัทฯ ได้รับลิขสิทธิ์และความ ช่วยเหลือทางด้านเทคนิคจากนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ในรูปของสัญญาการใช้สิทธิและรับความช่วยเหลือทางด้าน เทคนิค (License and Technical Assistance Agreement) ทำให้บริษัทได้รับความไว้วางใจในมาตรฐานและคุณภาพ ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้บริษัทฯ มีความสามารถในการแข่งขันอยู่ใน ระดับที่สูง หากพิจารณาจากส่วนแบ่งตลาดของรถยนต์และจักรยานยนต์ยี่ห้อต่าง ๆ ในปี 2547 ควบคู่ไปกับส่วนแบ่งตลาดที่ บริษัทฯ ได้จากผู้ผลิตรถยนต์และจักรยานยนต์แต่ละยี่ห้อ จะพบว่าในปี 2547 บริษัทฯ มีส่วนแบ่งตลาดในส่วนของสาย ควบคุมรถยนต์คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 76 ของรถยนต์ทุกยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย สำหรับสายควบคุม รถจักรยานยนต์นั้น บริษัทฯ มีส่วนแบ่งตลาดประมาณร้อยละ 98 ของรถจักรยานยนต์ทุกยี่ห้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย ในส่วนของชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์นั้น บริษัทฯ เป็นผู้ผลิตชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ให้แก่ ผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นชั้นนำที่มาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย คือ ฮอนด้า และอีซูซุ ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดในปี 2547 รวมกัน ประมาณร้อยละ 36 และการที่บริษัทฯ ได้รับลิขสิทธิ์และความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคในการผลิตชุดควบคุมรางกระจก หน้าต่างรถยนต์แบบใช้สายควบคุมและแบบ x-arm จากทั้งนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ และบริษัท ฟูจิ กิโกะ จำกัด ในรูป ของสัญญาการใช้สิทธิและรับความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค (License and Technical Assistance Agreement) เป็นปัจจัย หลักที่ทำให้บริษัทฯ ได้รับความไว้วางใจในมาตรฐานและคุณภาพผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตรถยนต์ และเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ บริษัทฯ มีความสามารถในการแข่งขันอยู่ในระดับที่สูง สภาวะการแข่งขันในต่างประเทศ ณ สิ้นปี 2547 มีสัดส่วนการส่งออกคิดเป็นเพียงประมาณร้อยละ 3.68 ของยอดจำหน่ายรวม เป็นการส่งออกชิ้นส่วน (Component Part) ไปยังประเทศมาเลเซีย เวียดนาม ญี่ปุ่น จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการส่งออก ไปยังบริษัทในกลุ่มนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ทั้งนี้ การผลิตชิ้นส่วนดังกล่าวเป็นในลักษณะของ OEM ซึ่งการแข่งขัน ในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์มีนโยบายในการจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบโดยการเปรียบเทียบต้นทุนในการจัดซื้อจาก ผู้ผลิตชิ้นส่วนหลายประเทศ ทำให้บริษัทผู้ผลิตสายควบคุมและชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ในต่างประเทศ เช่น บริษัทผู้ผลิตสายควบคุมในประเทศจีน ซึ่งมีต้นทุนค่าแรงในการผลิตที่ต่ำ จะมีความได้เปรียบ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีข้อได้เปรียบในเรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่สูง เนื่องจากบริษัทฯ เป็นผู้ผลิตที่อยู่ในอุตสาหกรรมมานาน อีกทั้งมี ชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ โดยได้รับลิขสิทธิ์และความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคจากนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ และบริษัท ฟูจิ กิโกะ จำกัด ซึ่งทั้งสองบริษัทมีชื่อเสียงในระดับโลกด้านเทคโนโลยีการผลิตสายควบคุมและชุดควบคุมรางกระจก หน้าต่างรถยนต์ ทำให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ เป็นที่น่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับในเรื่องของคุณภาพเป็นอย่างสูงจาก ผู้ผลิต การจัดหาวัตถุดิบ บริษัทฯ มีการจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่บริษัทฯ ยังไม่สามารถผลิตเองได้ หรือไม่คุ้มทุน ที่จะผลิตจากทั้งคู่ค้าภายในประเทศและต่างประเทศ โดยในปี 2547 บริษัทฯ มีการจัดซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบคิด เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 1,146.24 ล้านบาท เป็นการจัดซื้อจากคู่ค้าในประเทศประมาณร้อยละ 69 และเป็นการจัดซื้อ จากคู่ค้าต่างประเทศประมาณร้อยละ 31 โดยยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบหลักดังกล่าวรวมแล้วคิดเป็น ร้อยละ 88.10 ของยอดการสั่งซื้อทั้งหมด บริษัทฯ มีคู่ค้าเพียง 2 รายที่มียอดสั่งซื้อรวมจากบริษัทฯ ในปี 2547 มากกว่าร้อยละ 10 ของยอดการสั่งซื้อรวมของ บริษัทฯ ได้แก่นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ และบริษัท จิเดโคะ (ประเทศไทย) จำกัด โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.24 และร้อยละ 14.24 ตามลำดับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์: บริษัทฯได้สั่งซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบประเภทยาง ส่วนประกอบ สำเร็จรูป (เช่น Bolt Joint, Boot Assembly, Bracket Assembly, Cap Assembly, Carrier Plate และ Casing Cap ที่ใช้ใน การผลิตสายควบคุมและชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์) เหล็ก และเม็ดพลาสติก เพื่อนำมาใช้ในการประกอบสาย ควบคุมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ 2. บริษัท จิเดโคะ (ประเทศไทย) จำกัด: บริษัทฯได้สั่งซื้อมอเตอร์ ซึ่งนำมาใช้ในการประกอบชุดควบคุมราง กระจกหน้าต่างรถยนต์ ทั้งนี้ บริษัทฯ ไม่ได้มีการทำสัญญาใด ๆ ที่กำหนดบังคับให้บริษัทฯ ต้องจัดซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบจาก นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ แต่อย่างใด บริษัทฯ มีสัดส่วนการสั่งซื้อวัตถุดิบจากคู่ค้าภายในประเทศในสัดส่วนประมาณร้อยละ 67 ของยอดการสั่งซื้อ วัตถุดิบรวมเพื่อนำมาใช้ในการผลิตสายควบคุมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในปี 2547 ประกอบด้วย วัตถุดิบและชิ้นส่วน ประกอบประเภทยาง ลวด และเม็ดพลาสติก ซึ่งมีมูลค่าการสั่งซื้อวัตถุดิบหลักคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของ ยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบทั้งหมดที่นำมาใช้ในการผลิตสายควบคุม สำหรับวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์นั้น บริษัทฯ มีสัดส่วน การสั่งซื้อจากภายในประเทศประมาณร้อยละ 75 ของยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบรวมที่นำมาใช้ใน การผลิตชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ ทั้งนี้วัตถุดิบหลักในการผลิตชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ ประกอบด้วยเหล็กและมอเตอร์ ซึ่งบริษัทฯ มีการสั่งซื้อจากคู่ค้าหลายรายบริษัทฯ ไม่มีการสั่งซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วน ประกอบจากคู่ค้ารายใดเกินกว่าร้อยละ 30 ของยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบรวมนั้น บริษัทฯ จึงไม่มีการ พึ่งพิงการจัดซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบจากคู่ค้ารายใดรายหนึ่งเป็นสำคัญ และจากการที่บริษัทฯ มีคู่ค้าหลายราย ทำให้หากเกิดปัญหาในการจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบจากคู่ค้ารายใดรายหนึ่ง บริษัทฯ จะยังสามารถจัดหา วัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบทดแทนที่มีคุณภาพในระดับเดียวกันจากคู่ค้ารายอื่นได้ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก โดยบริษัทฯ ได้ว่าจ้างบริษัท เอ็น- เทคโนโลยี คอนซัลแตนท์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดของเสียเป็นผู้ดำเนินการขนขยะอันตรายไปกำจัด ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ใช้งบประมาณในด้านการจัดการทางด้านสิ่งแวดล้อมในปี 2545 2546 และ 2547 ทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 0.10 ล้านบาท 0.06 ล้านบาท และ 0.21 ล้านบาท ตามลำดับ โดยบริษัทฯ ได้รายงานการกำจัดขยะอันตรายต่อกรมโรงงาน อุตสาหกรรมเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งการดำเนินการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ เป็นไปตามข้อบังคับของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ผลจากการดำเนินการทางด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ได้มาตรฐานทำให้บริษัทฯ ได้รับ ประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) จาก TUV ในปี 2543 สรุปสาระสำคัญของสัญญา 1) สัญญาการใช้สิทธิและรับความช่วยเหลือด้านเทคนิค (License and Technical Assistance Agreement) บริษัทฯ ได้ทำสัญญาฉบับนี้กับ นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ เพื่อสิทธิในการผลิตสายควบคุม และส่วน ประกอบของสายควบคุมทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า "TSK" และ "HI-LEX" สำหรับการผลิตและประกอบสายควบคุมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยด้วย โดยสัญญาดังกล่าวมีอายุ 7 ปี โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2541 และจะขยายระยะเวลาของสัญญาต่อไปได้อีก 1 ปี หากสิ้นสุดระยะเวลาของ สัญญาภายใต้เงื่อนไขตามที่ระบุในสัญญา นอกจากนี้ภายใต้สัญญาดังกล่าวบริษัทฯ จะต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมให้กับ นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ในจำนวนร้อยละ 2 ของ รายได้สุทธิจากการขายสายควบคุมและส่วนประกอบของสาย ควบคุมทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในระหว่างอายุของสัญญา ทั้งนี้ รายได้สุทธิดังกล่าวคิดจากยอดขายสายควบคุม และส่วนประกอบของสายควบคุมทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ หักด้วยค่าบรรจุหีบห่อ เบี้ยประกันภัย ค่าขนส่ง ค่าจัดเก็บผลิตภัณฑ์ ส่วนลดทางการค้า ภาษีขายที่บริษัทฯ ต้องจ่าย และมูลค่าวัตถุดิบและชิ้นส่วนทั้งหมดที่ซื้อจาก นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ได้มีการทำหนังสือถึงบริษัทฯ ให้คำมั่นที่จะต่ออายุสัญญาฉบับดังกล่าวที่จะ หมดลงในวันที่ 15 กันยายน 2549 นี้ โดย นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ จะต่ออายุของสัญญาไปอีก 5 ปี นับแต่วันที่ หมดอายุของสัญญา 2) สัญญาการใช้สิทธิและรับความช่วยเหลือด้านเทคนิค (License and Technical Assistance Agreement) บริษัทฯ ได้ทำสัญญาฉบับนี้กับ นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ เพื่อสิทธิในการผลิตชุดควบคุมรางกระจก หน้าต่างรถยนต์และส่วนประกอบของชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์แบบใช้สายเคเบิลควบคุม และสิทธิใน การใช้เครื่องหมายการค้า "TSK" และ "HI-LEX" สำหรับการผลิต การใช้และการประกอบผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท ในประเทศไทย โดยสัญญาดังกล่าวมีอายุ 10 ปี โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2540 ซึ่งหากสิ้นสุดอายุสัญญาแล้ว จะสามารถต่ออายุของสัญญาต่อไปได้อีก 1 ปี ภายใต้เงื่อนไขตามที่กำหนดในสัญญา นอกจากนี้ภายใต้สัญญาดังกล่าว บริษัทฯ จะต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมให้กับ นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ในจำนวนร้อยละ 2 ของรายได้สุทธิที่ได้จาก การขายชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์และส่วนประกอบของชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์แบบใช้ สายเคเบิลควบคุมในระหว่างอายุของสัญญา ทั้งนี้ รายได้สุทธิดังกล่าวคิดจากยอดขายชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่าง รถยนต์และส่วนประกอบของชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์แบบใช้สายเคเบิลควบคุม หักด้วยค่าบรรจุหีบห่อ เบี้ยประกันภัย ค่าขนส่ง ค่าจัดเก็บผลิตภัณฑ์ ส่วนลดทางการค้า ภาษีขายที่บริษัทฯ ต้องจ่าย และมูลค่าวัตถุดิบและ ชิ้นส่วนทั้งหมดที่ซื้อจากนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ได้มีการทำหนังสือถึงบริษัทฯ ให้คำมั่นที่จะต่ออายุสัญญาฉบับดังกล่าวที่จะหมด ลงในวันที่ 4 มีนาคม 2551 นี้ โดย นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ จะต่ออายุของสัญญาไปอีก 5 ปี นับแต่วันที่หมดอายุ ของสัญญา 3) สัญญาการใช้สิทธิและรับความช่วยเหลือด้านเทคนิคในการผลิตชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์แบบ x-arm (Technical License Agreement) บริษัทฯ ได้ทำสัญญาฉบับนี้กับบริษัท ฟูจิ กิโกะ จำกัด (Fuji Kiko Co., Ltd.) เพื่อสิทธิในการผลิตชุดควบคุมราง กระจกหน้าต่างรถยนต์แบบ Arm & Sector สำหรับการใช้ในรถยนต์รุ่น GMT-355/Isuzu I-190 model ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ก็จะได้รับความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคและวิศวกรรมตามที่กำหนดในสัญญาด้วย โดยสัญญาดังกล่าวมีอายุ 10 ปี โดยเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2543 นอกจากนี้ ภายใต้สัญญาดังกล่าวบริษัทฯ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเริ่มต้น ให้กับบริษัท ฟูจิ กิโกะ จำกัด โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือในระยะเริ่มต้น บริษัทฯ จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับบริษัท ฟูจิ กิโกะ จำกัด จำนวน 30,000 เหรียญสหรัฐ และใน 2 ปีแรกจะคิดค่าธรรมเนียมในจำนวนร้อยละ 2 ของรายได้สุทธิที่ ได้จากการขายชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์แบบ x-arm และในปีที่เหลือจะคิดค่าธรรมเนียมในจำนวนร้อยละ 3 ของรายได้สุทธิที่ได้จากการขายในระหว่างอายุของสัญญา ทั้งนี้ รายได้สุทธิที่ได้จากการขายดังกล่าว คิดจากยอดขาย ชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์แบบ x-arm หักด้วยภาษีขาย ค่าบรรจุหีบห่อ ค่าขนส่ง และมูลค่า CIF ของวัตถุดิบ หรือชิ้นส่วนประกอบใด ๆ ที่บริษัทฯ ซื้อจากบริษัท ฟูจิ กิโกะ จำกัด อนึ่ง หากครบกำหนดอายุของสัญญาดังกล่าวแล้ว แต่บริษัทฯ ยังมีความจำเป็นต้องใช้สิทธิและรับความช่วยเหลือ ด้านเทคนิคในการผลิตชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์แบบ x-arm อีก ไม่ว่าจะเป็นสำหรับการใช้ในรถยนต์รุ่น GMT-355/Isuzu I-190 model หรือรุ่นอื่น ๆ บริษัทฯ จะต้องดำเนินการทำสัญญาใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นการทำสัญญากับ บริษัท ฟูจิ กิโกะ จำกัด หรือบริษัทอื่นที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์และเทคนิคในการผลิตดังกล่าวก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ข้อกำหนดจากลูกค้าที่จะได้กำหนดต่อไป 4) สัญญาซื้อขายชิ้นส่วนที่ทำกับบริษัท อีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และบริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาซื้อขายที่บริษัทฯ ทำกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อจำหน่ายชิ้นส่วนในการผลิตและการจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดยสัญญาดังกล่าวจะมีอายุของสัญญา 1 ปี และจะต่ออายุสัญญาต่อไปอีกคราวละ 1 ปี หากไม่มีฝ่ายใดแสดงเจตนาเลิกสัญญาโดยชัดแจ้ง นอกจากนี้ ในสัญญา ดังกล่าวจะมีการรับรองและการรับประกันเกี่ยวกับชิ้นส่วนที่บริษัทฯ ได้ขายให้กับบริษัทต่างๆ ข้างต้นรวมถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบกรณีหากมีการบาดเจ็บของบุคคลที่สามหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินอันมีสาเหตุมาจากความ บกพร่องของผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ อนึ่ง สัญญาดังกล่าวนี้เป็นเพียงสัญญาที่กำหนดเงื่อนไขหลักต่าง ๆ ทั้งนี้ ก่อนที่จะมีการซื้อขายกันนั้น สำหรับ การสั่งซื้อชิ้นส่วนแต่ละชิ้นนั้น บริษัทผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ต่าง ๆ ดังกล่าวจะประกาศแผนการผลิตรถยนต์ และรถจักรยานยนต์แต่ละรุ่นพร้อมทั้งให้รายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติ (Specifications) ของชิ้นส่วนที่ต้องการ ซึ่ง บริษัทฯ จะต้องดำเนินการออกแบบและ/หรือผลิตชิ้นงานต้นแบบเพื่อนำเสนอให้แก่บริษัทต่าง ๆ ดังกล่าวพิจารณาคัดเลือก และหากบริษัทฯ ได้รับการพิจารณาคัดเลือก บริษัทต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นจึงจะส่งคำสั่งซื้อ (Purchase Order) ให้กับ บริษัทฯ ซึ่งการสั่งซื้อจะเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวตามแผนการผลิตของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ต่าง ๆ ดังกล่าว การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ - ไม่มี - การให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการจัดการ บริษัทฯ ได้รับสิทธิและความช่วยเหลือด้านเทคนิคในการผลิตสายควบคุมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และชุดควบคุม รางกระจกหน้าต่างรถยนต์แบบใช้สายควบคุมจากนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ แห่งประเทศญี่ปุ่น และได้รับสิทธิและความ ช่วยเหลือด้านเทคนิคในการผลิตชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์แบบ x-arm จากบริษัท ฟูจิ กิโกะ จำกัด แห่งประเทศญี่ปุ่น โครงการดำเนินงานในอนาคต 1. โครงการขยายกำลังการผลิตและการย้ายฐานการผลิตของบริษัทฯ บริษัทฯ มีแผนที่จะลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิต โดยการสร้างโรงงานขนาด 20,000 ตารางเมตร บนเนื้อที่ ประมาณ 50 ไร่ในบริเวณนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี โดยแผนการลงทุนในโรงงานแห่งใหม่นี้จะมีมูลค่า ในการลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 395 ล้านบาท ประกอบด้วยการลงทุนในที่ดินประมาณ 140 ล้านบาท การลงทุนก่อสร้าง อาคารโรงงานประมาณ 160 ล้านบาท การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ประมาณ 75 ล้านบาท (เป็นการลงทุนเพิ่มเติม จากเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตเดิม) และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการลงทุนในโครงการประมาณ 20 ล้านบาท โดยเมื่อแล้วเสร็จโรงงานแห่งใหม่นี้จะมีกำลังการผลิตรวม (ทั้งสายควบคุมและชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์) ทั้งหมดประมาณ 30,000,000 ชิ้นต่อปี และบริษัทฯ มีแผนที่จะย้ายกำลังการผลิตสายควบคุม (ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์) และชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ทั้งหมดจากโรงงานเดิมมาผลิตที่โรงงานแห่งใหม่นี้ทั้งหมด สำหรับพื้นที่โรงงานเดิม บริษัทฯ มีแผนที่จะจัดทำเป็นคลังเก็บผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการกระจายผลิตภัณฑ์ รวมทั้งใช้เป็นที่ตั้งสำนักงานของบริษัทฯ ทั้งนี้บริษัทฯ อาจจะพิจารณาจัดสรรการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวในทางอื่นด้วยหากมีโอกาสที่เหมาะสม นอกจากนี้ บริษัทฯ มีแผนที่จะทำการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนสำหรับโรงงานใหม่ เพื่อรับ สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากรต่อไป ซึ่งในเบื้องต้นการลงทุนของบริษัทฯ ดังกล่าว เข้าข่ายหลักเกณฑ์การส่งเสริมการ โยกย้ายสถานประกอบการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในกรณีของการย้ายสถานประกอบการจากเขต 1 ไปเขต 2 ซึ่งผลประโยชน์ที่จะได้รับคือ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 7 ปี นับจากวันที่เริ่มมีรายได้จากการ ประกอบกิจการในที่ตั้งแห่งใหม่ ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับนิคมอุตสาหกรรมอมตะนครแล้ว โดยได้วางมัดจำค่าที่ดินไปแล้ว เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 28 ล้านบาท และคาดว่าจะเริ่มสร้างโรงงานได้ในไตรมาส 3 ปี 2548 และจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 4 ปี 2549 ทั้งนี้ เงินที่ใช้ในการลงทุนทั้งหมดจะมาจากเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชน 2. โครงการลงทุนอื่นๆ บริษัทฯ มีความต้องการซื้อเครื่องมือสำหรับทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย อาทิ เครื่องทดสอบความ สั่นสะเทือน (Vibration Durability Testing Machine) และ เครื่องมือทดสอบความร้อน/ความเย็น (Heat/Cold Durability Testing Machine) ซึ่งมีความสำคัญต่อการทดสอบคุณภาพการทำงานของสายควบคุม โดยการมีเครื่องมือทดสอบเป็นของ ตนเองจะทำให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งจะทำให้บริษัทฯ สามารถให้บริการลูกค้าได้ดีมากขึ้น เนื่องจากบริษัทฯ ไม่ต้องเสียเวลาส่งตัวอย่างไปทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่ประเทศญี่ปุ่น บริษัทฯ คาดว่าจะต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 5 ล้านบาท ซึ่งในปัจจุบัน บริษัทฯ อยู่ระหว่างการเจรจาในรายละเอียดเพื่อดำเนินการสั่งซื้อ ทั้งนี้เงินที่ใช้ในการลงทุน ดังกล่าวจะมาจากเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการ รายการระหว่างกัน บริษัทฯ มีรายการระหว่างกันสำหรับรอบบัญชีปี 2547 กับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งดังนี้ รายการระหว่างกันที่มีกับบริษัทในกลุ่มของซัมมิท โอโต กรุ๊ป รายการทั้งหมดเป็นรายการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน โดยเหตุผลที่บริษัทฯ มีการขายผลิตภัณฑ์ บางประเภทให้กับบริษัทในกลุ่มของซัมมิท โอโต กรุ๊ป นั้น ส่วนใหญ่แล้วเป็นเหตุผลเนื่องจากบริษัทในกลุ่มของซัมมิท โอโต กรุ๊ป มีความจำเป็นที่จะต้องจัดซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทฯ เพื่อนำไปประกอบกับชิ้นส่วนอื่น ๆ เข้าเป็นชุดผลิตภัณฑ์ สำเร็จรูป (Module) เพื่อส่งมอบให้กับผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ของลูกค้าต่อไป สำหรับการที่บริษัทฯ มีการจัดซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทในกลุ่มของซัมมิท โอโต กรุ๊ป นั้น เป็นการจัดซื้อตามปกติที่บริษัทฯ ต้องจัดซื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ เงื่อนไข: ราคาขายเป็นราคาที่ให้กำไรขั้นต้นในอัตราที่ใกล้เคียงกับอัตรากำไรขั้นต้นที่บริษัทฯ ได้รับจากการขาย ผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันให้กับบุคคลอื่นที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ 1. บริษัท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร และกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ขายสินค้าสำเร็จรูปประเภทสายเบรคหน้ารถยนต์ มูลค่าของรายการ : 18.99 ล้านบาท 2. บริษัท ซัมมิท โอโตซีท อินดัสตรี จำกัด ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร และกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ขายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปประเภทสายคันเร่ง สายเบรก สายเปิดฝากระโปรง สายเปิดฝาถังน้ำมัน และสายปรับเบาะที่นั่งสำหรับรถยนต์ มูลค่าของรายการ : 29.08 ล้านบาท 3. บริษัท ซัมมิท แหลมฉบัง โอโต ซีท แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร และกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ขายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปประเภทสายปรับเบาะที่นั่งสำหรับรถยนต์ มูลค่าของรายการ : 5.16 ล้านบาท 4. บริษัท คอมพลีท โอโตพาร์ท จำกัด ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร และกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ขายชิ้นส่วนรถยนต์ประเภท Liner (ท่อพลาสติกที่อยู่ระหว่างสายในกับสายนอก) สำหรับ ใช้ในการผลิตสายคันเร่ง เพื่อนำไปประกอบเพิ่มเติมและส่งต่อให้ผู้ผลิตอื่นใช้ในการ ผลิตสายคันเร่ง มูลค่าของรายการ : 0.33 ล้านบาท ค่าซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ เงื่อนไข : เปรียบเทียบราคากับผู้ขายผลิตภัณฑ์และบริการรายอื่นที่มีอยู่ในประเทศไทย แล้วพิจารณาเลือกผู้ที่ เสนอราคาต่ำสุด 1. บริษัท คอมพลีท โอโตพาร์ท จำกัด ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร และกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ซื้อชิ้นส่วนพลาสติก เหล็ก สังกะสี เพื่อนำมาใช้ในการประกอบสายควบคุมรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ มูลค่าของรายการ : 29.02 ล้านบาท 2. บริษัท คอมพลีท โอโต รับเบอร์ แมนูแฟ็คเจอริ่ง จำกัด ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร และกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ซื้อชิ้นส่วนยาง เพื่อนำมาใช้ในการประกอบสายควบคุมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มูลค่าของรายการ : 9.35 ล้านบาท 3. บริษัท ไทยออโตอินดัสตรี จำกัด ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร และกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ซื้อชิ้นส่วนเหล็กขึ้นรูป เพื่อนำมาใช้ในการประกอบสายควบคุมรถยนต์ มูลค่าของรายการ : 7.94 ล้านบาท 4. บริษัท ซัมมิท ชูโกกุ เซอิร่า จำกัด ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้น ผู้บริหาร และกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ซื้อชิ้นส่วนน็อต เพื่อนำมาใช้ในการประกอบสายควบคุมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มูลค่าของรายการ : 0.24 ล้านบาท รายการคงค้างประเภทลูกหนี้การค้า เงื่อนไข : กำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อทางการค้าตามเกณฑ์ปกติที่ให้แก่ลูกหนี้การค้าทั่วไป 1. บริษัท ซัมมิท โอโต บอดี้ อินดัสตรี จำกัด (มูลค่าของรายการ 3.23 ล้านบาท) 2. บริษัท ซัมมิท โอโตซีท อินดัสตรี จำกัด (มูลค่าของรายการ 7.85 ล้านบาท) 3. บริษัท ซัมมิท แหลมฉบัง โอโต ซีท แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (มูลค่าของรายการ 1.83 ล้านบาท) 4. บริษัท คอมพลีท โอโตพาร์ท จำกัด (มูลค่าของรายการ 0.32 ล้านบาท) รายการคงค้างประเภทเจ้าหนี้การค้า เงื่อนไข : ระยะเวลาการให้สินเชื่อทางการค้าที่ได้รับเป็นไปตามเกณฑ์ปกติที่ได้รับจากเจ้าหนี้การค้าทั่วไป 1. บริษัท คอมพลีท โอโตพาร์ท จำกัด (มูลค่าของรายการ 7.84 ล้านบาท) 2. บริษัท คอมพลีท โอโต รับเบอร์ แมนูแฟ็คเจอริ่ง จำกัด (มูลค่าของรายการ 2.48 ล้านบาท) 3. บริษัท ไทยออโตอินดัสตรี จำกัด (มูลค่าของรายการ 2.32 ล้านบาท) 4. บริษัท ซัมมิท ชูโกกุ เซอิร่า จำกัด (มูลค่าของรายการ 0.08 ล้านบาท) รายการระหว่างกันที่มีกับบริษัทในกลุ่มของนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ รายการโดยส่วนใหญ่เป็นรายการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายผลิตภัณฑ์ระหว่างกัน โดยความจำเป็นที่บริษัทฯ มีการ ซื้อขายผลิตภัณฑ์บางประเภทกับบริษัทในกลุ่มของนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ นั้น เนื่องจากบริษัทในกลุ่มฯ แต่ละ บริษัท มีนโยบายในการควบคุมต้นทุนในการผลิตสินค้าของตน โดยหากสามารถจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบ ที่มีคุณภาพและมีราคาที่เหมาะสมจากผู้ผลิตภายนอกทดแทนการผลิตเองได้ก็จะมีการจัดหาจากผู้ผลิตภายนอก ทำให้ ในบางกรณีจะมีการจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบจากบริษัทภายในกลุ่มฯ ด้วยกันเองด้วย นอกจากนี้ในกรณีที่ บริษัทในกลุ่มฯ ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันตามความต้องการของลูกค้าก็จะมีการจัดซื้อจากบริษัทในกลุ่มฯ ด้วย ดังนั้นลักษณะของการทำรายการระหว่างกันของบริษัทในกลุ่มของนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ จะเป็นในลักษณะของ การให้การสนับสนุนชิ้นส่วนที่มีคุณภาพและมีราคาแข่งขันได้ให้แก่กันตามความต้องการของบริษัทในกลุ่มฯ รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ เงื่อนไข : ราคาขายเป็นราคาที่ให้กำไรขั้นต้นในอัตราที่ใกล้เคียงกับอัตรากำไรขั้นต้นที่บริษัทฯ ได้รับจากการ ขายผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันให้กับบุคคลอื่นที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ 1. นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น ความสัมพันธ์ : เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และมีกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ขายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปประเภทสายปรับเบาะที่นั่ง สายเบรก และสายคันเร่งสำหรับรถยนต์ มูลค่าของรายการ : 11.03 ล้านบาท 2. บริษัท ไฮเล็กซ์ เวียดนาม จำกัด ประเทศเวียดนาม ความสัมพันธ์ : บริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้น และมีผู้ถือหุ้นและกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ขายชิ้นส่วนเหล็กและยาง เพื่อนำไปใช้ในการประกอบสายควบคุมรถจักรยานยนต์ มูลค่าของรายการ : 29.86 ล้านบาท 3. อาร์มสตรอง ไซเคิล พาร์ทส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี ประเทศมาเลเซีย ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้นร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ขายชิ้นส่วนเหล็ก ยาง และทองเหลือง เพื่อนำไปใช้ในการประกอบสายควบคุมรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ รวมทั้งชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ มูลค่าของรายการ : 10.04 ล้านบาท 4. บริษัท ฉงชิ่ง ทีเอสเค คอนโทรล เคเบิล ซิสเต็ม จำกัด ประเทศจีน ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้นและกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ขายชิ้นส่วนเหล็ก เพื่อนำไปใช้ในการประกอบชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ มูลค่าของรายการ : 0.01 ล้านบาท 5. บริษัท กวางเจา ทีเอสเค คอนโทรล เคเบิล จำกัด ประเทศจีน ความสัมพันธ์ : มีไฮเล็กซ์ คอร์ปอเรชั่น และบริษัท ฉงชิ่ง ทีเอสเค คอนโทรล เคเบิล ซิสเต็ม จำกัด ซึ่งเป็น บริษัทลูกของนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ เป็นผู้ถือหุ้น และมีกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ขายชิ้นส่วนเหล็ก เพื่อนำไปใช้ในการประกอบสายควบคุมรถยนต์ มูลค่าของรายการ : 6.09 ล้านบาท 6. ไฮเล็กซ์ ดีโอ บราซิล แอลทีดีเอ ประเทศบราซิล ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้นร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ขายชิ้นส่วนเหล็ก เพื่อนำไปใช้ในการประกอบสายควบคุมรถยนต์ มูลค่าของรายการ : 0.43 ล้านบาท 7. ไฮเล็กซ์ คอนโทรลส์ อิงค์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้นและกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ขายชิ้นส่วนเหล็ก เพื่อนำไปใช้ในการประกอบสายควบคุมรถยนต์ มูลค่าของรายการ : 0.04 ล้านบาท 8. ไฮเล็กซ์ อินเดีย ไพรเวท ลิมิเต็ด ประเทศอินเดีย ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้นและกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ขายชิ้นส่วนเหล็กและยาง เพื่อนำไปใช้ในการประกอบสายควบคุมรถยนต์ และชุดควบคุมราง กระจกหน้าต่างรถยนต์ มูลค่าของรายการ : 3.32 ล้านบาท 9. พีที ไฮเล็กซ์ อินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้นและกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ขายชิ้นส่วนเหล็ก เพื่อนำไปใช้ในการประกอบสายควบคุมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มูลค่าของรายการ : 2.71 ล้านบาท ค่าซื้อผลิตภัณฑ์และบริการ เงื่อนไข: เปรียบเทียบราคากับผู้ขายผลิตภัณฑ์และบริการรายอื่นที่มีอยู่ในประเทศไทย แล้วพิจารณาเลือกผู้ที่ เสนอราคาต่ำสุด 1. นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น ความสัมพันธ์ : เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และมีกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ซื้อชิ้นส่วนและวัตถุดิบ เพื่อนำมาใช้ในการประกอบสายควบคุมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มูลค่าของรายการ : 266.42 ล้านบาท 2. ไฮเล็กซ์ คอนโทรลส์ อิงค์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้นและกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ซื้อ Spiral Spring และชิ้นส่วนเหล็ก เพื่อนำมาใช้ในการประกอบชุดควบคุมรางกระจก หน้าต่างรถยนต์ มูลค่าของรายการ : 2.00 ล้านบาท 3. ไฮเล็กซ์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้นและกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ซื้อชิ้นส่วนเหล็ก พลาสติก และยาง เพื่อนำมาใช้ในการประกอบสายควบคุมรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ มูลค่าของรายการ : 0.40 ล้านบาท 4. พีที ไฮเล็กซ์ อินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย ความสัมพันธ์ : มีผู้ถือหุ้นและกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ซื้อชิ้นส่วนเหล็กประเภทสายเร่ง เพื่อนำมาใช้ในการประกอบสายควบคุมรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ มูลค่าของรายการ : 0.09 ล้านบาท รายการคงค้างประเภทลูกหนี้การค้า เงื่อนไข : กำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อทางการค้าตามเกณฑ์ปกติที่ให้แก่ลูกหนี้การค้าทั่วไป 1. นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น (มูลค่าของรายการ 1.44 ล้านบาท) 2. บริษัท ไฮเล็กซ์ เวียดนาม จำกัด ประเทศเวียดนาม (มูลค่าของรายการ 4.18 ล้านบาท) 3. อาร์มสตรอง ไซเคิล พาร์ทส์ เอสดีเอ็น บีเอชดี ประเทศมาเลเซีย (มูลค่าของรายการ 1.96 ล้านบาท) 4. บริษัท กวางเจา ทีเอสเค คอนโทรล เคเบิล จำกัด ประเทศจีน (มูลค่าของรายการ 1.59 ล้านบาท) 5. ไฮเล็กซ์ ดีโอ บราซิล แอลทีดีเอ ประเทศบราซิล (มูลค่าของรายการ 0.14 ล้านบาท) 6. ไฮเล็กซ์ คอนโทรลส์ อิงค์ ประเทศสหรัฐอเมริกา (มูลค่าของรายการ 0.03 ล้านบาท) 7. ไฮเล็กซ์ อินเดีย ไพรเวท ลิมิเต็ด ประเทศอินเดีย (มูลค่าของรายการ 1.77 ล้านบาท) 8. พีที ไฮเล็กซ์ อินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย (มูลค่าของรายการ 0.24 ล้านบาท) รายการคงค้างประเภทเจ้าหนี้การค้า เงื่อนไข : ระยะเวลาการให้สินเชื่อทางการค้าที่ได้รับเป็นไปตามเกณฑ์ปกติที่ได้รับจากเจ้าหนี้การค้าทั่วไป 1. นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น (มูลค่าของรายการ 29.67 ล้านบาท) 2. ไฮเล็กซ์ คอนโทรลส์ อิงค์ ประเทศสหรัฐอเมริกา (มูลค่าของรายการ 0.77 ล้านบาท) 3. ไฮเล็กซ์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศสหรัฐอเมริกา (มูลค่าของรายการ 0.38 ล้านบาท) รายการค่าซื้อสินทรัพย์ 1. นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น ความสัมพันธ์ : เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และมีกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ แบบพิมพ์ และเครื่องจักร ได้แก่ เครื่องตัดลวดเหล็ก เครื่องเชื่อมโดย อัลตราโซนิก เครื่องหล่อสังกะสี และเครื่องพ่นน้ำมันเข้าท่อ เพื่อนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการผลิต มูลค่าของรายการ : 6.33 ล้านบาท เงื่อนไข/ความจำเป็น : บริษัทฯ มีความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์ และนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ มีเครื่องมือเครื่องใช้ แบบพิมพ์ และเครื่องจักรที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ของ บริษัทฯ โดยเฉพาะ และมีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของบริษัทฯ ทั้งนี้ สินทรัพย์ ดังกล่าวบริษัทฯ ไม่ได้จัดซื้อบ่อยครั้ง ซึ่งในการซื้อแต่ละครั้ง บริษัทฯ ไม่สามารถหาซื้อจาก คู่ค้ารายอื่นได้ หรือหากสามารถหาซื้อได้ก็มีคุณภาพไม่เพียงพอตามความต้องการของบริษัทฯ รายการค่าใช้จ่ายอื่น 1. นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น ความสัมพันธ์ : เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และมีกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ค่าธรรมเนียมจากการรับความช่วยเหลือทางเทคนิคสำหรับการผลิตสายควบคุมและส่วนประกอบ สายควบคุมทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และสำหรับการผลิตชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่าง รถยนต์แบบใช้สายควบคุม และส่วนประกอบของชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์แบบใช้ สายเคเบิล สำหรับรถยนต์ มูลค่าของรายการ : 20.98 ล้านบาท เงื่อนไข/ความจำเป็น : เป็นไปตามอัตราและเงื่อนไขตามที่กำหนดในสัญญา ซึ่งใกล้เคียงกันกับอัตราและเงื่อนไขใน สัญญาประเภทเดียวกันที่กระทำกับบุคคลอื่นที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ รายการคงค้างอื่น 1. นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น ความสัมพันธ์ : เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และมีกรรมการบางท่านร่วมกัน ลักษณะของรายการ : ค่าธรรมเนียมค้างจ่ายจากการรับความช่วยเหลือทางเทคนิคสำหรับการผลิตสายควบคุมและ ส่วนประกอบสายควบคุมทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และสำหรับการผลิตชุดควบคุมราง กระจกหน้าต่างรถยนต์แบบใช้สายควบคุม และส่วนประกอบของชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่าง รถยนต์แบบใช้สายควบคุม สำหรับรถยนต์ มูลค่าของรายการ : 11.38 ล้านบาท เงื่อนไข/ความจำเป็น : กำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อสำหรับการชำระค่าธรรมเนียมเป็นไปตามเงื่อนไขในสัญญา ซึ่งอยู่ในเกณฑ์เดียวกันกับเงื่อนไขในสัญญาประเภทเดียวกันที่บริษัทฯ ทำกับบุคคลอื่นที่ไม่มี ความเกี่ยวข้องกับบริษัทฯ รายการระหว่างกันที่มีกับบุคคลอื่น 1. กลุ่มจุฬางกูร ความสัมพันธ์ : เป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัทฯ 1.1 การค้ำประกัน ลักษณะของรายการ : ค้ำประกันเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาวของบริษัทฯ ตามรายละเอียดที่ปรากฏใน งบการเงิน มูลค่าของรายการ : - เงื่อนไข/ความจำเป็น : เป็นเงื่อนไขในการกู้ยืมเงินที่ธนาคารกำหนด ซึ่งบริษัทฯ ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใด ๆ ให้กับผู้ค้ำประกัน 1.2 การขายหุ้น ลักษณะของรายการ : บริษัทฯ ขายเงินลงทุนในบริษัท คอมพลีท โอโต รับเบอร์ แมนูแฟ็คเจอริ่ง จำกัด จำนวน 24,000 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.00 ของทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว ในราคาหุ้นละ 100 บาท (ราคาที่ตราไว้) ให้กลุ่มจุฬางกูร มูลค่าของรายการ : 2.40 ล้านบาท เงื่อนไข/ความจำเป็น : เป็นการทำรายการเพื่อปรับโครงสร้างกลุ่มของบริษัทฯ ไม่ให้มีการถือหุ้นในบริษัทอื่น โดยราคาเป็นราคาตามต้นทุนเงินลงทุนในงบของบริษัทฯ (ราคาที่บริษัทฯ ซื้อมา) ซ ึ่ง ต่ำกว่ามูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท คอมพลีท โอโต รับเบอร์ แมนูแฟ็คเจอ ริ่ง จำกัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 ที่มีมูลค่าทางบัญชีต่อหุ้นเท่ากับ 106.26 บ าท 2. กลุ่มพัฒนะเมลือง ความสัมพันธ์ : เป็นผู้ถือหุ้น เป็นกรรมการของบริษัทฯ และบุตรของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ 2.1 การค้ำประกัน ลักษณะของรายการ : ค้ำประกันเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาวของบริษัทฯ ตามรายละเอียดที่ปรากฏใน งบการเงิน มูลค่าของรายการ : - เงื่อนไข/ความจำเป็น : เป็นเงื่อนไขในการกู้ยืมเงินที่ธนาคารกำหนด ซึ่งบริษัทฯ ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ใด ๆ ให้กับผู้ค้ำประกัน 2.2 การขายหุ้น ลักษณะของรายการ : บริษัทฯ ขายเงินลงทุนในบริษัท คอมพลีท โอโต รับเบอร์ แมนูแฟ็คเจอริ่ง จำกัด จำนวน 24,000 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.00 ของทุนจดทะเบียนและชำระแล ้ว ในราคาหุ้นละ 100 บาท (ราคาที่ตราไว้) ให้กลุ่มพัฒนะเมลือง มูลค่าของรายการ : 2.40 ล้านบาท เงื่อนไข/ความจำเป็น : เป็นการทำรายการเพื่อปรับโครงสร้างกลุ่มของบริษัทฯ ไม่ให้มีการถือหุ้นใน บริษัทอื่น โดยราคาเป็นราคาตามต้นทุนเงินลงทุนในงบของบริษัทฯ (ราคาที่ บริษัทฯ ซื้อมา) ซึ่งต่ำกว่ามูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท คอมพลีท โอโต รับเบอร์ แมนูแฟ็คเจอริ่ง จำกัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 ที่มีมูลค่าทาง บัญชีต่อหุ้นเท่ากับ 106.26 บาท 2.3 การขายทรัพย์สิน ลักษณะของรายการ : บริษัทฯ ขายรถยนต์ของบริษัทฯ ให้กลุ่มพัฒนะเมลือง มูลค่าของรายการ : 1.50 ล้านบาท เงื่อนไข/ความจำเป็น : เป็นการขายรถยนต์ที่ครบกำหนดอายุการใช้งานและไม่อยู่ในความต้องการของ บริษัทฯ แล้ว โดยราคาเป็นไปตามราคาตลาด ซึ่งสูงกว่าราคาตามบัญชี โดยราคา ตามบัญชีของรถยนต์ ณ วันที่ขายเท่ากับ 0.96 ล้านบาท มาตรการหรือขั้นตอนในการอนุมัติการทำรายการระหว่างกัน กรณีที่มีรายการระหว่างกันของบริษัทฯ หรือบริษัทร่วมกับบุคคลที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ มีส่วนได้ ส่วนเสีย หรืออาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ในอนาคต คณะกรรมการตรวจสอบจะเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ ความจำเป็นในการเข้าทำรายการและความเหมาะสมทางด้านราคาของรายการนั้นๆ โดยพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ให้เป็น ไปตามลักษณะการดำเนินธุรกิจปกติในอุตสาหกรรม และมีการเปรียบเทียบกับราคาของบุคคลภายนอกหรือราคาตลาด หากคณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความชำนาญในการพิจารณารายการระหว่างกันที่อาจเกิดขึ้น บริษัทฯ จะจัดให้ ผู้เชี่ยวชาญอิสระหรือผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ เป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกันดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ ประกอบการตัดสินใจของคณะกรรมการ คณะกรรมการตรวจสอบ หรือผู้ถือหุ้นตามแต่กรณี โดยกรรมการผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียจะไม่มีสิทธิออกเสียงในรายการดังกล่าว อีกทั้งจะมีการเปิดเผยรายการระหว่างกันในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ที่ตรวจสอบหรือสอบทานโดยผู้สอบบัญชีของบริษัทฯ นอกจากนี้ ภายหลังจากการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว บริษัทฯ จะต้องปฏิบัติ ตามกฎ ระเบียบ ขั้นตอนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในเรื่องที่เกี่ยวกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน และการ ได้มาหรือจำหน่ายไปของสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนอย่างเคร่งครัด นโยบายหรือแนวโน้มการทำรายการระหว่างกันในอนาคต ในอนาคตบริษัทฯ คงมีการเข้าทำรายการระหว่างกันตามแต่เห็นสมควร โดยจะปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่า ด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รวมทั้งเป็นไปตามมาตรฐานบัญชี เรื่องการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกันซึ่งกำหนดโดย สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ในกรณีที่เป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็นปกติ เช่น การจ้างผลิตชิ้นงาน การซื้อผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ และการขาย ผลิตภัณฑ์ เป็นรายการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในอนาคต บริษัทได้กำหนดหลักเกณฑ์ โดยราคาและเงื่อนไขที่เข้าข่ายรายการ ที่เกิดขึ้นเป็นปกติจะต้องมีลักษณะดังนี้ - เป็นราคาและเงื่อนไขที่บริษัทฯ ได้รับหรือให้กับบุคคลทั่วไป - เป็นราคาและเงื่อนไขที่บุคคลที่เกี่ยวโยงกันให้กับบุคคลทั่วไป - เป็นราคาและเงื่อนไขที่บริษัทฯ สามารถแสดงได้ว่าผู้ประกอบธุรกิจในลักษณะเดียวกันให้กับบุคคลทั่วไป - เป็นรายการที่มีเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไปและค่าตอบแทนสามารถคำนวณได้จากทรัพย์สินหรือมูลค่าอ้างอิง อย่างไรก็ตาม หากมีการเข้าทำรายการระหว่างกันที่ไม่เข้าข่ายรายการที่เกิดขึ้นเป็นปกติดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ จะจัดให้คณะกรรมการตรวจสอบ และ/หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะเป็นผู้ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการระหว่างกัน โดยความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบหรือบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญพิเศษ จะถูกนำไปใช้ประกอบการตัดสิน ของคณะกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้น เพื่อให้มีความมั่นใจว่าการเข้าทำรายการดังกล่าวเป็นการทำรายการที่บริษัทฯ ได้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นทุกราย ภาระผูกพัน 1. ณ วันที่ 31 มีนาคม 2548 บริษัทฯ ได้ให้สถาบันการเงินภายในประเทศแห่งหนึ่ง ออกหนังสือค้ำประกันการใช้ ไฟฟ้าต่อการไฟฟ้านครหลวง วงเงิน 1.25 ล้านบาท โดยใช้หลักประกันร่วมกับเงินกู้ยืมระยะยาว 2. ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2547 มีมติให้บริษัทฯ ซื้อที่ดินกับ บริษัทแห่งหนึ่ง จำนวนเงินประมาณ 38 ล้านบาท โดยมีการจ่ายเงินมัดจำไปแล้วในปี 2547 จำนวนเงิน 10.26 ล้านบาท และตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2548 มีมติให้บริษัทฯ ซื้อที่ดินเพิ่ม จากเดิมตามแผนการลงทุนของบริษัทฯ รวมเป็นจำนวนเงินประมาณ 140 ล้านบาท ซึ่งในปี 2548 บริษัทฯ ได้จ่ายค่า ที่ดินเพิ่มอีกจำนวนเงิน 17.74 ล้านบาท ปัจจัยเสี่ยง 1. ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 1.1 การพึ่งพิงเทคโนโลยีการผลิตสายควบคุมและชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์แบบใช้สายควบคุม จากนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ (Nippon Cable System Inc.) ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ผลิตโดยใช้ลิขสิทธิ์ที่ได้รับจากนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ตามสัญญารับ ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค ซึ่งในปี 2547 บริษัทฯ มียอดขายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ผลิตโดยใช้ลิขสิทธิ์ที่ได้รับ จากนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ คิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 91.50 ของยอดขายรวม โดยสัญญารับความช่วยเหลือ ทางด้านเทคนิคดังกล่าวจะหมดอายุลงในปี 2549 และ 2551 ตามลำดับ บริษัทฯ จึงมีความเสี่ยงจากการไม่ได้รับ ต่อสัญญาจากนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ คาดว่าโอกาสที่บริษัทฯ จะไม่ได้รับการต่ออายุสัญญากับ นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ นั้น มีความเป็นไปได้น้อยมาก เนื่องจากนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ นั้น มีอีกสถานะคือเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ บริษัทฯ โดยจะถือหุ้นในอัตราร้อยละ 26.94 ภายหลังการเสนอขายหุ้น และได้ให้คำมั่นสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แก่บริษัทฯ ว่าจะดำเนินการต่อสัญญาให้อีก 5 ปี ภายหลังจากที่สัญญาฉบับปัจจุบันแต่ละฉบับหมดอายุลง และจาก การที่ได้ร่วมลงทุนในบริษัทมาเป็นเวลานานกว่า 24 ปี จึงทำให้มีความมั่นใจว่าความเสี่ยงจากการไม่ได้รับการต่อ สัญญารับความช่วยเหลือทางเทคนิคจากผู้ถือหุ้นใหญ่มีค่อนข้างต่ำ 1.2 การพึ่งพิงการซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบจากนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ในปี 2545 2547 บริษัทฯ ได้สั่งซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบจากนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ซึ่ง เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ เป็นจำนวน 159.72 ล้านบาท 213.10 ล้านบาท และ 266.42 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น ร้อยละ 27.54 ร้อยละ 24.69 และร้อยละ 23.24 ของมูลค่าการซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบรวมทั้งหมดของบริษัทฯ ตามลำดับ โดยวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบต่างๆ ดังกล่าวไม่สามารถผลิตได้ในประเทศหรือปริมาณการผลิตไม่คุ้ม ที่จะผลิตเองหรือไม่สามารถจัดหาวัตถุดิบภายในประเทศได้ บริษัทฯ จึงมีความเสี่ยงจากการพึ่งพาการซื้อวัตถุดิบและ ชิ้นส่วนประกอบจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมาบริษัทฯ ไม่เคยประสบปัญหาการสั่งซื้อวัตถุดิบ จากนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ดังนั้น บริษัทฯ เชื่อว่าความเสี่ยงจากการสูญเสียคู่ค้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบ รายใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ ด้วย มีน้อยมาก นอกจากนี้บริษัทฯ ยังสามารถจัดซื้อจากบริษัทอื่นใน ประเทศญี่ปุ่นเพื่อทดแทนการสั่งซื้อจากนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ได้อีกด้วยซึ่ง (กรณีดังกล่าวอาจทำให้บริษัทฯ มีค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อวัตถุดิบที่สูงขึ้น) อนึ่ง บริษัทฯ ไม่ได้มีการทำสัญญาใด ๆ ที่กำหนดบังคับให้บริษัทฯ ต้องจัดซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบ จากนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ แต่อย่างใด 1.3 การพึ่งพิงเครื่องหมายการค้าและชื่อเสียงของนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ชื่อเสียงและเครื่องหมายการค้าของนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ได้แก่ "TSK" และ "HI-LEX" อันเป็นที่ ยอมรับของผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทั่วโลก เป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยให้บริษัทฯ สามารถเริ่มขายผลิตภัณฑ์ใน ตลาดใหม่และรักษาฐานลูกค้าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดต่างประเทศที่ไม่มีเครือข่ายของนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ตั้งอยู่ ดังนั้นหากขาดความช่วยเหลือทางด้านชื่อเสียงและเครื่องหมายการค้าดังกล่าวของนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ บริษัทฯ อาจประสบปัญหาในการรักษาลูกค้ารายเดิม หรือหาลูกค้ารายใหม่ ในอนาคต อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีความเชื่อว่าจากความสัมพันธ์อันดีระหว่างบริษัทฯ และนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ กว่า 24 ปี และสัดส่วนการ ถือหุ้นที่สูง ทำให้นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ มีแรงจูงใจในการร่วมพัฒนาบริษัทฯ และมีความเป็นไปได้น้อยที่ นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ จะยกเลิกการเป็นพันธมิตรกับบริษัทฯ 2. ความเสี่ยงจากการแข่งขันจากต่างประเทศ 2.1 การที่นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ จะใช้ฐานการผลิตอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อผลิตและ ส่งผลิตภัณฑ์เข้ามาแข่งขันในประเทศไทย ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) สมาชิกประเทศ ในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศมีเป้าหมายที่จะลดอัตราอากรสินค้าให้เหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2558 ทำให้มีความเป็นไปได้ ที่นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ จะลงทุนเพิ่มฐานกำลังการผลิตใหม่ และ/หรือ ขยายฐานการผลิตที่มีอยู่แล้วในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม และขายตรงให้แก่ผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ เชื่อว่า ความเสี่ยงจากการแข่งขันกันเองของบริษัทในเครือ นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ อยู่ในระดับต่ำเนื่องจากบริษัทฯ มีต้นทุน การผลิตผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะความได้เปรียบทางด้านต้นทุนค่าขนส่งผลิตภัณฑ์ และการให้บริการ หลังการขายและการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่บริษัทฯ สามารถดำเนินการได้ดีกว่าจากการที่มีสำนักงานและ โรงงานผลิตตั้งอยู่ในประเทศไทย ตลอดจนการที่บริษัทฯ มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ในประเทศไทยมาเป็นระยะเวลายาวนาน นอกจากนี้ในสัญญารับความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคที่บริษัทในเครือต่างๆ ได้ทำไว้กับ นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ได้กำหนดเงื่อนไขเอาไว้ว่าหากบริษัทในกลุ่มของนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ รายใดต้องการจะส่ง ผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายนอกประเทศของตนจะต้องได้รับความยินยอมจาก นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น เสียก่อน ตลอดจนการที่ นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ได้ร่วมลงทุนกับบริษัทฯ มาเป็นระยะเวลากว่า 24 ปีทำให้บริษัทฯ เชื่อว่าความเสี่ยงจากการที่นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ จะใช้ฐานการผลิตอื่นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อ ผลิตและส่งผลิตภัณฑ์เข้ามาแข่งขันกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ในประเทศไทยอยู่ในระดับที่ต่ำ 2.2 การเข้ามาแข่งขันของผู้ผลิตจากต่างประเทศ (นอกจากบริษัทในกลุ่มของนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์) จากนโยบายของภาครัฐที่มุ่งเน้นทางด้านการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับต่างประเทศ โดยมีการกำหนด ข้อตกลงในการลดอัตราอากรขาเข้าเพื่อเป็นการกระตุ้นการค้าขายระหว่างประเทศนั้น ทำให้มีความเป็นไปได้ในอนาคต ที่จะมีผู้ผลิตจากต่างประเทศส่งผลิตภัณฑ์ประเภทสายควบคุมและชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์เข้ามาแข่งขัน ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ เชื่อว่าบริษัทฯ จะยังสามารถแข่งขันกับผู้ผลิตจากต่างประเทศได้ เนื่องจากต้นทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของบริษัทฯ อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกับต้นทุนในการผลิตของประเทศอื่น รวมถึงประเทศจีน นอกจากนี้ การที่ผู้ผลิต รถยนต์และรถจักรยานยนต์มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศไทย ทำให้บริษัทฯ มีข้อได้เปรียบผู้ผลิตจากต่างประเทศ ทั้งใน เรื่องของต้นทุนค่าขนส่ง และการให้บริการลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการที่ผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีนโยบาย ในการจัดเก็บสินค้าคงคลังให้น้อยลง ทำให้การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ไว้ในระดับหนึ่งเพื่อรองรับกรณีที่ผลิตภัณฑ์ขาดนั้นไม่สอดคล้องกับนโยบายดังกล่าว นอกจากนี้ การที่บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจกับผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในประเทศไทยมาเป็น เวลายาวนานกว่า 26 ปีทำให้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพจากผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ มายาวนาน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะช่วยเสริมให้ความเสี่ยงของบริษัทฯ จากการเข้ามาแข่งขันของผู้ผลิตจากต่างประเทศอยู่ ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ 3. ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาวัตถุดิบ วัตถุดิบหลักของบริษัทฯ ได้แก่ ลวดโลหะ เม็ดพลาสติก และยาง ซึ่งราคาวัตถุดิบหลักของบริษัทฯ ได้รับ ผลกระทบจากความผันผวนของราคาซื้อขายอันเนื่องมาจากสภาวะอุปสงค์และอุปทานในตลาดโลก ซึ่งอยู่เหนือความ ควบคุมของบริษัทฯ และหากราคาของวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบหลักของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นเหตุการณ์ดังกล่าวอาจมี ผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจ สถานะทางการเงินและผลประกอบการของบริษัทฯ ในอนาคต อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ เชื่อว่าบริษัทฯ สามารถที่จะปรับราคาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับต้นทุนวัตถุดิบที่มีความ ผันผวนได้ ซึ่งตามข้อตกลงในสัญญาซื้อขายชิ้นส่วนที่บริษัทฯ ทำกับลูกค้านั้น ได้กำหนดให้ทางบริษัทฯ และลูกค้า สามารถพิจารณาปรับราคาได้เป็นครั้งคราว เช่น ทุก ๆ 6 เดือน หรือทุก ๆ ครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคาวัตถุดิบ ตั้งแต่ร้อยละ 3 ขึ้นไป เป็นต้น 4. ความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ในปี 2547 ที่ผ่านมา บริษัทฯ มีการนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 31 ของยอดซื้อวัตถุดิบ และชิ้นส่วนประกอบทั้งหมด โดยมียอดการสั่งซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบทั้งหมดที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศ ตลอดทั้งปีจำนวนประมาณ 351.20 ล้านบาท ทำให้บริษัทฯ มีความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ต่างประเทศในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนมีการปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้รับอนุมัติวงเงินในการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าจากสถาบันการเงินแห่งหนึ่ง เป็นจำนวนเงินเทียบเท่าเงินบาททั้งสิ้น 130 ล้านบาท ซึ่ง หากบริษัทฯ เห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนอาจเกิดความผันผวนที่มี นัยสำคัญ บริษัทฯ ก็สามารถใช้วงเงินดังกล่าวได้ทันทีตามความจำเป็น 5. ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่ ปัจจุบันบริษัทฯ มีลูกค้ารายใหญ่ประมาณ 4 ราย อันประกอบไปด้วย บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ 3 รายและ ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์รายใหญ่ 1 ราย โดยรายได้รวมจากการขายผลิตภัณฑ์ให้แก่บริษัทเหล่านี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 71 และ ร้อยละ 68 ของรายได้รวมของบริษัทฯ ในปี 2546 และ ปี 2547 ตามลำดับ ดังนั้น บริษัทฯ จึงอาจมีความเสี่ยง ทางด้านรายได้หากผู้ผลิตรายใดรายหนึ่งลดปริมาณการผลิตหรือเลิกการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจมากว่า 26 ปี มีการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตจนทำให้บริษัทฯ มีชื่อเสียง มีเทคโนโลยี การผลิตที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง มีต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่แข่งขันได้ มีการ ทำธุรกิจกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์รายใหญ่มาเป็นเวลานาน อีกทั้งมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตสายควบคุมชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนการเป็นบริษัทในกลุ่มของ ซัมมิท โอโต กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์รายใหญ่ของประเทศไทย ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจมานาน ทำให้บริษัทฯ เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ค่อนข้างต่ำที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์เหล่านี้จะเปลี่ยนไปสั่งซื้อ จากคู่แข่งของบริษัทฯ อนึ่ง บริษัทฯ ได้มีนโยบายกระจายความเสี่ยงโดยมีแผนการจะเพิ่มการส่งออกไปยังต่างประเทศ มากขึ้นเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่อีกทางหนึ่งด้วย 6. ความเสี่ยงจากการการพึ่งพิงผู้บริหารหลัก ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ บริษัทฯ ก่อตั้งโดยผู้ร่วมก่อตั้งหลัก 2 ท่าน คือคุณสรรเสริญ จุฬางกูร และคุณชูทอง พัฒนะเมลือง ซึ่งเป็น ผู้มีประสบการณ์ในวงการธุรกิจยานยนต์และมีความสัมพันธ์อันดีกับผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทั้งในและ ต่างประเทศ มาเป็นเวลากว่า 26 ปี หากขาดผู้บริหารทั้ง 2 ท่านนี้แล้ว บริษัทฯ อาจประสบปัญหาในการรักษาลูกค้า รายเดิม หรือหาลูกค้ารายใหม่ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจ อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยกลุ่มจุฬางกูร และ กลุ่มพัฒนะเมลืองมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทฯ รวมกันประมาณร้อยละ 43.42 ของทุนจดทะเบียนและชำระแล้ว ของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้น ซึ่งนับว่าเป็นสัดส่วนที่สูง บริษัทฯ มีความเห็นว่ามีความเป็นไปได้น้อยมาก ที่กลุ่มผู้ถือหุ้นทั้ง 2 ตระกูลจะออกจากการเป็นกรรมการและผู้บริหารของบริษัทฯ 7. ความเสี่ยงจากการที่บริษัทฯ มีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถือหุ้นรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 และการมีอำนาจใน การบริหารจัดการบริษัท และผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่อาจมีความขัดแย้งกับผลประโยชน์ของบริษัทฯ และ/ หรือผู้ถือหุ้นรายอื่นของบริษัทฯ ปัจจุบัน บริษัทฯ มีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 3 กลุ่ม คือตระกูลจุฬางกูร ตระกูลพัฒนะเมลือง และนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ โดยภายหลังการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนครั้งนี้จะทำให้กลุ่มผู้ถือหุ้นดังกล่าวถือหุ้นรวมกัน ในสัดส่วนร้อยละ 70.36 ของทุนจดทะเบียนและชำระแล้วของบริษัทฯ ทำให้สามารถควบคุมมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ได้เกือบทั้งหมด ทำให้อาจเกิดความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ของบริษัทฯ หรือผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายอื่น ของบริษัทฯ ได้ นอกจากนี้กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่ยังเป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการบริษัทฯ โดยมีตำแหน่งเป็นกรรมการ บริษัทฯจำนวน 7 ท่าน จากกรรมการบริษัทฯ ทั้งหมด 10 ท่าน และคณะกรรมการบริหารทั้งหมดมาจากกลุ่ม ผู้ถือหุ้นใหญ่ จึงมีความเสี่ยงจากการที่กลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่มีอำนาจบริหารจัดการอย่างเบ็ดเสร็จ และใช้อำนาจใน การบริหารจัดการดังกล่าวไปในทางที่ขัดหรือแย้งกับผลประโยชน์ของบริษัทฯ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้มีการแต่งตั้ง กรรมการที่เป็นบุคคลภายนอกและมีความเป็นอิสระเข้ามาเพิ่มเติมอีก 3 ท่านเพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบการ ดำเนินงานของผู้บริหารและดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย โดยมีกฎข้อบังคับของบริษัทฯ ที่กำหนดให้ กรรมการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะไม่มีสิทธิออกเสียงในรายการที่ขัดหรือแย้งกับผลประโยชน์ของบริษัทฯ และ/หรือ ผู้ถือหุ้นรายย่อยดังกล่าว อีกทั้งยังได้ทำการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญอิสระ เพื่อมาตรวจสอบการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ อาทิ การจัดจ้างบริษัท ดีลอยท์ ทู้ช โธมัทสุ ไชยยศ จำกัด เพื่อเข้ามาประเมินระบบการควบคุมภายในของบริษัทฯ เพื่อนำไปพัฒนาระบบควบคุมภายให้มีความเหมาะสมตามหลักบรรษัทภิบาลที่ดี มีขั้นตอนการดำเนินงานที่โปร่งใส และสามารถตรวจสอบการบริหารงานได้ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเกิดความเสี่ยงดังกล่าวขึ้น 8. ความเสี่ยงจากความผิดพลาดในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า เท่าที่ผ่านมาบริษัทฯ ไม่เคยถูกปรับหรือถูกบอกเลิกสัญญาอันเนื่องมาจากปัญหาด้านคุณภาพไม่ตรงตามที่ ลูกค้ากำหนด อีกทั้งบริษัทฯ ได้ทราบถึงความเสี่ยงดังกล่าวจึงได้มีการวางระบบการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ อย่างเข้มงวดโดยมีการตั้งเป้าหมายทั้งทางด้านการผลิต ด้านต้นทุนการผลิต ด้านคุณภาพ ด้านการจัดส่งและด้าน ความปลอดภัย ตลอดจนมีการติดตามผลการปฏิบัติงานจริงและศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจาก ประสบการณ์ของบริษัทฯ กว่า 26 ปีที่ผ่านมานั้น บริษัทฯ เชื่อว่าบริษัทฯ สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกค้าด้วย การรักษาคุณภาพการให้บริการและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งได้รับประกาศนียบัตร รับรองตามมาตรฐานสากล ISO 9002:1994 QS 9000 ISO 14001 และ ISO/TS 16949 ซึ่งส่งผลให้ความเสี่ยงจาก ความผิดพลาดในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าลดลง 9. ความเสี่ยงจากการชดใช้ค่าเสียหายจากผลิตภัณฑ์ (Warranty Claim) ตามสัญญาซื้อขายชิ้นส่วนระบุให้บริษัทฯ ต้องชำระค่าเสียหายจากผลิตภัณฑ์ (Warranty Claim) นั้น หาก ผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์เรียกร้องให้บริษัทฯ ชำระค่าเสียหายจากผลิตภัณฑ์ (Warranty Claim) ในจำนวน เท่ากับหรือมากกว่ายอดขายของบริษัท และศาลมีคำสั่งเป็นที่สุดให้บริษัทฯ ชำระเงินจำนวนดังกล่าว บริษัทฯ จึงอาจ ได้รับผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจ สถานะทางการเงินและผลประกอบการของบริษัทฯ ในอนาคต อย่างไรก็ดี ในปี 2547 ที่ผ่านมาบริษัทฯ มียอดการเรียกร้องจากลูกค้าให้ชดเชยค่าเสียหายจำนวน 560,699 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของยอดขายรวมของปี 2547 ซึ่งการเรียกร้องให้ชดเชยค่าเสียหายดังกล่าวเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบ กับยอดขายรวม และเป็นปกติของการดำเนินธุรกิจ และไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของลูกค้า ทำให้บริษัทฯ เชื่อว่าความเสี่ยงที่บริษัทฯ จะต้องชำระค่าเสียหายจากผลิตภัณฑ์ (Warrantee Claim) อยู่ในระดับต่ำ 10. ความเสี่ยงจากการพึ่งพิงอุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ หากอุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์อยู่ในภาวะถดถอยหรือภาวะชะงักงัน บริษัทฯ ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรม ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ก็อาจได้รับผลกระทบได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากทางภาครัฐได้ประกาศอย่างชัดเจน ถึงนโยบายในการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมรถยนต์ของภูมิภาคเอเชีย (Detroit of Asia) ตลอดจนการนำเสนอแผนหลักในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย (Thailand Automotive Master Plan) ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมีเป้าหมายในการเพิ่มยอดการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์จากจำนวน 742,000 คัน และ 2,424,678 คัน ในปี 2546 เป็นจำนวน 1,800,000 คัน และ 3,000,000 คัน ในปี 2553 ตามลำดับ โดยมีมูลค่าการส่ง ออกชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์เพิ่มจาก 114,352 ล้านบาท ในปี 2546 เป็น 400,000 ล้านบาท ในปี 2553 (ที่มา: สถาบันยานยนต์) ทำให้ความเสี่ยงจากการที่อุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์จะเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือ ชะงักงันในอนาคตอันใกล้มีน้อย ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากการที่บริษัทฯ จะได้รับผลกระทบจากการที่ธุรกิจของบริษัทฯ ต้องพึ่งพิงอุตสาหกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลง 11. ความเสี่ยงจากการแข่งขันในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง เนื่องจากมีจำนวนผู้ผลิต ทั้งในและต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จึงมีความเสี่ยงที่บริษัทฯ อาจสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้แก่บริษัทคู่แข่ง อย่างไร ก็ตาม บริษัทฯ เชื่อว่า ชิ้นส่วนรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะต้องใช้ขั้นตอนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เที่ยงตรง นอกจากนี้ในการสั่งซื้อชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์แต่ละรุ่นนั้น บริษัทผู้ผลิตรถยนต์และ รถจักรยานยนต์จะทำการคัดเลือกผู้ผลิตชิ้นส่วนในช่วงก่อนการผลิตจริง โดยผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ผ่านการคัดเลือกแล้วจะ ได้รับการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการประกอบรถยนต์ และรถจักรยานยนต์รุ่นนั้น ๆ ซึ่งมีวงจรอายุเฉลี่ยประมาณ 4-8 ปี และประมาณ 2-3 ปี ตามลำดับ ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ และรถจักรยานยนต์จะสั่งซื้อจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจมา ยาวนานและมีประวัติการซื้อขายกันมาอย่างต่อเนื่องเป็นหลัก ซึ่งบริษัทฯ ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตสายควบคุมสำหรับรถยนต์ และรถจักรยานยนต์และชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ ดำเนินธุรกิจมายาวนาน เป็นผู้ผลิตรายใหญ่รายหนึ่งของ ประเทศ และมีผลงานและชื่อเสียงที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์มาเป็นเวลานาน จึงทำให้บริษัทฯ มีความได้เปรียบบริษัทคู่แข่งอื่น กรณีพิพาท - ไม่มี - จำนวนพนักงาน ณ วันที่ 31 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 มีพนักงานจำนวน 563 คน ประวัติความเป็นมาโดยสรุป บริษัทฯ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2521 มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรกจำนวน 4 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ทำการผลิตสายควบคุมรถจักรยานยนต์ให้กับบริษัทผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย โดยมีกำลังการผลิตในช่วงแรก 250,000 เส้นต่อปี ต่อมาในปี 2524 บริษัทฯ ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 10 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตของบริษัทฯ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมยานยนต์ได้มีเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และในปีเดียวกันนี้บริษัทฯ ได้ร่วมทุน กับนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตสายควบคุมรถยนต์และรถจักรยานยนต์รายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น โดยได้เข้าร่วมลงทุนในบริษัทฯ ในสัดส่วนร้อยละ 35 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ โดยบริษัทฯ ได้รับสิทธิและความช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีในการผลิตสายควบคุมจากนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ ในปี 2525 บริษัทฯ ได้เริ่มทำการผลิตสายควบคุมรถยนต์เป็นครั้งแรกโดยได้ผลิตสายควบคุมสำหรับรถยนต์ มิตซูบิชิ ต่อมาจึงได้ขยายไปสู่รถยนต์ญี่ปุ่นยี่ห้ออื่นๆ กิจการของบริษัทฯ ได้เจริญเติบโตขึ้นตามลำดับ จนในปี 2540 บริษัทฯ ได้ดำเนินการผลิตชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก โดยมีกำลังการผลิต เริ่มแรก 150,000 ชุดต่อปี และได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 9002:1994 ต่อมาในปี 2541 บริษัทฯ ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 200 ล้านบาท พร้อมทั้งได้ลงทุนในบริษัท ไฮเล็กซ์ เวียดนาม จำกัด ร่วมกับนิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ เพื่อผลิตสายควบคุมรถจักรยานยนต์ในประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ทำสัญญาการใช้สิทธิและรับความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคทางด้านการผลิตชุดควบคุมรางกระจกหน้าต่างรถยนต์ แบบ x-arm จากบริษัท ฟูจิ กิโกะ จำกัด (Fuji Kiko Co., Ltd.) ต่อมาในปี 2542 และ 2544 บริษัทฯ ได้รับการรับรอง มาตรฐาน QS 9000 และมาตรฐาน ISO 14001 และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/TS 16949 ในปี 2548 เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2548 ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้บริษัทฯ แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน จำกัด และเพิ่มทุน จดทะเบียนจาก 200 ล้านบาท เป็น 268.50 ล้านบาท และเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จากเดิมหุ้นละ 100 บาท เป็น หุ้นละ 1 บาท โดยการออกหุ้นสามัญจำนวน 68.50 ล้านหุ้น เพื่อเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน 1.50 ล้านหุ้น และ เสนอขายต่อประชาชนจำนวน 58.30 ล้านหุ้น และต่อมาในเดือนมีนาคม 2548 บริษัทฯ ได้จดทะเบียนแปรสภาพเป็น บริษัทมหาชนจำกัด และมีการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน 1.50 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2548 เงินลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้อง ณ วันที่ 31 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 ปรากฏดังนี้ หน่วย: ล้ านบาท ประเภทกิจการ มูลค่าเงินลงทุน ชื่อบริษัท และลักษณะธุรกิจ ทุนชำระแล้ว ร้อยละของหุ้นที่ถือ (ตามราคาทุน) บริษัท ไฮเล็กซ์ ผู้ผลิตสายควบคุม 7.80 ล้าน 9.00 25.70 เวียดนาม จำกัด รถจักรยานยนต์ เหรียญสหรัฐ ในประเทศเวียดนาม การเพิ่ม (ลด) ทุนในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา ห น่วย: ล้านบาท วัน/เดือน/ปี ทุนที่ (ลด) เพิ่ม หลังเพิ่ม (ลด) ทุน หมายเหตุ/วัตถุประสงค์การใช้เงิน 17 มีนาคม 2548 68.50 268.50 เพื่อเสนอขายต่อผู้ถือหุ้นเดิม 1.50 ล้านบาท และ เสนอขายต่อประชาชน 58.30 ล้านบาท โดยจะ นำเงินจากการระดมทุนในครั้งนี้ไปใช้ตาม วัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. ใช้เป็นส่วนหนึ่งของเงินลงทุนสำหรับการ ขยายกำลังการผลิตและการย้ายฐานการ ผลิตสายควบคุมและชุดควบคุมรางกระจก หน้าต่างรถยนต์ของบริษัทฯ ไปยังนิคม อุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี (ซึ่งคาดว่าจะเริ่มลงทุนในส่วนขยายได้ ในไตรมาส 3 ปี 2548 และจะแล้วเสร็จ ภายในไตรมาส 4 ปี 2549) 2. การชำระคืนภาระหนี้เงินกู้ของบริษัทฯ (ทั้งหมดและ/หรือบางส่วน) และ 3. ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการ รอบระยะเวลาบัญชี 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ผู้สอบบัญชี นายสมสิทธิ์ เตชะมนตรีกุล บริษัท สหการบัญชี พี เค เอฟ จำกัด นายทะเบียนหุ้น บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด นโยบายการจ่ายเงินปันผล บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิหลังจากหักเงินสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่ได้กล่าวไว้ในข้อบังคับและตามกฏหมายหากไม่มีเหตุจำเป็นอื่นใด และการจ่ายเงินปันผลนั้นจะ ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานปกติของบริษัทฯ อย่างมีสาระสำคัญ บัตรส่งเสริมการลงทุน - ไม่มี - จำนวนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 20 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 ปรากฏดังนี้ จำนวนราย จำนวนหุ้น ร้อยละ ของทุนชำระแล้ว 1. ผู้ถือหุ้นสามัญที่เป็น Strategic shareholders 1.1 รัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ 1 2,000,000 0.77 1.2 กรรมการ ผู้จัดการ และผู้บริหาร รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง 13 114,128,100 43.93 และบุคคลที่มีความสัมพันธ์ 1.3 ผู้ถือหุ้นที่ถือหุ้น > 5 % โดยนับรวมผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย 1 70,000,000 26.94 1.4 ผู้มีอำนาจควบคุม - - - 1.5 ผู้ถือหุ้นที่มีข้อตกลงในการห้ามขายหุ้นภายใน 23 18,371,900 7.07 เวลาที่กำหนด 2. ผู้ถือหุ้นสามัญรายย่อยที่ถือไม่ต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย 1,564 55,300,000 21.29 3. ผู้ถือหุ้นสามัญที่ถือต่ำกว่า 1 หน่วยการซื้อขาย - - - รวมผู้ถือหุ้นสามัญทั้งสิ้น 1,602 259,800,000 100.00 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 20 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 ปรากฏดังนี้ ชื่อ จำนวนหุ้น ร้อยละของทุนชำระแล้ ว 1. กลุ่มจุฬางกูร 83,500,000 32.14 2. นิปปอน เคเบิล ซิสเต็ม อิงค์ 70,000,000 26.94 3. กลุ่มพัฒนะเมลือง 29,297,600 11.28 4. นายสง่า วีระวัฒกานนท์ 8,000,000 3.08 5. นายดำรงค์ กุลธนพงศ์ 6,000,000 2.31 6. Morgan Stanley & Co International Limited 4,000,000 1.54 7. Bear Stearns International Limited Proprietary Account 2,500,000 1.96 8. กลุ่มลีลานภาพรรณ์ 2,050,000 0.79 9. ABN AMRO Bank N.V., London Branch 2,000,000 0.77 10. Mizuho Trust and Banking (Luxembourg) S.A. 2,000,000 0.77 11.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ 2,000,000 0.77 รวม 211,347,600 81.35 ผู้ถือหุ้นในกลุ่มจุฬางกูร (1) นายสรรเสริญ จุฬางกูร ถือหุ้นจำนวน 83,115,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.99 ของทุนชำระแล้ว (2) นายอภิชาติ จุฬางกูร ถือหุ้นจำนวน 192,500 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.07 ของทุนชำระแล้ว (3) นายทวีฉัตร จุฬางกูร ถือหุ้นจำนวน 192,500 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.07 ของทุนชำระแล้ว ผู้ถือหุ้นในกลุ่มพัฒนะเมลือง (1) นายชูทอง พัฒนะเมลือง ถือหุ้นจำนวน 16,997,400 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.54 ของทุนชำระแล้ว (2) นางอรสา พัฒนะเมลือง ถือหุ้นจำนวน 12,000,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.62 ของทุนชำระแล้ว (3) นางสาวสิริณา พัฒนะเมลือง ถือหุ้นจำนวน 150,100 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.06 ของทุนชำระแล้ว (4) นายสริศ พัฒนะเมลือง ถือหุ้นจำนวน 150,100 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.06 ของทุนชำระแล้ว ผู้ถือหุ้นในกลุ่มลีลานภาพรรณ์ (1) นายเชิดชัย ลีลานภาพรรณ์ ถือหุ้นจำนวน 2,000,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.77 ของทุนชำระแล้ว (2) นายชาญณรงค์ ลีลานภาพรรณ์ ถือหุ้นจำนวน 50,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.02 ของทุนชำระแล้ว ผู้ถือหุ้นต่างด้าว ณ วันที่ 20 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 บริษัทมีผู้ถือหุ้นต่างด้าว 25 ราย ถือหุ้นรวมกัน 84,737,100 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 32.62 ของทุนชำระแล้ว หมายเหตุ บริษัทมีข้อจำกัดเกี่ยวกับการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นต่างด้าวตามข้อบังคับของบริษัทข้อ 12 ว่า "หุ้นของบริษัทย่อมโอนกันได้อย่างเสรีโดยไม่มีข้อจำกัด และหุ้นที่ถือโดยคนต่างด้าว ในขณะใดขณะหนึ่งต้องมีจำนวนรวมไม่เกินร้อยละสี่สิบเก้า (49) ของจำนวนหุ้นที่ได้ ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท การโอนหุ้นรายใดที่จะทำให้อัตราส่วนการถือหุ้น ของคนต่างด้าวของบริษัทเกินอัตราส่วนข้างต้น บริษัทมีสิทธิปฏิเสธการโอนหุ้นบริษัท รายนั้นได้" คณะกรรมการ ณ วันที่ 2 เดือนเมษายน พ.ศ. 2548 คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการทั้งหมด 10 ท่าน ดังนี้ ชื่อ ตำแหน่ง วั นที่ดำรงตำแหน่ง 1. นายสรรเสริญ จุฬางกูร ประธานกรรมการ 12 มิถุนายน 2521 2. นายชูทอง พัฒนะเมลือง รองประธานกรรมการ 12 มิถุนายน 2521 3. นายมากาโต เทราอุรา กรรมการ 12 มิถุนายน 2521 4. นายอภิชาติ จุฬางกูร กรรมการ 1 มิถุนายน 25 42 5. นายโคยีน อิซึโม่ กรรมการ 1 มิถุนายน 2542 6. นายทวีฉัตร จุฬางกูร กรรมการ 6 กุมภาพันธ์ 2547 7. นายสริศ พัฒนะเมลือง กรรมการ 6 กุมภาพันธ์ 254 7 8. นายกวี วสุวัต กรรมการอิสระ และประธานกรรมการตรวจสอบ 21 กุมภาพันธ์ 2548 9. นายอภินันท์ ณ ระนอง กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ 21 กุมภาพันธ์ 2548 10. นายปริญญา ไววัฒนา กรรมการอิสระ และกรรมการตรวจสอบ 21 กุมภาพันธ์ 2548 คณะกรรมการตรวจสอบ ที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2548 ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบดังนี้ ชื่อ ตำแหน่ง 1. นายกวี วสุวัต ประธานกรรมการตรวจสอบ 2. นายอภินันท์ ณ ระนอง กรรมการตรวจสอบ 3. นายปริญญา ไววัฒนา กรรมการตรวจสอบ โดยมีนางสาวเพ็ญศิริ เพชรกรรพุม เป็นเลขานุการของคณะกรรมการตรวจสอบ ขอบเขต หน้าที่ และความรับผิดชอบ 1. สอบทานให้บริษัทมีการรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ 2. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) และการตรวจสอบภายใน (Internal Audit) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล 3. สอบทานให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท 4. พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งและเสนอค่าตอบแทนผู้สอบบัญชีของบริษัท 5. พิจารณาการเปิดเผยข้อมูลของบริษัทในกรณีที่เกิดรายการที่เกี่ยวโยงกัน หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทาง ผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องและครบถ้วน 6. จัดทำรายงานการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่ง รายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานคณะกรรมการตรวจสอบ 7. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการของบริษัทมอบหมายด้วยความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ วาระการดำรงตำแหน่ง 1. ประธานกรรมการตรวจสอบ 3 ปี 2. กรรมการตรวจสอบ 3 ปี เงื่อนไขในการรับหลักทรัพย์ - ไม่มี - ระยะเวลาห้ามจำหน่ายหุ้น ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปที่ถือหุ้นจำนวน 201,500,000 หุ้น คิดเป็นร้อยละ 100 ของ ทุนชำระแล้วก่อนเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป ให้คำรับรองต่อตลาดหลักทรัพย์ว่าจะไม่นำหุ้นจำนวนดังกล่าวออก จำหน่ายเป็นระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่หลักทรัพย์ของบริษัทเริ่มทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ โดยเมื่อครบ กำหนดระยะเวลาทุกๆ 6 เดือน ผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้รับการผ่อนผันให้ทยอยขายหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่ถูกสั่งห้ามขายได้ ในจำนวนร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นหรือหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ถูกสั่งห้ามขาย และเมื่อครบกำหนด 1 ปี 6 เดือนสามารถ ขายส่วนที่เหลือได้ทั้งหมด การผ่อนผันของตลาดหลักทรัพย์ - ไม่มี - อื่น ๆ ที่สำคัญ - ไม่มี - สถิติ บริษัท ไทยสตีลเคเบิล จำกัด (มหาชน) |---------- ล้านบาท ----------|------------------ บาท/หุ้น ------------------| ปี รายได้ กำไร (ขาดทุน) กำไร (ขาดทุน) เงินปันผล มูลค่าหุ้น เงินปันผล จากการขาย สุทธิ สุทธิ ตามบัญชี ต่อ กำไร (%) 2545 (ตรวจสอบ)* 811.69 17.18 8.59 - 83.64 - 2546 (ตรวจสอบ)* 1,300.84 109.15 54.58 12.50 125.72 22.90% 2547 (ตรวจสอบ)* 1,714.12 240.91 120.46 30.23 246.17 25.09% งวด 3 เดือน สิ้นสุด 482.28 64.12 0.32 - 2.79 - 31 มีนาคม 2548** (สอบทานแล้ว) * มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ** มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท งบดุล บริษัท ไทยสตีลเคเบิล จำกัด (มหาชน) (หน่วย : ล้านบาท) ตรวจสอบแล้ว ตรวจสอบแล้ว ตรวจสอบแล้ว สอบทาน แล้ว เกิดขึ้นจริง เกิดขึ้นจริง เกิดข ึ้นจริง เกิดขึ้นจริง 2545 2546 2547 งวด 3 เดือน สิ้นสุด 31 มีนาคม 2548 ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- -- สินทรัพย์ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด 15.61 95.38 166.90 179.49 ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับสุทธิ 181.93 269.28 322.03 352 .84 สินค้าคงเหลือ 91.89 61.05 190.69 184.36 เงินมัดจำซื้อที่ดิน - - 10.26 28.00 สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น 3.96 5.34 4.55 5.06 เงินลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน 30.50 30.50 25.70 25.70 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ สุทธิ 366.57 340.32 365.91 363.19 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 0.16 0.14 0.08 0.10 รวมสินทรัพย์ 690.62 802.02 1,086.13 1,138.75 หนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจาก 139.23 140.00 120.00 103.00 สถาบันการเงิน เจ้าหนี้การค้า 168.71 189.37 264.66 272.15 เจ้าหนี้จากการซื้อสินทรัพย์ 4.85 3.09 1.87 3.25 เจ้าหนี้อื่น - 4.34 6.43 5.70 เจ้าหนี้เช่าซื้อสินทรัพย์ที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 0.61 0.36 0.04 - เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี 44.96 62.46 62.46 62.46 ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย 28.56 73.61 122.19 123.45 หนี้สินหมุนเวียนอื่น 2.54 6.31 7.58 4.73 เจ้าหนี้เช่าซื้อสินทรัพย์ 0.41 0.05 - - เงินกู้ยืมระยะยาว 133.46 71.00 8.54 6.05 รวมหนี้สิน 523.34 550.58 593.78 580.78 ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว 200.00 200.00 200.00 200 .00 เงินรับล่วงหน้าค่าหุ้นสามัญ - - - 1.50 สำรองตามกฎหมาย 0.55 4.34 4.34 7.55 กำไรสะสม (33.27) 47.09 288.01 348.92 รวมส่วนของผู้ถือหุ้น 167.28 251.44 492.35 557.97 รวมหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น 690.62 802.02 1,086.13 1,138.75 งบกำไรขาดทุน บริษัท ไทยสตีลเคเบิล จำกัด (มหาชน) (หน่วย : ล้านบาท) ตรวจสอบแล้ว ตรวจสอบแล้ว ตรวจสอบแล้ว สอบทานแล้ว เกิดขึ้นจริง เกิดขึ้นจริง เกิดขึ้นจร ิง เกิดขึ้นจริง 2545 2546 2547 งวด 3 เดือน สิ้นสุด 31 มีนาคม 2548 ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- รายได้จากการขาย 811.69 1,300.84 1,714.12 482.28 ต้นทุนขาย 682.39 1,036.59 1,204.53 35 2.91 กำไรขั้นต้น 129.30 264.25 509.59 129.37 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 83.22 94.98 154.89 37.32 รายได้อื่น 2.29 6.30 4.40 2.09 กำไรจากการดำเนินงาน 48.37 175.57 359.09 94.14 ดอกเบี้ยจ่าย 23.73 19.56 12.97 2.33 ภาษีเงินได้ 7.45 46.86 105.21 27.69 กำไรสุทธิ 17.18 109.15 240.91 64.12 จำนวนหุ้นถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (ล้านหุ้น) 2.00 2.00 2.00 200.00 กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน* 8.59 54.58 120.46 - กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน** - - - 0.32 * มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ** มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท งบกระแสเงินสด บริษัท ไทยสตีลเคเบิล จำกัด (มหาชน) (หน่วย : ล้านบาท) ตรวจสอบแล้ว ตรวจสอบแล้ว ตรวจสอบแล้ว สอบทานแล้ว เกิดขึ้นจริง เกิดขึ้นจริง เกิดขึ้นจร ิง เกิดขึ้นจริง 2545 2546 2547 งวด 3 เดือน สิ้นสุด 31 มีนาคม 2548 ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เงินสดสุทธิได้มาจาก/(ใช้ไปใน)กิจกรรมดำเนินงาน * 139.64 246.05 54.35 เงินสดสุทธิได้มาจาก/(ใช้ไปใน)กิจกรรมลงทุน * (10.05) (71.70) (23.72) เงินสดสุทธิได้มาจาก/(ใช้ไปใน)กิจกรรมจัดหาเงิน * (49.81) (102.83) (18.03) เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้น/(ลดลง) * 79.78 71.51 12.60 หมายเหตุ * ในปี 2545 บริษัทฯ ไม่ได้มีการจัดทำงบกระแสเงินสด จัดทำโดย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด tsc-t.txt |